14 ก.ย. 2019 เวลา 01:36 • การศึกษา
"จัดพอร์ตต่อยอด เงินก้อนสุดท้ายใช้ให้พอ"
สรุปจากคลิปวิดิโอ จากงานสัมมนา กองทุนรวม 2019
พูดโดย ดร. สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย วันที่ 1 ก.ค. 2562
รายได้เฉลี่ยของคนวัยเกษียณ
ข้อมูลชุดนี้แสดงให้เห็นว่า 83.9%ของผู้สูงอายุมีรายได้เฉลี่ยหลังเกษียณต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อปี หรือเฉลี่ยเพียง 8,333 บาทต่อเดือน
ในจำนวน 60.5% รายได้ต่ำกว่า 4,167 บาทต่อเดือนเท่านั้น
แหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ จะเห็นว่า รายได้หลักๆที่หลังจากเกษียณมาจาก
34.7% มาจากลูกหลาน
31.0 % มาจากการทำงานหลังเกษียณ
20% มาจากเบี้ยยังชีพ
ที่น่าตกใจคือ แหล่งรายได้ที่มาจากเงินออมมีเพียงแค่ 2.3% เท่านั้น
อาจารย์ให้ความเห็นว่า มองในแง่ลบคือการแต่พึ่งลูกหลานมากเกินไป แต่มองในแง่บวกคือความกตัญญูอันดีของสังคมไทยที่ดูแลพ่อแม่
ถ้าไม่อยากพึ่งลูกหลานหรือต้องทำงานหลังเกษียณควรที่จะเพิ่มตัวเลขเงินออมให้มากขึ้น
อันนี้น่าตกใจมาก แนวโน้มของผู้สูงอายุคืออยู่คนเดียวมากขึ้น
จากการมีลูกน้อยลง และการแยกกันอยู่ของผู้สูงอายุที่เป็นคู่สมรส
(ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสำคัญของการวางแผนเกษียณเพราะบางทีการวางแผนแบบแยกรายได้หลังเกษียณของใครของมันสามีและภรรยา อาจยืดหยุ่นกว่าการวางแบบรวม)
อะไรที่คนหลังเกษียณต้องเผชิญบ้าง
-โครงสร้างอาชีพเปลี่ยนไปเมื่อก่อนเกษตรกรหลังเกษียณยังพอมีไร่นา เอาไว้ทำกินเล็กน้อยๆได้
-ของแพงขึ้นจากเงินเฟ้อ
-ครอบครัวเล็กลง(มีลูกน้อยการพึ่งพาลูกหลานก็ยากขึ้น
-ค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น (ค่าเบี้ยประกันก็สูงขึ้น)
-สุดท้ายคือ อายุที่ยาวนานขึ้น
แล้วควรเตรียมหลังเกษียณเท่าไหร่ถึงพอ
แนวคิดง่ายๆ คือเตรียมเงินไว้ประมาณ 20 เท่าของรายจ่ายต่อปี จะสามารถอยู่ได้ 25 ปี แต่อาจารย์บอกว่าหลังเกษียณต้องลงทุนให้สูงกว่าเงินเฟ้อ 2%
สมมุติเงินเฟ้อ 3% เงินที่เตรียมไว้ก็ควรหาผลตอบแทนให้ได้ 5 % ต่อปีด้วย แบบนี้จะทำให้ คุณภาพชีวิตหลังเกษียณไม่ลดลง
*แต่ปัญหานี้คือ ถ้าเราไม่เคยลงทุนมาก่อนเกษียณเลย การจะไปลงทุนหลังเกษียณเป็นอะไรที่ยากมากๆๆ เพราะเงินก้อนนั้นคือเงินก้อนสุดท้ายแทบจะเสี่ยงโดยไม่มีความรู้ไม่ได้
จะจัดสัดส่วนการลงทุนอย่างไร
วิธีแรก คือ 100 ลบด้วยอายุ วิธีนี้เป็นวิธีขั้นต้นที่ให้ประเมิณว่าเราควรมีสินทรัพย์เสี่ยงเท่าไหร่ในพอร์ตลงทุนของเรา
เช่นปัจจุบันเราอายุ 30 ปีสินทรัพย์เสี่ยงที่เราเราสามารถลงได้เช่น หุ้น อาจสูงถึง 70 %ของพอร์ตแล้วค่อยๆลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงลงเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น
แต่วิธีนี้ ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากที่ต้องพิจารณา
เช่น รายได้ ความรู้ในเรื่องการลงทุน ความสามารถในการรับความเสี่ยง
อีกวิธีนึงเป็นแนวคิดการเกษียณของ Vanguard
วิธีนี้คือเรากำหนดอายุตอนเกษียณเอาไว้เลยว่าอยากจะเกษียณที่อายุเท่าไหร่ เช่น เกษียณที่อายุ 65
(เส้นที่3)
นับย้อนกลับไป (เส้นที่1) เช่นอายุเริ่มลงทุนอายุ20 ปี Vanguard บอกว่า สามารถลงทุนในหุ้นทั้ง ในประเทศและหุ้นต่างประเทศรวมกัน ได้ถึง90% โดยมีตราสารหนี้ในพอร์ตแค่ 10% เท่านั้น
โดยสามารถคงสัดส่วนนี้ไปจนก่อนเกษียณ 25 ปี (เส้นที่2) นั่นหมายความว่าอายุ 40 ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้สัดส่วนถึง 90 %
ช่วงเส้นที่2 ถึง3 ค่อยๆปรับสัดส่วนหุ้นลงจนถึงวันเกษียณอายุ65 จะเหลือสัดส่วนหุ้นในพอร์ตอยู่ 50 %
ในช่วงหลังเกษียณ 7 ปี(เส้นที่ 3 ถึง4) ค่อยๆปรับสัดส่วนหุ้นลงไปจนถึง 40 % และคงสัดส่วนนี้จนกระทั่งอายุขัย
แต่นี่เป็นมุมมองของคนอเมริกาและเป็นการลงทุนระยะยาวนานมาก โดยเริ่มมาตั้งแต่อายุน้อยๆ
ดังนั้นใครจะนำมาประยุกต์ใช้อย่าลืมคิดถึงปัจจัยส่วนอื่นเช่นเรื่องความสามารถในการรับความเสี่ยง ความเต็มใจในการรับความเสี่ยง รวมถึงความรู้ในการลงทุนของเราด้วย
การจัดทัพลงทุนมุ่งวัตถุประสงค์
การตัดสินใจลงทุนมี 3 สเตปด้วยกัน
1. จัดทัพลงทุน Asset Allocation
เช่นมี 100 บาท จะลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมหุ้นกี่บาท จะลงในพันธบัตรหรือกองทุนรวมตราสารหนี้กี่บาท ฝากเงินหรือลงในกองทุนรวมตลาดเงินกี่บาท
2.เลือกตราสาร
เช่นรู้แล้วว่าควรจะลงทุนหุ้น 60 % แล้วจะเลือกหุ้นตัวไหน หรือกองทุนจาก บลจ.ไหน
3.จับจังหว่ะการลงทุน
เช่นซื้อเลย ทะยอยซื้อ หรือรอซื้อ
มีบทวิจัยว่า การตัดสินใจที่มีผลต่อผลตอบแทนรวมมากที่สุดคือ
-จัดทัพลงทุน Asset Allocation มีผล 93%
-เลือกตราสาร มีผล 5%
-จับจังหว่ะการลงทุน มีผลแค่ 2%
อาจารย์ยกตัวอย่างการจัดพอร์ตการลงทุนตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาต่างๆ
เช่นสร้างความมั่งคั่งเช่นหุ้นทุน ควรลงทุน 5-7 ขึ้นไป
ทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารหนี้ต่างประเทศ ควรลงทุนมากกว่า 2-4 ปีขึ้นไป
สินทรัพย์ที่เอาไว้สำหรับรักษาสภาพคล่อง เช่นตราสารหนี้ระยะสั้น ระยะลงทุน1ปีขึ้นไป
พร้อมยกตัวอย่างกองทุนที่ใช้จัดพอร์ต ใครจะลงทุนตามก็ลองศึกษากองทุนแต่ละกองหรือนำไปปรับใช้อีกทีนึง
โฆษณา