5 ก.ย. 2019 เวลา 19:34 • ไลฟ์สไตล์
งานวิจัย...ฮาวาร์ด ::: เปลี่ยนสมองให้เป็นอัจฉริยะ ด้วยพลังสมาธิ
พุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค"
งานวิจัยล่าสุดมากมาย พิสูจน์ให้เห็นว่า การทำสมาธิสามารถเปลี่ยนสมองระดับธรรมดา ให้ขึ้นสู่ระดับอัจฉริยะได้จริง ๆ และเราสามารถเปลี่ยนได้ ตามปรารถนาในทุกแบบที่ผู้นำทางธุรกิจโดยเฉพาะผู้นำองค์กร จะพลาดไม่ได้เด็ดขาด
Kuru Rin Po Chae
ทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำงานวิจัยลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2011 และพบว่าสมองส่วนเนื้อเทาของผู้เข้าร่วมการทดลองที่ฝึกทำสมาธิติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์มีความหนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีนัยสำคัญในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน
หลังจากนั้น ก็มีทีมวิจัยจากทั่วโลก ศึกษาผลของการทำสมาธิ ที่มีต่อสมองกันมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทีมนักวิจัยจาก ม.บริติช โคลัมเบีย และ ม.เทคโนโลยีเคมนิทซ์ได้รวบรวมข้อมูลมาจากงานวิจัยถึง 20 ชิ้น และพบว่า การทำสมาธิมีผลดีต่อสมองถึง 8 บริเวณด้วยกัน!
ในบทความนี้ จะเน้นไปยังผลดีอย่างมหาศาล โดยเพิ่มพลังอันไร้ขีดจำกัดต่อสมอง 2 บริเวณที่เป็นประโยชน์ อย่างพิเศษต่อนักธุรกิจและผู้บริหารโดยเฉพาะ
Kuru Rin Po Chae
=การทำสมาธิส่งผลดีต่อสมองส่วน ACC=
บริเวณแรกที่การทำสมาธิไปช่วยเสริมสร้างให้แข็งแรงและทำหน้าที่ได้ดีขึ้นคือ anterior cingulate cortex (ACC) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง ความสามารถที่จะตั้งใจมีสมาธิจดจ่อและควบคุมพฤติกรรม
Kuru Rin Po Chae
ACC จะช่วยควบคุมการตอบสนองแบบอัตโนมัติและช่วยให้การตัดสินใจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ผู้ที่ ACC มีปัญหาในการติดต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ นั้น จะทำแบบทดสอบเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวได้ไม่ค่อยดีนัก คือจะมีพฤติกรรมยึดติดกับกลยุทธการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล แทนที่จะพยายามปรับตนเองให้มีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
=ผู้ทำสมาธิภาวนาทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่า=
Kuru Rin Po Chae
ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ทำสมาธิภาวนาทำคะแนนแบบทดสอบดังกล่าวออกมาได้ดีมาก มีสมาธิจดจ่อและตอบคำถามถูกต้องมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิ นอกจากนี้การทำงานของ ACC ในหมู่ผู้ทำสมาธิภาวนายังคึกคักกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ACC นั้นน่าจะมีความสำคัญเป็นพิเศษในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือมีความไม่แน่นอนนั่นเอง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจใช่ไหม เพราะการทำสมาธิภาวนานั้น ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงได้ดี
=การทำสมาธิส่งผลดีต่อสมองส่วน Hippocampus =
Kuru Rin Po Chae
สมองส่วนนี้ ที่นักวิจัยพบว่า มีการเพิ่มของปริมาณเนื้อสีเทา ฮิปโปแคมปัสนั้น ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ
ด้านนอกของฮิปโปแคมปัสนั้น ถูกครอบคลุมด้วยปุ่มรับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ถ้ามีความเครียดเรื้อรังฮิปโปแคมปัสจะเกิดความเสียหาย และส่งผลร้ายในรูปแบบของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทางร่างกายต่อไป
ที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยโรคหดหู่ซึมเศร้า และโรคเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) ซึ่งจะมีขนาดของฮิปโปแคมปัสที่เล็กลง
นักวิจัยพบว่า การที่การทำสมาธิ ทำให้ฮิปโปแคมปัสแข็งแรงขึ้นนั้น ทำให้ผู้เจริญสมาธิ มีความสามารถที่จะฟื้นตัวจากสภาวะทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในวงการธุรกิจที่แข่งขันกันสูงทุกวันนี้
ด้านนอกของฮิปโปแคมปัสนั้น ถูกครอบคลุมด้วยปุ่มรับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ถ้ามีความเครียดเรื้อรังฮิปโปแคมปัสจะเกิดความเสียหาย และส่งผลร้ายในรูปแบบของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทางร่างกายต่อไป
=ผลดีต่อสมองส่วนอื่น ๆ=
Kuru Rin Po Chae
นอกจากสมองทั้ง 2 ส่วน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นักประสาทวิทยายังพบว่า การทำสมาธิเป็นประจำ จะส่งผลดีต่อ
1) การรับรู้
2) การตระหนักรู้ทางร่างกาย
3) ความสามารถในการทนอาการเจ็บปวด
4) ความสามารถในการควบคุมอารมณ์
5) ความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของตนเอง
6) การคิดแบบลึกซึ้ง และ
7) การรู้จักตนเอง
8) การควบคุมระดับคลื่นความถี่ไฟฟ้า ชีวภาค(ฺBio-Electro Magneticity) ที่จะถอดรหัส ถ่ายทอดสื่อสารข้อมูลระหว่างโมเลกุลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของพุทธศาสนาเรียก ว่า "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้นไม่มีในลัทธิ หรือ ศาสนาอื่น
=สรุป=
บรรดาคณาจารย์ และนักวิจัยฮาร์วาร์ดทั้ง 3 ท่าน ที่เขียนบทความนี้สรุปว่า เราไม่ควรมองว่าการทำสมาธินั้น เป็นเรื่องที่ “ถ้าทำได้ก็ดี” สำหรับผู้บริหารอีกต่อไป แต่มันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกคน “ต้องทำ” ต่างหาก!
CR :: Harvard Researcher Team
โฆษณา