7 ก.ย. 2019 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
Michael Burry ตัวจริงจากหนัง THE BIG SHORT ทำนายฟองสบู่ครั้งใหม่ / โดย ลงทุนแมน
THE BIG SHORT เป็นหนังเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจ ที่สร้างมาจากเรื่องจริง
เรื่องนี้อธิบายกลไกทั้งหมดเกี่ยวกับวิกฤตฟองสบู่เมื่อ 11 ปีก่อน
โดยมีต้นกำเนิดจากสินเชื่อซับไพรม์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
1
ตอนนั้น.. นักลงทุนแห่กันลงทุนในสินเชื่อซับไพรม์ซึ่งเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดก่อนซื้อ
ทุกคนซื้อสินเชื่อซับไพรม์ด้วยความเชื่อที่ว่าใครๆ เขาก็ซื้อกัน..
คุณ Michael Burry เป็นหนึ่งในคนที่ไม่เชื่อแบบนั้น
เขาตัดสินใจทำสัญญาซื้อขายอนุพันธ์กับสถาบันการเงิน
โดยมีเงื่อนไขว่า หากสินเชื่อซับไพรม์เบี้ยวหนี้ เขาจะได้ผลตอบแทนมหาศาล
ในที่สุด วิกฤตฟองสบู่สินเชื่อซับไพรม์ก็เกิดขึ้น ทำให้บริษัทอย่าง Lehman Brothers, Bear Stearns ล้มละลาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก
1
ที่น่าสนใจคือ เมื่อไม่นานมานี้..
คุณ Michael Burry ได้ออกมาให้ความเห็น เกี่ยวกับฟองสบู่ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกในลักษณะเดียวกันกับครั้งที่แล้ว
Cr. Bloomberg
แล้วมันเกิดมาจากอะไร? ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักวิกฤตซับไพรม์กันก่อน
ในตอนนั้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจึงโตระเบิด นักลงทุนแห่กันมาเก็งกำไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ สถาบันการเงินหัวหมอเลยคิดค้น หลักทรัพย์ CDOs (Collateralized Debt Obligations) ขึ้นมา และเสนอขายให้แก่นักลงทุน
1
ซึ่ง CDOs จะนำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพดี มาขายรวมกันกับ สินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างซับไพรม์..
เมื่อสินเชื่อด้อยคุณภาพมีที่ระบาย ธนาคารก็พากันปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพมากขึ้น
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ระเบิดเวลาฟองสบู่ ที่ในที่สุดก็ได้แตกลงในปี 2008..
Cr. Steemit
ซึ่งเรื่องแบบนี้ คุณ Michael Burry ให้ความเห็นว่ามันได้เกิดขึ้นอีกครั้งกับ Index Funds หรือ กองทุนรวมที่ลงทุนอ้างอิงกับดัชนี
1
แล้ว Index Funds กับ CDOs มันเหมือนกันอย่างไร?
1
เรื่องแรกคือ การเกิดขึ้นของ Index Funds มีลักษณะคล้ายกันกับ CDOs
โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ก็คือการมัดรวมกันของหุ้นบริษัทต่างๆ เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุน
1
เพื่อให้เห็นภาพ เราลองมาดูตัวอย่าง..
หากเราอยากจะจัดตั้งกองทุนรวมอ้างอิงดัชนีประเทศไทย หรือ SET
หมายความว่า.. กองทุนรวมอ้างอิงดัชนีจะประกอบไปด้วยเม็ดเงินลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ของประเทศไทย เช่น PTT, AOT, CPALL
พอเรื่องเป็นแบบนี้ การลงทุนประเภท Index Funds จึงมีโอกาสบิดเบือนมูลค่าที่แท้จริงของหลายๆ ธุรกิจ ส่งผลให้นักลงทุนไม่ตรวจสอบมูลค่าและความเสี่ยงที่แท้จริงของกิจการ
อีกเรื่องที่คุณ Michael Burry วิตกกังวลก็คือ ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องของหุ้นทั่วโลก
ในที่นี้ เขายกตัวอย่างการอ้างอิงกับดัชนี S&P 500
จากข้อมูลทางสถิติระบุว่า หุ้นในดัชนี S&P กว่า 266 บริษัท
มีมูลค่าซื้อขายต่ำกว่า 4.6 พันล้านบาทต่อหุ้น ในแต่ละวัน
ซึ่งดูเผินๆ แล้ว ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นมูลค่าที่มาก
แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับกองทุนรวมอ้างอิงดัชนี
ที่ถือสินทรัพย์เหล่านี้เป็นมูลค่ารวมกันหลายล้านล้านบาท..
หมายความว่า หากกองทุนเกิด Panic ขายสินทรัพย์พร้อมๆ กัน
สภาพคล่องของหุ้นในแต่ละบริษัทจะไม่พอต่อการซื้อขาย
โดยคุณ Michael Burry เปรียบเทียบสภาพคล่องกับโรงหนังที่มีแต่คนแห่เข้าไปดูมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน แต่ทางออกก็ยังมีทางเดียวเหมือนเดิม..
โดยคำถามสำคัญสำหรับเรื่องนี้ก็คือ แล้วมันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
คุณ Michael Burry ก็ได้ตอบกลับไปว่า..
“มันก็เหมือนวิกฤตฟองสบู่ทุกครั้ง
ผมไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน
แต่ที่แน่ๆ ยิ่งปล่อยไปนานเท่าไหร่
หายนะของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น..”
Blockdit แอปที่เป็นเหมือน คลังความรู้ขนาดใหญ่ อ่านฟรี
โหลดเลย Blockdit.com/download
โฆษณา