17 ก.ย. 2019 เวลา 11:28 • การศึกษา
8 สุดยอดเทคนิคที่ใช้อ่านภาษากาย
ของคู่สนทนาเรา
เวลาที่เราพูดคุยหรือเจรจากับใคร เราย่อมต้องการที่จะรับรู้ความคิดที่แท้จริง และสิ่งที่เขาเหล่านั้นต้องการจะสื่อ หรือต้องการจะปกปิดเรา
https://artplusmarketing.com
ภาษากาย เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราอ่านความคิดคน ได้อย่างเหลือเชื่อ!
.
งานวิจัยของ UCLA พบว่า ในการสื่อสารกันนั้น 7% แสดงจากสิ่งที่เราพูดออกมา
38% แสดงจากน้ำเสียงที่ใช้
และ 55% ที่เหลือมาจากภาษากาย !
การเรียนรู้และตีความส่วน 55% นี้เอง ที่จะช่วยเราได้อย่างมาก
นี่คือ 8 สิ่ง ที่เราสามารถสังเกตและใช้มันเป็นตัวช่วยให้เราเข้าใจคู่สนทนาได้ดีขึ้น
1 ท่าทางการกอดอกและการไขว้ขา เป็นสัญญาณแห่งการต่อต้าน
.
เวลาที่คุณพูดแล้วคู่สนทนาเริ่มกอดอก หรือไขว้ขา นั่นเป็นสัญญาณเริ่มต้นว่า พวกเขาไม่ค่อยจะเปิดรับต่อสิ่งที่คุณพูดเท่าไร แม้ว่าพวกเขาพยายามที่จะยิ้ม หรือสร้างการสนทนาที่ดีอยู่ก็ตาม
.
Gerard I. Nierenberg และ Henry H. Calero เคยบันทึกวิดีโอเทปการเจรจาต่อรองกว่า 2,000 ครั้ง เพื่อเขียนลงในหนังสือเกี่ยวกับการอ่านภาษากายของพวกเขา ปรากฏว่าเมื่อไรก็ตามที่มีการนั่งไขว้ขา การเจรจานั้นล้มเหลว หาข้อตกลงไม่ได้แม้แต่ครั้งเดียว
.
ในทางจิตวิทยานั้น การกอดอกหรือไขว้ขาเป็นสัญญาณของการที่คนเริ่มมีอารมณ์ความรู้สึก สภาวะทางกาย ที่ปิดกั้นจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของพวกเขา ซึ่งเป็นท่าทางที่สังเกตได้ง่ายมาก
https://nicolasfradet.com/smile-body-language/
2 ยิ้มที่จริงใจ ตาต้องไปด้วย!
.
เวลาคนพยายามจะฉีกยิ้ม คุณสามารถทำได้ด้วยการขยับปาก เพียงแต่ตาเรามักจะไม่สัมพันธ์กัน
การยิ้มที่จริงใจ คุณจะสังเกตได้เลยว่า ตาของเขาเหล่านั้น จะฉีกออก หรือเห็นตีนกานั่นเอง ถ้าคุณเห็นแค่รอยยิ้มจากการขยับปากเพียงอย่างเดียว นั่นแปลว่ารอยยิ้มนั้น ซ่อนอะไรบางอย่างอยู่!
3 การลอกเลียนภาษากายเป็นสิ่งที่ดี
.
เคยสังเกตไหมครับว่าบางครั้ง คู่สนทนาเราเปลี่ยนท่าทางคล้ายๆเรา เช่น ขยับขาจากนั่งไขว่ห้างออก เอียงศีรษะไปทิศทางเดียวกับเรา
.
พฤติกรรมเลียนแบบเหล่านี้ เป็นสัญญาณที่ดี ว่าคู่สนทนารู้สึกมีความผูกพันธ์ และการสนทนากำลังเป็นไปด้วยดี ซึ่งนั่นคือ โอกาสที่จะเจรจาสำเร็จกำลังมา!
4 ท่าทางสามารถบอกถึงคนคนนั้น
.
เราคงเคยรู้สึกหรือเห็นกันอยู่บ่อยๆ เวลามีใครบางคนที่เดินเข้ามาในห้อง หรือในที่ประชุม จะมีดูมีออร่าบางอย่าง ที่เรารู้สึกว่า คนคนนี้ไม่ธรรมดา เขาน่าจะเป็นผู้บรรยายเนี่ยแหละ แม้ว่าบางครั้งเราจะไม่ได้รู้จักเขามาก่อน
.
การเดินตัวตรงสง่า การยกมือฝ่ามือคว่ำลง หรือการอ้าแขน ผายมือออก ลักษณะเหล่านี้แสดงถึงพลังที่สมองคนเรารับรู้ได้
ในทางตรงข้ามการยืนห่อไหล่ หลังโค้ง จะทำให้รู้สึกเหมือนเราหมดพลัง
ไม่ว่าเราจะเป็นผู้นำหรือไม่ การมีท่าทางที่สง่าและทรงพลัง ก็สามารถช่วยให้เราได้รับความนับถือได้มากขึ้น
https://www.bbc.com/worklife/article/20180828-your-n-can-help-make-you-more-charismatic
5 แววตาที่กำลังโกหก
.
พวกเราคงเคยได้ยินกันตั้งแต่เด็กแล้วครับ ว่าพูดคุยกับใครให้สบสายตากัน และคนที่โกหกมักจะไม่กล้าสบตา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องจริงครับ เพียงแต่เรื่องนี้ใครๆก็รู้ เพราะฉะนั้นคนที่ตั้งใจจะโกหก หลายคนก็ใช้วิธีจ้องตา ไม่หลบสายตาได้ ข้อมูลของคนอเมริกัน พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วการสบสายตาที่ปกติครั้งหนึ่ง จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วินาที โดยที่ขณะฟังจะสบสายตานานกว่าขณะที่พูด
.
เวลาที่เราคุยกับใครแล้วรู้สึกว่าเขาจ้องตาเรานิ่งๆนานๆ แบบแทบไม่กระพริบตา ทำให้เราอึดอัด นั่นแสดงว่าเขาอาจกำลังปกปิดอะไรเราจากทางสายตาอยู่ก็ได้
1
6 การเลิกคิ้วเป็นสัญญาณของความรู้สึกอึดอัด
.
ปกติคนเรามักจะเลิกคิ้ว เวลารู้สึกเซอไพรส์ กังวล หรือกลัว เราลองดูก็ได้ครับ นั่งคุยสบายๆอยู่กัลเพื่อน อยู่ดีๆเราคงไม่เลิกคิ้วขึ้นมา จริงไหมครับ
.
ดังนั้นเวลาเราคุยกับใคร ถ้าเราไม่ได้พูดเรื่องที่จะทำให้เกิดความประหลาดใจ ความกังวล หรือความกลัว แล้วคู่สนทนาเลิกคิ้ว นั่นอาจจะบ่งบอกว่าเขากำลังอึดอัดใจกับอะไรบางอย่างอยู่
1
7 การพยักหน้าถี่ๆก็แสดงถึงความกังวลใจ
เวลาที่เราบอกอะไรบางอย่างกับใคร แล้วเขาพยักหน้าถี่ๆ มักจะเป็นการแสดงถึงความกังวลอย่างหนึ่งว่า เขากลัวว่าเราจะไม่เชื่อใจว่าเขาสามารถทำสิ่งนั้นๆได้
https://www.hypnosisdownloads.com/bad-habits/jaw-clenching
8 การกัดฟันกรามแสดงความตึงเครียด
.
การขมวดคิ้ว กัดฟันกรามแน่น เกร็งลำคอ ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณของความตึงเครียด ไม่ว่าคู่สนทนาเรากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ ท่าทางเหล่านี้แสดงถึงความไม่สบายใจของเขาได้ชัดเจน หรืออาจจะแสดงถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับเรื่องอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับการสนทนา (ในกรณีที่เขาใจลอยไปหาเรื่องอื่น) ซึ่งเราก็สังเกตได้จากความสัมพันธ์ของเรื่องที่สนทนากับท่าทางต่างๆเหล่านั้น หลายๆครั้งเราก็ดูคนใกล้ตัวออก ว่ามีเรื่องกำลังไม่สบายใจ แม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่คุยกันอยู่ ใช่ไหมครับ
และสุดท้าย..
แม้ว่าเราจะไม่สามารถอ่านความคิดของคู่สนทนาได้ดีทั้งหมด แต่การเรียนรู้ที่จะสังเกตท่าทางของพวกเขา โดยเฉพาะเมื่อท่าทางกับคำพูดดูไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราก็สามารถรับรู้สิ่งที่เขาสื่อได้เยอะขึ้นแล้วครับ
ที่มา เรียบเรียงจาก world economic forum :
ช่วงนี้งานค่อนข้างยุ่งอาจไม่ได้มาลงบทความบ่อยนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ :)
โฆษณา