16 ก.ย. 2019 เวลา 13:25 • การศึกษา
กลยุทธ์การขายตั๋วผี
'ยิ่งหายาก-ยิ่งแพง' แถม ไม่ใช่ความผิดในเมื่อ 'สมัครใจ' ซื้อ!
นี่คือเรื่องเทาๆที่ผมจะเล่าให้ฟังในโพสต์นี้ครับ....
Present by ซีรี่ย์ด้านมืดของสังคม
ผมคาดว่าทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบทความนี้คงมีพื้นฐานเรื่องตั๋วผีกันมาบ้างแล้ว
ดังนั้นผมเลยเลือกที่จะไม่ลงรายละเอียดในส่วนเบสิคบางส่วนนะครับ
.
โดยเรื่องของเรื่องก็คือตั๋วผีเนี่ย เป็นอะไรที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเราดีจริงๆ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีตั๋วผีก็ยังมีไม่หยุด
ล่าสุดที่มีโผล่มาบ้างก็ช่วงบอลไทย-เวียดนามที่ดวลกันสนาม มธ.ครับ
.
โดยการขายแบบนี้นะครับ เรียกง่ายๆว่ารีเซลส์'😃 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำนี้กันบ่อยมาก นั่นคือการนำมาขายต่อครับ ถ้าสมัยก่อนจะเรียกว่า 'ตั๋วผี'ทุกวันนี้ผมก็ยังเรียกเช่นนั้น
ทั้งบัตรคอนเสิร์ต-สินค้าแบรนด์เนมเอง ก็คือการนำสินค้าราคาปกติมาขายต่อในราคาที่สูงขึ้น ฉะนั้น ถ้าเรามองว่าตั๋วผีในสมัยก่อนจะมองในแง่ลบทันทีว่ามีคนไปเหมาตั๋วมาขายในราคาแพง
.
แต่ขณะที่ปัจจุบันครับ คนทั่วไปหรือกระแสออนไลน์ที่เข้ามา มันเกิดการรีเซลส์ทางออนไลน์ง่ายขึ้นครับ ทำให้ภาพพจน์ของการเป็นตั๋วผีในแง่ลบมันจะเริ่มน้อยลง....🙃
.
ถามว่าราคาแพงไหมก็แพงอยู่นะ แต่คนก็ยังซื้อ เพราะสินค้ากับความต้องการทางตลาดมันไม่เท่ากันนั่นเอง
อธิบายส่วนพื้นฐานไปแล้วทีนี้มาดูกลยุทธ์ครับว่าเขาขายกันว่าทำไมเขาชอบขายกันจัง
โดยแบ่งเป็นการขายได้ใหญ่ๆ 2 ทางคือ ขายออนไลน์กับออฟไลน์ครับ
1.ออนไลน์🤩
การขายตั๋วออนไลน์จะเป็นทางเลือกใหญ่ๆที่ผู้ขายชอบครับ เพราะไม่ต้องเสี่ยงไปเจอตัวผู้ซื้อ แถมบางทียังมั่วหลอกโอนเงินได้อีก เป็นเส้นทางหลบหลีกอย่างดีทีเดียวเชียว
ซึ่งแพลตฟอร์มช่องทางที่มีการขายบ่อยๆก็จะมีแค่สองทางเด่นๆครับ คือ ทวิตเตอร์ และกลุ่มไลน์
เอ๊ะ?บางท่านอาจถามในใจว่าทำไม facebookไม่ติดอันดับหล่ะ?
นั่นก็เพราะทวิตเตอร์และไลน์มันมีความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ที่facebookทำได้ไม่เหมือนครับ
.
วิธีการขายก็ง่ายๆเลยก็คือ โพสต์ๆขายนั่นแหละ
สมมติโพสต์ขายบัตรศิลปินเกาหลี
ก็จะมีการทิ้งท้ายว่า
“ถ้าสนใจให้ DMมา ซึ่ง DMในทวิตเตอร์คือ Direct message ครับ
ตกลงซื้อขายเป็นอันจบ
ส่วนการขายในไลน์นี่จะซับซ้อนหน่อยเพราะต้องไปปล่อยโพสต์ใน facebookก่อน ส่วนขั้นตอนการซื้อขายต้องโยกมาในไลน์
เพราะว่าคนขายมันรู้ครับ ว่าลูกค้าไม่กล้าซื้อของจากfacebook เพราะปลอมuserง่าย แต่ถ้าคุยกันในไลน์มันก็เป็นเหมือนการให้รับประกันความเชื่อถือเพิ่มนิดหน่อย และมันเป็นส่วนตัวด้วย
.
ซึ่งการขายบัตรแทบทุกประเภทก็จะอัพราคามากกว่าต้นทุนอย่างน้อยๆ 1 เท่าตัวครับ หรือหากเจ้าไหนแพงๆก็ 2-3 เท่าตัวเลย
ยกตัวอย่างขายบัตรเกาหลี
โดยการประกาศขายครั้งนี้เจ้าตัวดีหัวหมอ อาจขายบัตรแพ็ครวม 3 ใบ ในราคา 70,000 บาท เท่ากับใบละ 23,333 บาท จากราคาปกติใบละ 6,000 บาท ทว่า หากผู้ซื้อต้องการซื้อบัตรแยกจะต้องซื้อในราคา 30,000 บาทต่อใบ
ฟันกำไรฉับๆ
ยกตัวอย่างภาพจำลองเหตุการณ์
2.ขายออฟไลน์😜
อันนี้ก็จะจำหน่ายยากครับ
นอกจากระบบของเจ้าของลิขสิทธิเขาทำออกมาไม่ดี
ก็มีการไปยืนขายหน้างานนั่นแหละ
ซึ่งราคาขายก็จะถูกบวกค่าน้ำมัน ค่าเสนอหน้ามาขายเพิ่มจากออนไลน์ไปอีกนิดหน่อย
เช่น ปล่อยบัตรเกาหลีในออนไลน์ 30,000 แต่ถ้าขายหน้างานก็จะขายประมาณ 32,000 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวแน่นอน(กรณีบัตรเกาหลีนะ ) เพราะว่าคอนเสิร์ตศิลปินดังทั้งทีมันไม่ได้มีติ่งประเทศเดียวที่ซื้อบัตรหน่ะสิครับ
สมมติคอนเสิร์ตในไทย ก็จะมีจีน สิงคโปร์ บลาๆ ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามางานด้วย ซึ่งชาวต่างชาติคนไหนดูรวยๆแล้วไม่มีบัตรนั่นแหละที่จะถูกเดินเข้าหา
(ส่วนเรื่องเขามีวิชาการแก้ไขชื่อในบัตรเพื่อเข้างานยังไงก็คือใช้การมอบอำนาจแทนครับ เช่น 1.สำเนาบัตรประชาชนเพื่อน+เขียนมอบอำนาจให้เราไปรับบัตรแทน 2.ใบรายการสั่งซื้อ 3.ใบเสร็จจ่ายตัง 4.และบัตรประชาชนตัวเอง ถือไปครบจบเข้างานได้)
เอาเป็นว่าจบในเรื่องการขายแบบปกติครับ
ทีนี้ก็มีการขายแบบไม่ปกติอีกก็คือการขายแบบเจตนาโกง
ซึ่งการขายตั๋วผีลักษณะนี้จะมีการหลอกให้โอนเงิน พอได้เงินก็บล็อค
วิธีการหลอกก็ง๊ายง่ายครับ แต่ไม่แนะนำให้ทำตามนะ
.
การขายแบบนี้มีคำนึงเป็นคีย์หลักครับคือ คำว่า ความเป็นลิมิเต็ดใช้ได้เสมอ
วิธีการขายก็จะไม่มีทางได้เจอตัวแน่นอนเพราะพวกหล่อนจะออนไลน์เท่านั้น
การขายก็คือพวกเขาจะทำตัวให้คนเชื่อถือได้โดยการให้ หลักฐานบัตรประชาชนและ รูปภาพบัตรคอนเสิร์ตที่เขามีรีวิว (ซึ่งมันก็คือเขาfakeขึ้นมานั่นแหละ)จากนั้นชวนคุยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจก่อนจะขอเบอร์โทรศัพท์เพื่อคุยรายละเอียดอย่างอื่นต่อไป
โดย ผู้ขายจะเร่งให้โอนเงินก่อนครับ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นบัตรหายากประมาณเปิดขายปุ๊บ บัตรหมดปั้บ คนขายก็จะบอกว่าต้องโอนไม่เกิน 10 นาที โดยอ้างว่าต้องใช้เงินจ่ายค่าโน่นนี่นั่นหรือบอกเราว่ามีคนรอจ่ายสูงกว่ารออยู่ ถ้าตัดสินใจช้าอาจต้องโอนเพิ่ม แล้วจะส่งบัตรคอนเสิร์ตให้ทางไปรษณีย์หลังจากได้รับเงิน
.
เมื่อเหยื่อหลงโอนเสร็จ เขาก็บอกว่าไปส่งไปรษณีย์ให้แล้ว สมมติเราขอเลขแทรคไปรษณีย์ เขาบอกว่าตัวเองส่งแบบธรรมดาไม่มีเลขแทรคให้เช็ค
พอผ่านไป 3 วัน เขาก็บล็อกเราทุกอย่างทั้งทวิตเตอร์และไลน์
ตอนนั้นแหละลูกค้าถึงจะรู้ตัวว่าโดนโกงนะจ๊ะ
(ชัดเจนนะครับ)
.
ข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ
ที่ผู้ขายให้ไอดีไว้ ข้อสังเกต คือ เขาพยายามจะให้คุยเฉพาะในไลน์เท่านั้น ไม่ให้คุยในช่องทางอื่น หรือโทรก็ไม่สะดวกรับ
🤠😤 พูดไปหลายมุมแล้วทีนี้มาว่ากันด้วยมุมกฎหมายครับ
ถามว่า เอาผิดเขาได้มั้ย?
ถ้าโดนหลอกโอนเงินก็แจ้งจับได้ครับ ถ้ามีหลักฐานมากพอนะ.....ที่สำคัญสลิปโอนเงินต้องมีถ้าไม่มีก็จะถหลักฐานไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
แต่ถ้าเผลอซื้อแบบสมัครใจแล้วไม่พอใจกับราคาที่จ่าย เราคงเอาผิดเขาลำบากครับ เพราะคนขายบัตรผีเขาไม่ได้ทำเป็นธุรกิจขึ้นมา การที่เราไปซื้อต่อจากเขาเหมือนการซื้อ-ขายด้วยความสมัครใจมากกว่า
แต่ก็อย่างว่าครับมันมีกรณีใหญ่ๆที่น่าสนใจคือถ้าตั๋วผีมีที่มาจากไทยทิคเก็ต เมเจอร์ อันนี้ยากเลยเพราะ
ด้านบริษัทไทยทิคเก็ต เมเจอร์ ผู้แทนจัดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตและแฟนมีตติ้ง เคยเปิดเผยไว้ว่า ทางบริษัท ไม่มีมาตรการรับผิดชอบใด ๆ ต่อความเสียหายลักษณะนี้ เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ต่อลูกค้าอยู่แล้วว่าไม่สนับสนุนให้ซื้อบัตรต่อจากผู้อื่น และทางไทยทิคเก็ตไม่สามารถเช็คไอดีหรือไอพีของผู้ที่มาซื้อบัตรได้ เพราะตามหัลกแล้วผู้ซื้อตั๋วไม่สามารถนำตั๋วไปขายต่อได้ตั้งแต่แรก เพราะตัวบุคคลไม่ใช่ผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ถ้าขายคือละเมิดสิทธิครับ
กรณีนี้ต้องให้ คนที่เดือดร้อนแจ้ง ไทยทิกเกตฯ ให้ดำเนินการจับกุมผู้ละเมิดสิทธิของเขาเอง
เล่าอย่างง่ายคือถ้าไทยทิกเกตฯไม่แจ้งให้ดำเนินการ ก็ไม่มีใครจับได้ครับแน่นอน
สรุปก็คือต้องใช้มาตรการทางสังคมเท่านั้น(ดงตีนครับ)
ขอบคุณภาพจาก SMMSPORT
สรุปเลยละกันครับยาวมากแล้ว
การขายตั๋วผีเค้าเรียก หากินกับช่องโหว่ของกฎหมาย เพราะนอกจากจะขายเกินราคาแล้ว ยังมีเจตนาฉ้อโกง หลอกลวง หรือเอารัดเอาเปรียบอีก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือไม่ต้องไปซื้อครับเพราะยิ่งซื้อมันยิ่งได้ใจ
หรือหากเราพบเห็นตามหน้างานที่ไหนก็แจ้งเจ้าหน้าที่เขาให้จัดการเลย
อย่างงานไทย-เวียดนามนี่มีเกือบ 200 นายเดินอ้อมงานอยู่
ก็ถือว่าเอามาเล่าพอเป็นความรู้ไม่เจตนาให้ผู้ใดเสียหายหรือเอาไปทำตามนะครับ
จอบอ
ถ้าชอบซีรี่ส์แนวเทาๆแบบนี้ก็กดไลค์ อย่าลืมกดติดตามเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับผม
I’m sam ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา