19 ต.ค. 2019 เวลา 02:00 • สุขภาพ
042🌿 Papaya 🌿ฉันชื่อมะละกอมาจากเมืองมะละกา ใครพาฉันมา...ฉันก็หารู้ไม่....เธอใช่ไหมที่ชอบเอาฉันไปตำส้มตำ....😁😀😊
http://oknation.nationtv.tv/blog/healthycare/2016/03/01/entry-1
เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจมาตลอดว่า "มะละกอ" เป็นผลไม้ไทยแท้ๆ เพราะมันคือวัตถุดิบที่สำคัญในเมนูยอดนิยมของคนไทยและคนทั่วโลกอย่าง "ส้มตำ"
แต่แท้ที่จริงแล้วบ้านเกิดของเจ้ามะละกอนั้นไม่ใช่เมืองไทยและไม่ใช่ภูมิภาคเอเชียด้วย
มะละกอเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกากลางอย่างประเทศเม็กซิโกและคอสตาริกา
1
https://pin.it/gvgb7arvqcqple
โดยสเปนนั้นเอาพันธุ์มะละกอมาจากฝั่งทะเล. แคริบเบี้ยนของปานามานำไปเผยแพร่ยังอาณานิคมของสเปนในหลายประเทศและต่อมาชาวโปตุเกสที่เดินทางมาค้าขาย ก็ได้นำเอาพันธุ์มะละกอติดตัวมาด้วย และเข้ามาปลูกที่เมืองมะละกาในประเทศมาเลเซียหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปลูกกันอย่างแพร่กระจายออกไปในแถบภูมิภาคอาเซียน
ส่วนชาวสยามนั้นเชื่อว่าเราได้รับพันธุ์มะละกอมาจากเมืองมะละกา โดยเชื่อว่านำเข้ามาทางภาคใต้
ผ่านอ่าวไทย จนมาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีเหตุผลยืนยันว่าผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่เคยกินส้มตำจากมะละกอ ในบันทึกพันธุ์ไม้ของลาลูแบร์ก็ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นรูปวาดต้นมะละกอ
https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_461513
ทำให้คนไทยรู้จักมะละกอนับแต่ สมัยกรุงรัตนโกสินเป็นต้นมา ซึ่งในอดีตจะเรียกกันว่า “มะละกา” ตามชื่อเมืองที่มาสมัยนั้น แล้วออกเสียงเพี้ยนเป็น"มะละกอ" พืชชนิดใหม่นี้จึงได้นามตามชื่อเมืองว่า "มะละกอ" (ทั้งๆ ที่ คำว่า "มะละกา" แปลว่า "มะขามป้อม")
cr.ภาพต้นมะขามป้อมเมืองมะละกา. https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_461513
แต่บางข้อมูลบอกว่ามะละกอเข้ามาในสยาม
ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสและสเปนได้นำมาเพาะปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงเวลาใกล้ๆ กันชาวฮอลันดาก็ได้นำพริกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในเวลาต่อมา
1
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลา ลูแบร์
ได้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา และกล่าวในเวลานั้นไว้ว่า มะละกอได้กลายมาเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว แต่ไม่ปรากฏในรูปวาดบันทึกของลาลูแบร์ รวมทั้งได้กล่าวถึง มะนาว มะม่วง กระเทียม ปลาร้า ปลากรอบ กุ้งแห้ง กล้วย น้ำตาล พริกไทย แตงกวา ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนนำมาเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5373.15
เมื่อทราบที่มาของมะละกอแล้ว ส่วนวิธีการกิน ไทยเราพัฒนาไปไกลมาก แทนที่จะกินเป็นผลไม้สุกอย่างเดียวเหมือนอย่างฝรั่งเขา แต่นำมาทำ "ส้มตำ" ซึ่งส้มตำยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า
มีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด
ตำราอาหาร แม่ครัวหัวป่าก์ ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2451 (ในสมัยรัชกาลที่ 5) ไม่ปรากฏว่ามีสูตรอาหารที่ชื่อว่าส้มตำเลย แต่มีอาหารที่คล้ายส้มตำ โดยใช้มะขามเป็นส่วนผสมหลักในชื่อว่า ปูตำ
ตำราแม่ครัวหัวป่าก์
ส่วนในตำราอาหารเก่า ๆ อย่าง ตำหรับเยาวภา ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท มีอาหารที่เรียกว่า ข้าวมันส้มตำ โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือข้าวมันหุงด้วยกะทิ และส้มตำซึ่งใช้มะละกอเป็นหลักแต่มีส่วนผสมที่มากกว่าสูตรของคนอีสานคือมีกุ้งแห้งกับถั่วลิสงป่น และปรุงรสชาติแบบนุ่มนวลไม่จัดจ้าน ค่อนข้างไปทางหวานนำ
ชุดข้าวมันส้มตำ http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=1554
🎶...ต่อไปนี้ จะเล่าถึงอาหารอร่อย
คือส้มตำ กินบ่อยบ่อย รสชาติแซบดี
วิธีทำ ก็ง่ายจะบอกได้ต่อไปนี้
มันเป็นวิธี วิเศษเหลือหลาย
ไปซื้อมะละกอ ขนาดพอ เหมาะเหมาะ
สับสับ เฉาะเฉาะ ไม่ต้องมากมาย
ตำพริกกับกระเทียม ยอดเยี่ยมกลิ่นไอ
มะนาว น้ำปลาน้ำตาลทราย น้ำตาลปิ๊ปถ้ามี🎶
เพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ เป็นเพลงลูกทุ่ง
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้กล่าวถึง "วิธีการตำส้มตำ" อย่างละเอียดสนุกสนาน
1
นอกจากมะละกอสับซึ่งพระเอกของเมนูนี้แล้วยังมีพระรองอีกหลายอย่างที่จะทำให้มะละกอสับกลายเป็นส้มตำ
อย่างแรกคือ "พริก”
หรือ หมากเผ็ด ในภาษาอีสาน หรือดีปรี ในภาษาถิ่นใต้ แต่ดั้งเดิมไม่ใช่พืชพื้นถิ่นของชาวอาเซียนเลย เพราะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าผู้คนแถบทวีปอเมริกากลาง อย่างชาวอาซเทค ในเม็กซิโก กินพริกกันมานานกว่าพันปี ตั้งแต่ครั้งยังเป็นมนุษย์ถ้ำกันอยู่เลย กระทั่งคำว่า “Chili” ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าพริก ก็มาจากภาษาอาซเทค
จวบจนกระทั่ง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน ผู้ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำจุนจากราชสำนักสเปน ออกเดินเรือจนค้นพบทวีปอเมริกา แล้วมีลูกเรือของเขาคนหนึ่งนามว่า“ปีเตอร์ มาทิล” เก็บพริกจากอเมริกากลางมาทดลองปลูกในสเปน แล้วได้ผลดีจนแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอาหรับ
จนในที่สุด วัฒนธรรมการกินพริกก็แพร่มาถึงอุษาคเนย์ – อาเซียนหากยึดถือว่าโปรตุเกสเป็นมหาอำนาจทางทะเลชาติแรกที่มามีสัมพันธ์ทางการค้าและการทหารกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อราว 500 ปีก่อน ก็พอจะประมาณได้ว่าชาวสยามรู้จักกินพริกในราว 400 กว่าปีมานี้เอง
1
http://bitcoretech.com/only-2-heads-of-garlic-to-get-rid-of-it-completely-in-the-blink-of-an-eye/
ตามมาด้วยกระเทียม
กระเทียมมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบตอนกลางของทวีปเอเชียแล้วแพร่หลายไปทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีค้นพบกระเทียมถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพอายุประมาณ 5,500 ปีมาแล้ว ต่อมาได้แพร่ขยายไปทั่วโลก เพราะสามารถปลูกได้ดีทั้งในเขตอบอุ่น (Temperate) และเขตร้อน (Tropical)
กระเทียมถูกนำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่มีผู้จดบันทึกไว้ คาดว่าคงนานนับพันปีแล้วเช่นเดียวกัน จนกระทั่งกระเทียมได้กลายเป็นพืชพื้นบ้านอย่างหนึ่งไปอย่างสมบูรณ์ เพราะมีสายพันธุ์กระเทียมที่เกิดในท้องถิ่นและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้กระเทียมเป็นอาหารและยาเป็นของคนไทยเอง ไม่น้อยหน้าประเทศใดในโลก
https://health.mthai.com/howto/health-care/15676.html
มะเขือเทศ
มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาแอนดิส ของอเมริการใต้ บริเวณประเทศเปรู และซิลีในปัจจุบัน ที่เป็นพันธุ์ป่าดั้งเดิม จากนั้นจึงค่อยแพร่เข้าสู่อเมริกา ยุโรป และเอเชีย และพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆมากมายจนถึงปัจจุบันมะเขือเทศนั้นจัดว่าเป็นผลไม้ที่คนทั่วโลกนิยมรับประทานกันมากที่สุด
https://decor.mthai.com/garden/45503.html
ถั่วฝักยาว
มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย จัดเป็นผักที่ชาวเอเชียนิยมรับประทาน และยังเป็นผักที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย
https://sukkaphap-d.com
มะเขือเปราะ
เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์มะเขือ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย จัดเป็นพืชสวนครัวพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มักอยู่คู่กับครัวไทย นอกจากจะถูกเรียกว่ามะเขือเปราะแล้ว ยังมีชื่อเรียกท้องถิ่นอีกหลายชื่อเช่น มะเขือแจ้ มะเขือคางกบ มะเขือเสวย เป็นต้น ส่วนประเทศอินเดียจะเรียกมะเขือชนิดนี้ว่า Kantakari แต่สำหรับประเทศในฝั่งยุโรปและอเมริกาจะคุ้นเคยกันในชื่อ Eggplant ซึ่งจริงๆ แล้วคำนี้สามารถใช้เรียกมะเขือได้เกือบทุกชนิด ดังนั้นถ้าจะพูดถึงมะเขือเปราะให้เติมคำว่า Thai ลงไปด้วยเป็น Thai Eggplant ซึ่งจะสื่อถึงมะเขือเปราะได้เข้าใจง่ายกว่า
มะนาว
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จัก และใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว
ส่วนผสมและเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว
ไทยภาคอีสานนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม เช่น
ตำปลาร้า
ตำปลาร้า
ส่วนภาคกลางนิยมรสเปรี้ยวหวาน เช่น
ตำไทย
ตำไทย
นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง บางครั้งรับประทานกับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู โดยมีผักสดเป็นเครื่องเคียง เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตลอดจนผักดอง
"ส้มตำ" เปรียบเสมือน ทูตทางวัฒนธรรม รวบรวมความหลากของพืชพันธุ์ที่มาจาก
ต่างถิ่นกำเนิด คลุกเคล้าผสมผสานอยู่ใน
ครกเดียวกัน แม้ไม่ทราบผู้ต้นคิดที่แน่ชัด
ของอาหารไทยที่มีชื่อ "ส้มตำ" แต่ "ส้มตำ" ก็คือจุดกำเนิดแรกของพืชพันธุ์ที่ทำหน้าที่ทูตทางวัฒนธรรมเข้ามาพร้อมกับทูตหลากหลายประเทศ
ปัจจุบัน "ส้มตำ" ได้กลายเป็น อาหารที่ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมการกินให้ชาวโลกได้ลิ้มลอง
จนประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่บริโภค
มะกอดิบมากที่สุดในโลกเพราะ "ส้มตำ" นั่นเอง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
จากหนังสือ"พรรณพืชในประวัติศาสตร์ไทย" ของ "ดร. สุรีย์"ภูมิภมร"
หนังสือมะละกอ ของ กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
ชอบกดไลก์
กดแชร์
กดติดตามเพจ Plants in garden
เพื่อเป็นกำลังให้แอดด้วยนะจ๊ะ www.blockdit.com/plantsingarden
กราบบบบงามมมม😅🤣😆😍
โฆษณา