15 ก.ย. 2019 เวลา 16:47 • การศึกษา
Loadout - Quay Jack and Outrigger
Quay Jack and Outrigger ถือเป็นอุปกรณ์พิเศษที่พบไม่บ่อย​ในการ​ Loadout โครงสร้างทั่วๆ​ ไป​ จะพบได้ในโครงสร้างขนาดยักษ์​ หรือ​ Mega-Structure​ ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกงานที่จะเห็น​ แต่มันมักจะเริ่มพูดถึงเป็นออฟชั่นเมื่อเป็นการ​ Loadout​ แบบเข้าด้านข้างเรือ​ (Side​ หรือ​ Transverse​ Loadout)​ ซึ่งมีสามเหตุผลใหญ่​ๆ​ ที่จะเอามาใช้​ คือ​ โครงสร้างที่ขน​ รับแรงจากช่วงการขนย้ายไม่ได้​ ส่วนปลายของท่าเรือรับแรงไม่ได้​ หรือตัวเรือเองรับแรงไม่ได้
โดยปกติการขนโครงสร้างขึ้นเรือ​ จะต้องมีแผนการปรับน้ำในถังของเรือให้อยู่ในแนวราบมากที่สุด​ หรืออยู่ใน​ระดับความคลาดเคลื่อน​ที่ยอมรับได้​ ซึ่งจะทำได้หรือไม่อยู่ที่น้ำหนักของโครงสร้าง​และความสามารถของปั๊ม​ ในทุกเมตรของการขยับโครงสร้าง​ขึ้นมาบกเรือคือน้ำหนักที่ถ่ายจากตอนแรกที่มันอยู่บนฝั่งลงมายังเรือ​ เมื่อมีน้ำหนักกดลงมาเรือ​ ถ้าไม่ทำอะไรเลยเรือจึงต้องจมลงเพื่อให้ได้แรงลอยตัวเพิ่มเพื่อต้านแรงที่กดลงมา​ ถ้าเราต้องการให้เรือคงอยู่ที่ระดับเดิมสามารถทำได้อีกอย่างคือแทนที่จะให้มันจมลง​ เราก็ปั๊มน้ำในเรือออก​ก็จะทำให้น้ำหนักที่กดลงมาเข้าไปแทนน้ำที่ถูกขับออกไประดับจึงยังเท่าเดิม​
ดังนั้นก่อน​ Loadout​ จึงต้องมีแผนการปั๊มน้ำที่แน่นอนและปั๊มน้ำเข้าเรือให้เพียงพอที่จะชดเชยแรงที่กดลงมา​ รวมไปถึงมีปั๊มที่มีความสามารถเพียงพอในอัตราการปั๊มที่เร็วพอจะชดเชยแรงที่ค่อยๆขยับเข้ามา​ รวมไปถึงจำกัดความเร็วในการลากให้สัมพันธ์​กับความสามารถ​ของปั๊มน้ำ
คอนเซปที่ว่าข้างบนคือหลักการทำงานของโครงสร้่างทั่วๆ​ ไป​
เมื่อเป็นโครงสร้​างขนาดยักษ์​ ที่ต้องเข้าด้านข้างเรือ​ บ่อยครั้งปัญหา​จะตามมาคือ​ มี​ Ballast Water​ ให้เล่นไม่มาก​ เนื่องจากด้านขวางเรือส่วนใหญ่มีแค่สองแท้งค์​ มากสุดก็สี่แท้งค์​ ทำให้มีน้ำที่จะเข้ามาชดเชยได้น้อย​ ไม่เหมือนการเข้าจากท้ายเรือ​ ที่มีแท้งค์​น้ำให้เล่นตลอดความยาวเรือ​ หรือ​ อาจจะมีปัญหาจากการที่โครงสร้างมันหนักมากจน​ ความสามารถปั๊มที่มีไม่สามารถปั๊มน้ำชดเชยได้เร็วเพียงพอ​ ซึ่งจะเกิดปัญหาต่อมาคือการควบคุมระดับของเรือ
เมื่อควบคุม​ไม่ได้จึงเกิดกรณี​เรือเอียง​ โดยเฉพาะเมื่อขึ้นด้านข้าง​ การที่เรือเอียงทางขวาง​ (มี​ Heel​ Angle) เกิดได้สองแบบคือ​ เอียงแบบสูงขึ้นที่เอียงฝั่งของเรือ​ ทำให้โครงสร้าง​ต้องขยับขึ้นเหมือนปีนเขา​ หรือ​เอียงแบบด้านใกล้ท่าเรือต่ำลง​ ทำให้โครงสร้าง​ไม่มีจุดรองรับ​ การเป็นยื่นออกไปนอกท่าเรือ​ อาจจะทำให้โครงสร้างวิบัติได้​ หรืออาจจะเกิดปัญหา​กำลังตรงปลายของท่าเรือไม่เพียงพอ
Quay Jack กับ​ Outrigger​ มันจึงเข้ามาแก้ปัญหา​ส่วนนี้​ คือเมื่อมีปัญหาการควบคุมระดับ​ ก็ใช้ระบบไฮดรอลิก​เข้ามาช่วย​ ด้วยการทำคานยึดติดกับเรือขนาบกับรางที่ใช้ลากโครงสร้าง​ เรียกว่า​ Outrigger​ โดยทำยื่นเลยเข้ามาถึงในฝั่ง​ ซึ่งจะมีไฮดรอลิก​แจ๊ก รองอยู่ข้างล่าง​รับด้วย​ฝั่ง​ Quay มันจึงเรียกว่า​ Quay Jack โดยมันจะทำหน้าที่ช่วยเรือในการปรับระดับ​ แทนที่จะไปพึ่งปั๊มน้ำเพียงอย่างเดียว​ โดยจะเริ่มทำหน้าที่ช่วงที่โครงสร้างกำลังข้ามจากฝั่งไปบนเรือ​ มันจะปรับจนไม่มีโอกาสที่โครงสร้างจะอยู่ในสภาวะยื่นกลางอากาศจากฝั่ง
อย่างไรก็ดี​ ไม่ใช่ทุกงานจะใช้​ Quay Jack กับ​ Outrigger​ ยกเว้นจำเป็นจริงๆ​ ขึ้นกับเรือที่ใช้และอุปกรณ์​ด้วย​ จากประสบการณ์​ผม​ จะเห็นมันได้​ มักจะเป็นกรณี​ Side​ Loadout​ ของโครงสร้างที่หนักมากๆ​ ที่มีปัญหา​จริง​ๆ น่าจะต้องสักสามหมื่น​ตัน​ (คือต้องงานใหญ่ยักษ์​ระดับโลก)​ ไม่งั้นโอกาสจะเห็นค่อนข้างยากเพราะทำให้ปฏิบัติ​การมันซับซ้อนมากเกินไป
ในรูปเป็นการ​ Loadout​ Malikai​ Tensioned Leg Platform หนัก​ 27500 ตัน​ ขึ้นเรือ​ White Marlin โดยลากบนราง​ 4 ราง​ แต่ละรางจะมี​ Outrigger​ ประกบข้าง​ และแต่ละ​ Outrigger​ จะมี​ Quay Jack อยู่ข้างใต้คอยช่วยปรับระดับ
Ref. Pic
OTC - 28284 - MS, "Loadout of Malikai Tension Leg Platform TLP and Float - Over Topside"
โฆษณา