9 ก.ย. 2019 เวลา 07:32 • ธุรกิจ
อยากเปิดพอร์ตหุ้นเลือกที่ไหนดี
1
หากคุณมีความสนใจในการลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นหรือเรียกกันง่ายๆว่าเปิดพอร์ตหุ้น
3
โดยการเปิดพอร์ตหุ้นนั้นต้องเปิดกับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า โบรก (ย่อมาจากคำว่า Broker) แต่ถ้าโบรกนั้นเป็นบริษัทลูกของธนาคารก็สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารได้
แต่ว่าจะเปิดทั้งทีก็ไม่รู้ว่าจะเปิดเจ้าไหนดี มีให้เลือกเต็มไปหมด
วันนี้ผมจะมาแนะนำปัจจัยในการเลือกเพื่อประกอบการพิจารณาการเปิดพอร์ตกันครับ
1
เอาละครับเพื่อไม่ให้เสียเวลา เริ่มกันเลยดีกว่า
1.เปิดกับโบรกที่ได้รับการรับรองจากทางการ
แน่นอนครับว่าโบรกที่จะเปิดนั้นจะต้องเป็นโบรคที่ได้รับการรับรองจาก กลต และตลาดหลักทรัพย์เสียก่อน
บางคนอาจคิดว่าจะเขียนหัวข้อนี้ทำไม คืออย่างนี้ครับด้วยสมัยนี้การหลอกลวงว่าจะไปลงทุนที่นู้นที่นี่ แต่สุดท้ายก็จับได้ว่าเป็นแชร์ลูกโซ่มีเยอะมาก
5
ดังนั้นเราจึงควรเปิดบัญชีหุ้นที่ได้รับการรับรองจากทางการ เพราะถึงแม้ว่าโบรกที่เราใช้บริการจะปิดไป ก็ยังมีหน่วยงานที่กำกับดูแลคอยช่วยเหลือ
มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะคิดว่าถ้าโบรกที่เทรดอยู่ปิดไปหุ้นจะหายไปไหม ขอตอบเลยว่าไม่หายครับเพราะโบรกไม่ได้เป็นคนเก็บหุ้นให้กับลูกค้า แต่เป็นสำนักหักบัญชีที่เป็นหน่วยงานลูกของตลาดหลักทรัพย์เป็นคนเก็บรักษาให้
1
ถึงแม้โบรคจะปิดไป เราก็สามารถเปิดพอร์ตกับโบรคอื่นแล้วโอนหุ้นไปยังพอร์ตใหม่ได้ครับ
4
ทั้งนี้เราสามารถดูรายชื่อโบรกได้ตามลิงก์ด้านล่าง
2
2. เรามีจำเป็นที่จะต้องใช้มาร์ไหม
มาร์ เป็นคำย่อจากคำว่า เจ้าหน้าที่การตลาด (การตลาดภาษาอังกฤษเรียกว่า marketing เลยเรียกย่อๆว่า มาร์) มีชื่อเป็นทางการว่า ที่ปรึกษาการลงทุน
ทั้งนี้มาร์มีหน้าที่ให้คำแนะนำเรื่องการลงทุน (จะแนะนำถูกหรือผิดอันนี้ก็อีกเรื่องนะครับ) และรับคำสั่งซื้อขายผ่านทางโทรศัพท์
ทั้งนี้ในการซื้อขายหุ้นในตอนนี้มีอยู่ 2 วิธี คือ 1. การให้มาร์ส่งคำสั่งให้ หรือ 2. เราส่งคำสั่งเองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะผ่านแอพหรือบนเว็บ
ทั้งนี้การส่งคำสั่งซื้อขายเองจะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า
1
แต่ถ้าคุณไม่ชำนาญในการกดซื้อขายเองก็ต้องอาศัยมาร์นี่แหละในการซื้อขาย
1
3. ค่าคอมมิชชั่น
ค่าคอมมิชชั่น จะเรียกสั้นๆว่า ค่าคอม คือค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับโบรกในเวลาที่เราซื้อขาย
ทั้งนี้อัตราค่าคอมแบบปกติส่วนใหญ่แล้วจะมีอัตราเป็นดังนี้
อัตราค่าคอมมิชชั่นในอัตราที่บริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เรียกเก็บ (จากเว็บของ บล. โนมูระ พัฒนสิน)
แต่ทั้งนี้ก็จะมีบางโบรกที่เน้นการให้ลูกค้าซื้อขายออนไลน์ ก็จะมีอัตราที่ถูกกว่าข้างต้น ถ้าใครที่ชอบซื้อขายเองก็สามารถเปิดกับโบรกพวกนี้ได้ครับ
1
แต่ถ้าหากว่าคุณยังต้องใช้มาร์ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ไม่แนะนำให้เปิดกับโบรกที่คิดค่าคอมออนไลน์ถูกนะครับ เพราะเขาจะคิดค่าคอมที่แพงมากถ้าคุณให้มาร์ส่งคำสั่งซื้อขายให้
1
นอกจากนี้สำหรับคนที่ชอบซื้อขายเองก็ยังมีเรื่องค่าคอมขั้นต่ำต่อวันที่ควรพิจารณาด้วย ปกติจะกำหนด 50 บาทต่อวัน
ค่าคอมขั้นต่ำต่อวันคืออะไร คือค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ โบรกเรียกเก็บในวันที่มีการซื้อขาย
เช่น เก็บขั้นต่ำ 50 บาท ก็คือเมื่อเราส่งคำสั่งซื้อหุ้นไปแล้วคิดเป็นค่าคอม 38 บาท โบรกจะปัดเป็น 50 บาททันที
1
แต่ถ้าในวันนั้นเราเกิดซื้อเพิ่ม แล้วคิดเป็นค่าคอม 40 บาท เมื่อรวมกับที่เราซื้อในตอนแรกแล้วคิดเป็นค่าคอม 38+40 =78 บาท โบรกก็จะเก็บ 78 บาท เพราะค่าคอมรวมเกิน 50 บาทแล้ว
1
ดังนั้นถ้าเราชอบซื้อขายเองและไม่ได้ซื้อขายแต่ละครั้งในปริมาณมาก ควรเลือกโบรกที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำครับ
1
4. ดอกเบี้ยจากการฝากเงินเข้าไปในพอร์ต
1
เมื่อคุณฝากเงินเข้าไปในพอร์ตถึงแม้ว่าจะไม่ทำอะไร โบรกก็จะให้ดอกเบี้ยกับคุณด้วย แต่ดอกเบี้ยที่ได้โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่บาทแรกด้วยนะครับ
1
ทั้งนี้โบรกที่คิดค่าคอมออนไลน์ถูกก็อาจจะไม่ให้ดอกเบี้ยในส่วนนี้ก็ได้
2
ถ้าใครซีเรียสในส่วนดอกเบี้ย ปัจจัยนี้ก็ควรพิจจารณาด้วย
5. บริการอื่นๆ
สำหรับคนที่ซื้อขายเองนอกจาก 4 ข้อข้างต้นแล้ว อาจจะต้องพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ด้วยว่า เราต้องการใช้หรือไม่
5.1 โปรแกรมที่ใช้ในการซื้อขาย
streaming โปรแกรมที่เอาไว้ซื้อขายหุ้น
โดยปกติแล้วทุกโบรกจะมีโปรแกรม streaming ซึ่งเป็นโปรแกรมซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วทุกโบรก
แต่ถ้าหากว่าเกิดเหตุการณ์ที่โปรแกรม streaming เกิดล่ม ก็ต้องดูว่าแต่ละโบรกมีโปรแกรมซื้อขายหุ้นอื่นรองรับหรือไม่
5.2 โปรแกรมดูกราฟ
สำหรับสายที่ชอบดูกราฟ โปรแกรมนี้จะขาดไม่ได้ อันนี้ก็ต้องดูแต่ละเจ้าครับว่าให้โปรแกรมอะไรมา และให้ฟังก์ชั่นอะไรแก่เรามาบ้าง
5.3 บทวิเคราะห์
โดยปกติแล้วบทวิเคราะห์จะมีแทบทุกเจ้า แต่ก็มีบางเจ้าก็ไม่มีบทวิเคราะห์ให้ ปัจจุบันสามารถแอดไลน์ของแต่ละโบรกเพื่ออ่านบทวิเคราะห์แบบย่อๆได้
5.4 สิทธิพิเศษอื่นๆ
1
บางโบรกก็อาจจะมีงานสัมนาที่ให้เฉพาะแก่ลูกค้า รวมไปถึงถ้ามีการซื้อขายเยอะๆก็อาจจะมีของขวัญปีใหม่ให้แก่เรา
ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการเปิดพอร์ตหุ้นนะครับ
สำหรับคนที่ไม่เคยมีบัญชีหุ้นแนะนำเปิดบัญชีประเภท cash balance นะครับ เป็นบัญชีที่ต้องเติมเงินเข้าไปในพอร์ตก่อนแล้วถึงจะซื้อหุ้นได้
4
หลักฐานที่ใช้ในการเปิดพอร์ตจะมี 1. สำเนาบัตรประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
ทั้งนี้บางธนาคารก็มีระบบเปิดพอร์ตออนไลน์เพียงแค่มีบัญชีธนาคาร และแอพก็สามารถกดเปิดพอร์ตหุ้นได้เลย โดยธนาคารจะส่งข้อมูลให้กับโบรก ก็สะดวกกับเราดี
ถ้าจะให้ผมแนะนำว่าเปิดที่ไหนคุ้มสุด แนะนำว่าเปิดที่ไหนก็ได้ครับ แต่ควรไปเปิดในงาน set in the city หรือ money expo ครับ เพราะได้ของแถม (ไหนๆจะลงทุนแล้วก็ต้องได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านบ้าง)
1
สุดท้ายนี้หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดถูกใจ และกดติดตามเพจนี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
โฆษณา