8 ก.ย. 2019 เวลา 15:31 • การศึกษา
การกำหนดเป้าหมาย (Setting goal)
เป้าหมายในที่นี้ไม่ใช่เพียง เป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตในด้านอาชีพ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้อ่านทำในชีวิตประจำวันล้วนมีเป้าหมายทั้งสิ้น
ในชีวิตประจำวันของเรา การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเราย่อมหวังผลจากการกระทำนั้นๆอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น เด็กนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อหาความรู้ให้กับตัวเอง พนักงานบริษัททำงานเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว หรือแม้กระทั่งตัวผู้อ่านที่กำลังนั่งอ่านบทความนี้ เพราะหวังว่าจะได้อะไรจากบทความนี้บ้างก็ดี ทุกการกระทำจึงมีเป้าหมาย
ntpng
แต่ทุกสิ่งหรือเปล่าที่ผู้อ่านทำสำเร็จในชีวิต..
แล้วจะทำอย่างไรถึงจะทำสิ่งใดสิ่งนึงสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น..
นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งการกำหนดเป้าหมายออกเป็นสองแบบคือ
"ไขว่คว้า" และ "ยึดติด"
เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้เปิดสนามสอบ TOEIC ขึ้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
มีนักศึกษาคนนึงชื่อว่า A เข้าร่วมการสอบในครั้งนี้ A ใช้เวลาเตรียมตัวเพื่อที่จะเข้าร่วมการสอบในครั้งนี้เพียงไม่กี่อาทิตย์ ตลอดระยะเวลาที่ A เตรียมพร้อมสำหรับการสอบด้วยตัวของเขาเองนั้น เขาคิดว่าเขาทำได้ดีมาก จนกระทั่งถึงวันสอบจริง
เมื่อเจ้าหน้าที่คุมห้องสอบให้สัญญานเริ่มการทดสอบ ผู้เข้าสอบทุกคนเริ่มทำข้อสอบของตัวเอง ซึ่งในการสอบนั้นจะมีการกำหนดเวลา 2 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 45 นาที และส่วนที่สอง 75 นาที ในชั่วโมงแรก A ทำข้อสอบอย่างรอบคอบ และมีสมาธิ ซึ่งทำให้เขาทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจ
ซึ่งสถานการณ์นี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า การกำหนดเป้าหมายแบบ "ไขว่คว้า" กล่าวคือ A ทำตามเป้าหมายอย่างรอบคอบเพื่อที่จะทำข้อสอบให้เสร็จ โดยไม่เพิกเฉยแม้แต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆในข้อสอบ ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
แต่เมื่อเวลาผ่านไปชั่วโมงกว่าๆ เจ้าหน้าที่คุมสอบขานเวลาของการทำข้อสอบครั้งสุดท้าย ว่าอีก 5 นาทีจะหมดเวลา และจะเก็บกระดาษคำตอบทันที
ซึ่งขณะนั้น A ยังเหลือข้อสอบส่วนที่สองซึ่งเป็นส่วนที่เขาไม่ถนัดหลายข้อที่ยังทำไม่เสร็จ
เขาจึงกระวนกระวายใจเป็นอย่างมาก จึงทำให้เขาตัดสินใจเดาข้อสอบไปหลายข้ออย่างน่าเสียดาย
และในที่สุดเจ้าหน้าที่คุมสอบก็ทำการเก็บกระดาษคำตอบ และประกาศว่าผลสอบจะถูกแจ้งให้ทราบภายในอาทิตย์หน้า เป็นสัญญานว่าการสอบครั้งนั้นสิ้นสุดลงแล้ว
สถานการณ์นี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ยึดติด" กล่าวคือ A เริ่มยึดติดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จทันเวลาเพียงอย่างเดียว จึงสูญเสียความมั่นใจ เพราะไม่รู้ว่าจะไปจดจ่ออยู่กับสิ่งไหนก่อนดี เขาจึงขาดความละเอียด และเพิกเฉยต่อเนื้อหาที่สำคัญในข้อสอบไปโดยอัติโนมัติ เพราะ A ไม่เหลือเวลาในการทำข้อสอบแล้ว จึงทำให้เขาติดในอุโมงค์ความคิดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จเพียงอย่างเดียว และไม่สนใจข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากเดิมที่เขาทำตามเป้าหมายได้อย่างชาญฉลาด
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยและสำรวจเกี่ยวกับเรื่องนี้และได้ข้อสรุปของการพัฒนาประสิทธิภาพในการตั้งเป้าหมาย โดยเรียกผลการวิจัยนี้ว่า
เกณฑ์การตั้งเป้าหมายแบบ SMART
เกณฑ์การตั้งเป้าหมายแบบ SMART คือ
1. เฉพาะเจาะจง
2. ประเมินผลได้
3. บรรลุผลได้
4. ปฏิบัติได้จริง
5. มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
A ลองนำการตั้งเป้าหมายแบบ SMART ไปใช้ในการฝึกทำข้อสอบหลังจากการสอบครั้งนั้นโดย
1. เฉพาะเจาะจง - เขาจะทำข้อสอบให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง
2. ประเมิณผลได้ - ทำเสร็จภายในสองชั่วโมง
3. บรรลุผลได้ - โดยจะทำส่วนแรกภายใน 45 นาที และส่วนที่สองภายใน 75 นาที
4. ปฏิบัติได้จริง - A ฝึกทำข้อสอบในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยการจับเวลาและฝึกด้วยตัวเอง
5. มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
อาทิตย์แรก - ทำเสร็จด้วยเวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 30 นาทีอาทิตย์ที่สอง - ทำเสร็จด้วยเวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 15 นาที
อาทิตย์ที่สาม - ทำเสร็จด้วยเวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า
หลังจาก A ทำตามตารางการฝึกเสร็จสิ้น เขาพบว่าเขาทำข้อสอบได้เร็วขึ้น และทำเสร็จภายใน 2 ชั่วโมงทันเวลา ซึ่งคะแนนนั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากตอนแรกที่เขาทำข้อสอบช้าเลยด้วยซ้ำ
เกณฑ์การตั้งเป้าหมายแบบ SMART จึงแสดงให้เราเห็นว่า มนุษย์นั้นมีศักยภาพมากพอที่จะทำตามเป้าหมายที่ตัวเองคิดว่าเอื้อมไม่ถึง ให้เป็นเป้าหมายที่จับต้องได้อย่างแท้จริง
แน่นอนว่าผลการสอบครั้งนั้นของเขาออกมาได้ไม่ดีอย่างที่เขาหวังเท่าไหร่
A ซึ่งคือผมผู้เขียนนั่นเอง... T T
#กำลังเริ่มฝึกเขียนบทความนะครับ ถ้ามีส่วนไหนที่ผิดพลาดหรือไม่สละสลวย เชิญท่านผู้อ่านติชมเพื่อปรับปรุงแก้ไขได้เลยครับ
ขอบคุณครับ :)
โฆษณา