13 ก.ย. 2019 เวลา 01:24 • ประวัติศาสตร์
บุญข้าวสาก
จากความอาฆาตพยาบาทของนางยักษิณี
สู่ประเพณีอีสาน
บุญข้าวสากหรือสลากภัต
เป็นบุญประเพณีที่ชาวอีสานที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน โดยชาวบ้านจะเตรียมอาหารคาวหวานไปวัดเพื่อจัดทำเป็นสลากภัตรถวายแด่พระสงฆ์เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว ตลอดจนอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรดาญาติผู้ล่วงลับ นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จัดเป็นหนึ่งในฮีต(จารีต) 12 คลอง 14 ของชาวอีสาน
มีตำนานความเป็นมาของบุญข้าวสากที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเกษตรเอสเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมชาวblockdit บ้างไม่มากก็น้อย จึงได้หยิบยกนำมาเรียบเรียงและถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่านได้รับฟังตามผมมาเลยครับ
ภาพ: pixabay
ในสมัยพุทธกาล
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่พระเชตวัน
มหาวิหารพระองค์ได้หยิบยกนิทานธรรมบทเรื่องหนึ่งขึ้นเทศนาเพื่อสั่งสอนพุทธศาสนิกชนความว่า
มีบุตรชายผู้มั่งมีผู้หนึ่ง เมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้วแม่ได้หาหญิงผู้มีอายุและตระกูลเสมอกันมาเป็นภรรยา แต่อยู่ด้วยกันหลายปีไม่มีบุตร แม่จึงหาหญิงอื่นมาให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงเกิดความอิจฉาริษยาจึงวางแผนฆ่าทั้งลูกและเมียน้อยเสียฝ่ายเมียน้อยเมื่อก่อนจะตายก็คิดอาฆาตพยายาทเมียหลวงไว้
ชาติต่อมา
ฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นแมว อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นไก่ แมวจึงกินไก่และไข่
ชาติต่อมา
ฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นเสือ อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็น
กวาง เสือจึงกินกวางและลูก
ชาติสุดท้าย
ฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นนางยักษิณี    พอฝ่ายคนแต่งงานคลอดลูกนางยักษิณีจองเวร ได้ตามไปกินลูกถึงสองครั้ง
ต่อมา
มีครรภ์ที่สาม นางได้หนีไปอยู่กับพ่อแม่ของตนพร้อมกับสามี เมื่อคลอดลูกเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงพร้อมด้วยสามีและลูกกลับบ้าน พอดีนางยักษิณีมาพบเข้า นางยักษิณีจึงไล่นาง สามีและลูกหวังจะกินเสีย นางจึงพาลูกหนีพร้อมกับสามีเข้าไปยังเชตวันมหาวิหาร ซึ่งพอดีพระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่
นางและสามีจึงนำลูกน้อยไปถวายขอชีวิตไว้ นางยักษ์จะตามเข้าไปในพระเชตวันมหาวิหารไม่ได้ เพราะถูกเทวดากางกั้นไว้ พระพุทธเจ้าจึงโปรดให้พระอานนท์ไปเรียกนางยักษ์เข้ามาฟังพระธรรมเทศนาพระองค์ทรงสั่งสอนไม่ให้พยาบาทจองเวรกัน แล้วจึงโปรดให้นางยักษ์ไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา
นางยักษ์ตนนี้มีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดีปีไหนฝนจะดีปีไหนฝนแล้งจะแจ้งให้ชาวเมืองได้ทราบ ชาวเมืองให้ความนับถือมากจึงได้นำข้าวปลาอาหารไปส่งนางยักษ์อย่างบริบูรณ์สม่ำเสมอ นางยักษ์จึงได้นำเอาอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ
ชาวอีสานจึงถือเอาการถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากนี้เป็นประเพณีสืบต่อกันมา และเมื่อถึงวันทำบุญข้าวสาก นอกจากนำข้าวสากไปถวายพระภิกษุ และวางไว้บริเวณวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวนาจะเอาอาหารไปเลี้ยงนางยักษ์ หรือผีเสื้อนาในบริเวณนาของตนเปลี่ยนเรียกนางยักษ์ว่า " ตาแฮก "
ความอาฆาตพยาบาทนั้นจัดเป็นกิเลสอย่างหนึ่งใน
ปรัชญาคำสอนทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพุทธศาสนิกชนให้ละเสียโดยการให้อภัย
เป็นทานซึ่งถือเป็นการให้ที่ยากที่สุดแต่ได้อานิสงส์ มากหาที่เปรียบมิได้
โดยเฉพาะในสังคมยุคปัจจุบันที่การแก่งแย่งแข่งขันทำมาหากินปากกัดตีนถีบ ชิงดีชิงเด่นแบบเอาเป็นเอาตายอย่างสุดโต่งอย่างนี้ หลายคนมีความหลงผิดถลำลึกจนยากเกินจะแก้ไขเพราะความอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาท สร้างเวรสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้ตัวและครอบครัวลำบาก ดังเช่นกรณี
นางยักษิณีกับคู่กรณีสามีภรรยาและลูกน้อย
หากแม้นผู้คนในสังคมต่างได้น้อมนำพระธรรมคำสอนขององค์ศาสดามาปฏิบัติสักนิด โดยคิดให้อภัยเป็นทาน อาจนำมาซึ่งความสุขสงบให้กับชีวิตและครอบครัว ถือเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดที่ทุกคนในสังคมควรมอบให้แก่กันใช่ไหมครับ?
มีความคิดเห็นประการใดเขียนมาเล่าให้ฟังบ้าง
นะครับ
เกษตรเอส'Society
"อยากเห็นคนในสังคมนี้ 
มีรอยยิ้มและความสุข"
ฝากกดไลท์แชร์และ
กดติดตามด้วยนะครับ
อ่านฉบับเต็มได้ที่
โฆษณา