Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หนังสือกฎหมาย
•
ติดตาม
10 ก.ย. 2019 เวลา 13:41 • การศึกษา
โจทก์ขาดนัดพิจารณา อายุความสะดุดหยุดลง หรืออายุความไม่สะดุดหยุดลง
.
“เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาศาลจำหน่ายคดี มีผลอย่างเดียวกับคำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้อง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่”
.
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6751/2561 (ประชุมใหญ่)
.
...แม้คดีที่เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องขอให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยจะเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุเจ้าหนี้ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 แต่การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเป็นผลจากการที่ละทิ้งหรือทอดทิ้งคดีของตนทำนองเดียวกับคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ถอนฟ้องและทิ้งฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง ดังนั้น เจ้าหนี้ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จึงหาสะดุดหยุดลงไม่
.
...คำสั่งของศาลจังหวัดมีนบุรีที่จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 203 ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ คำสั่งจำหน่ายคดีตามมาตรา 202 แต่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ (เจ้าหนี้) ที่จะเสนอคำฟ้องของตนใหม่ แม้เจ้าหนี้จะไม่ได้รับประโยชน์จากการฟ้องคดีก่อนโดยอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงก็ตาม แต่เมื่อคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดมิได้เสร็จไปเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้องโดยแท้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลที่ให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดพิจารณาย่อมมีผลอย่างเดียวกับคำพิพากษาของศาลที่ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า หากอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดก็ได้ เมื่อคำสั่งของศาลจังหวัดมีนบุรีที่ให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 203 จึงเป็นที่สุดในวันที่ได้อ่านคำสั่งให้คู่ความฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยจึงครบไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคดี เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก ซึ่งอยู่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด และในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ซึ่งเจ้าหนี้ก็ได้นำมูลหนี้ดังกล่าวไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ในระหว่างที่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ดังกล่าวได้สะดุดหยุดลงในระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่จะเรียกให้ลูกหนี้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันวินาศภัย จึงหาขาดอายุความไม่
.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2)
มาตรา 193/17
ป.วิ.พ. มาตรา 202, 203
8 บันทึก
21
2
5
8
21
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย