19 ก.ย. 2019 เวลา 06:50 • การศึกษา
เล่าเรื่องดวงดาวผ่านภาพถ่ายดาราศาสตร์ ตอนที่ 1
นำภาพที่ถ่ายและประมวลผลข้อมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเล่าสู่กันฟัง โดยในตอนที่ 1 นี้จะเป็นภาพทางช้างเผือกในมุมกว้างและเส้นแสงดาวก่อนนะครับ
ภาพที่ 1
ทางช้างเผือกคู่แสงทไวไลต์เช้า ณ จุดชมวิว กม.41 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เวลา 05:30 น. กุมภาพันธ์ 2017
ข้อมูลการถ่ายภาพ
Camera : Fuji X-Pro1
Lens : Samyang 8 mm F2.8
Aperture : F2.8
Exposure : 30 Sec x 5 images
ISO : 2000
WB : 4250
Tracking : Off
Technic : PS median stacking
Photographer : Wirati keeratikanchai
ภาพที่ 2
ทางช้างเผือกเหนือพระมหาธาตุนภเมทนีดล-นภพลภูมิสิริ ในช่วงเวลา Golden Hour คือช่วงเวลาของทไวไลต์ทั่วไป เวลาประมาณ 05:30 น. มีนาคม 2016 อช.ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลการถ่ายภาพ
Camera : Nikon D7000
Lens : Tokina AF 11-16 F2.8
Aperture : F2.8
Exposure : 30 Sec
ISO : 2000
WB : 4250
Tracking : Off
Technic : 35 % Cropped to Vertical Ratio
Photographer : Wirati keeratikanchai
ภาพที่ 1-2 Milky way in morning twilight.
สำหรับนักถ่ายภาพดาราศาสตร์แล้วช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการถ่ายภาพแนวนี้คือทไวไลต์ทางดาราศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดเพราะฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงจากดวงจันทร์รบกวน แต่ในทางกลับกันสำหรับนักถ่ายภาพแลนด์สเคปให้ความสนใจการถ่ายภาพในช่วงทไวไลต์ทางสมุทรศาสตร์(ฟ้าบลู)และทไวไลต์ทั่วไป(ฟ้าสีแดง ส้ม ทอง) เป็นที่มาของภาพนี้ที่ได้ทั้งวัตถุท้องฟ้า(ทางช้างเผือก)มาคู่กันกับแสงทไวไลต์เช้า(แสงสีแดง ส้ม ชมพู ม่วง)
ภาพที่ 3
ทางช้างเผือก ณ สามพันโบก ต.เหล่างาม อ.โพธิ์ไทร อุบลราชธานี เวลา 02:00 น. มีนาคม 2018
ข้อมูลการถ่ายภาพ
Camera : Nikon D7000
Lens : Tokina AF 11-16 F2.8
Aperture : F2.8
Exposure : 25 Sec : 1 Foreground(3000 Bok), 4 Background(Stars)
ISO : 3200
WB : 4000
Tracking : Off
Technic : PS median Stacking
Photographer : Wirati keeratikanchai
ภาพที่ 4
แสงจักรราศีและทางช้างเผือกเหนือดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เวลา 05:15 น. กุมภาพันธ์ 2018
Camera : Canon 6D MKII
Lens : Canon EF 16-35 L-II F2.8
Aperture : F2.8
Exposure : 25 Secx 4 Images
ISO : 2000
WB : 4000
Tracking : Off
Technic : PS median Stacking
Photographer : Wirati keeratikanchai
เทคนิคการถ่ายภาพทางช้างเผือก
อุปกรณ์
-กล้อง DSLR/Mirrorless/Smartphone
-เลนส์สว่าง
เลนส์มุมกว้างตั้งแต่ 12-24 มม.
เลนส์นอร์มอลหรือเทเลโฟโต้(กรณีต้องการถ่ายภาพเจาะเฉพาะวัตถุฯ จำเป็นต้องใช้มอเตอร์ตามดาว Star tracker )
-ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงมั่นคง
-มอเตอร์ตามดาว(มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร)
-สายลั่นชัตเตอร์(มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร)
วิธีการ
-วางแผนการถ่ายภาพที่ต้องการ เช่นต้องการถ่ายภาพทางช้างเผือกต้องรู้เวลาและทิศทางการขึ้น-ตกของทางช้างเผือก รวมทั้งปัจจัยรบกวนเช่น สภาพอากาศ ดวงจันทร์ แสงไฟจากเมืองหรือมลภาวะ เราสามารถใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆในการนี้ เช่น Starchart, Skyguide, Sky Safari ใช้ดูตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า Windy, Weather forecast, timeanddate, Moon ใช้ดูสภาพอากาศ ดวงจันทร์ขึ้นตกและปัจจัยรบกวนอื่นๆ
-ตั้งค่ากล้องดังนี้
ISO สูง 1600-6400 ตามสภาพอากาศฟ้ามืดใสใช้ ISO ต่ำ
WB Auto/หรือ 3800-4500
Raw file 14 bits ถ่ายภาพเป็นไฟล์ Raws ความละเอียดสูงสุด
Color profile Adobe RGB ใช้ชุดสีกว้างที่สุด ไม่ใช้ sRGB
Exposure 15-25 วินาที
Multiple shots ถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นชุดๆละ 5-10 ภาพเพื่อมารวมสัญญาณและลด noise
Noise reduction : off ปิดการลดน๊อยส์ กรณีถ่ายหลายภาพ
-เลนส์
ปรับ AF เป็น MF ใช้โฟกัสแมนนวลปิดออโตโฟกัส
โฟกัสอินฟินิตี้ โฟกัสที่ดวงดาวสว่างที่สุด
ปรับ Aperture กว้างถึงกว้างที่สุดขึ้นอยู่กับคุณภาพเลนส์
IS / OS : off ปิดระบบกันสั่น
โพรเซสภาพเพิ่มเติมด้วยการรวมสัญญาณภาพ(Image Stacking) ผ่าน Adobe Photoshop หรือ Graphic Editor อื่นๆ ปรับแต่งเพื่อเพิ่มรายละเอียดและสีสันโดยอ้างอิงความถูกต้องทางดาราศาสตร์ประกอบด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้จาก Starry Night Lover Club : ชมรมคนรักในดวงดาวมีทั้งเพจและกลุ่มครับ
กระทู้เก่าที่เคยเขียนไว้ในพันทิป
ภาพที่ 3-4
ความน่าสนใจของการถ่ายภาพในแนวนี้คือการเล่าเรื่องราว ผ่านฉากหน้าควบคู่ไปกับวัตถุท้องฟ้าที่สวยงามอย่างทางช้างเผือก เส้นแสงดาว หรือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ภาพถ่ายไม่เพียงแต่สร้างความจรรโลงใจแต่ยังบอกเล่าเรื่องราวทางสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การก่อแรงกระเพื่อมสู่การอนุรักษ์ต่อไป
ภาพที่ 5
เส้นแสงดาวกับเส้นแสงรถไฟ ณ สะพานทาชมภู อ.แม่ทา จ.ลำพูน เวลา 01:00-02:30 น. เดือนมีนาคม 2016
Camera : Nikon D7000
Lens : Tokina AF 11-16 mm F2.8 Aperture : F2.8
Exposure : 25 Sec x 100 Images
ISO : 2000
WB : 4000
Tracking : Off
Technic : PS Stacking/Star Stack software
Photographer : Wirati keeratikanchai
ภาพที่ 6
เส้นแสงดาวเหนือวัดพระพุทธบาทสุทธาวาส(วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดงหรือวัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์) อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เวลา 00:00-02:30 น. เดือนธันวาคม 2016
Camera : Nikon D7000
Lens : Tokina AF 11-16 mm F2.8 Aperture : F2.8
Exposure : 25 Sec x 250 Images
ISO : 2000
WB : 4000
Tracking : Off
Technic : PS Stacking/Star Stack software
Photographer : Wirati keeratikanchai
เส้นแสงดาว หรือ Startrails เป็นการถ่ายภาพดวงดาวและฉากหน้าอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ แล้วรวมภาพทั้งหมดเป็นภาพเดียว เส้นแสงที่เกิดขึ้นนั้นคือจุดของดาวดาวและวัตถุท้องฟ้าที่เคลื่อนที่โดยมีจุดหมุนอยู่ที่ขั้วฟ้าเหนือ/ใต้(North-South Celestial Pole) เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองจึงเห็นดวงดาวที่อยู่ไกลออกไปขยับเคลื่อนที่ ผลจากการรวมภาพจึงเกิดเป็นภาพเส้นแสงดาว หรือ Startrails นั่นเอง
เคล็ดลับของการถ่ายภาพเส้นแสงดาวอยู่ที่การมองหาฉากหน้าที่สอดคล้องและเล่าเรื่องราวนั่นเอง
ภาพที่ 7
เส้นแสงดาวเหนือพระมหาธาตุนภเมทนีดล-นภพลภูมิสิริ กองทัพอากาศ อช.ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เวลา 02:00-03:30 น. เดือนมีนาคม 2016
Camera : Nikon D7000
Lens : Tokina AF 11-16 mm F2.8 Aperture : F2.8
Exposure : 25 Sec x 200 Images
ISO : 2000
WB : 4000
Tracking : Off
Technic : PS Stacking/Star Stack software
Photographer : Wirati keeratikanchai
ภาพที่ 8
สมาธิ ศีล สู่ปัญญา ณ วัดดอยสัพพัญญู อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เวลา 19:00 น. เดือนเมษายน 2017
Camera : Fuji X-Pro1
Lens : Samyang 8 mm MF F2.8
Aperture : F2.8
Exposure : 25 Sec x 80 Images
ISO : 2000
WB : 4250
Tracking : Off
Technic : PS Stacking/Star Stack software
Photographer : Wirati keeratikanchai
เทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว Startrails
วิธีการถ่ายภาพและโพรเซสง่ายมากครับ แต่สำคัญคือการเลือกฉากหน้าและการเล่าเรื่องราว ที่เราควรคิดและวางแผนก่อนถ่ายภาพไว้ก่อน นอกจากนี้การเล็งตำแหน่งไปที่ขั้วฟ้าเหนือและใต้จะได้ภาพเส้นแสงดาวหมุนเป็นวงกลมรอบขั้วฟ้า ในขณะที่เล็งตำแหน่งไปทิศตะวันออกหรือตะวันตกจะได้เส้นแสงดาวพุ่งสู่ขั้วฟ้าเหนือและใต้
ลักษณะเส้นแสงดาวเมื่อเล็งกล้องไปในทิศต่างๆ เมื่อถ่ายภาพจากบริเวณเส้นศูนย์สูตร Credit : Photopills
ลักษณะเส้นแสงดาวเมื่อเล็งกล้องไปในทิศต่างๆ เมื่อถ่ายภาพจากบริเวณละติจูดที่สูงกว่าเส้นศูนย์สูตร Credit : Photopills
ลักษณะเส้นแสงดาวเมื่อเล็งกล้องไปในทิศต่างๆ เมื่อถ่ายภาพจากบริเวณละติจูดที่ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร Credit : Photopills
อุปกรณ์
-กล้อง DSLR/Mirrorless/Smartphone
-เลนส์สว่าง
เลนส์มุมกว้างตั้งแต่ 12-24 มม.
-ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงมั่นคง
-สายลั่นชัตเตอร์(มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร กล้องรุ่นใหม่มี Interval+timer ในตัว)
-ตั้งค่ากล้องดังนี้
ISO สูง 400-3200 ตามสภาพอากาศฟ้ามืดใสใช้ ISO ต่ำ
WB Auto/หรือ 3800-4500
Raw file 14 bits ถ่ายภาพเป็นไฟล์ Raws ความละเอียดสูงสุด
Color profile Adobe RGB ใช้ชุดสีกว้างที่สุด ไม่ใช้ sRGB
Exposure 15-25 วินาที
Multiple shots ถ่ายภาพต่อเนื่องจำนวนมากตั้งแต่ 100-400 ภาพเพื่อมารวมสัญญาณ
เมื่อถ่ายภาพเส้นแสงดาวเสร็จ ให้ปิดหน้ากล้องด้วยฝาปิดเลนส์ ใช้ Setting เดิม ถ่ายภาพต่อเนื่องไปอีก 20-30 ภาพ เราเรียกการถ่ายแบบว่าว่าการถ่าย Dark Frame นำไฟล์ภาพเหล่านี้ไปใช้ลด Noise ต่อไป
Noise reduction : off ปิดการลดน๊อยส์
-เลนส์
ปรับ AF > MF ใช้โฟกัสแมนนวลปิดออโตโฟกัส
โฟกัสอินฟินิตี้ โฟกัสที่ดวงดาวสว่างที่สุด
ปรับ Aperture กว้างถึงกว้างที่สุดขึ้นอยู่กับคุณภาพเลนส์
IS / OS : off ปิดระบบกันสั่น
กรณีเล็งกล้องไปที่ขั้วฟ้าเหนือ-ใต้ จะสังเกตเห็นว่ายิ่งเราขึ้นไปยังละติจูดสูงขึ้นเท่าไหร่ ขั้วฟ้าก็จะสูงขึ้นไปด้วย นั่นหมายความว่าเส้นแสงดาวที่ถ่ายจาพต่างละติจูด ย่อมมีวงกลมของเส้นแสงที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการเดินทางลงสู่ซีกฟ้าใต้ ขั้วฟ้าใต้ก็จะสูงขึ้นจากขอบฟ้าเช่นกัน
การรวมภาพ/โพรเซส
-นำภาพทั้งหมดปรับแต่งขั้นพื้นฐาน export> jpg หรือ tiff
-นำเข้าสู่ Adobe Photoshop หรือ โปรแกรม Startrails หรือ Star Stack
-ปรับ Blending mode> Lighten
-ปรับแต่งสีสันเพิ่มเติมตามต้องการโดยอิงข้อมูลที่ถูกต้องทางดาราศาสตร์ร่วมด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้จาก Starry Night Lover Club : ชมรมคนรักในดวงดาวมีทั้งเพจและกลุ่มครับ https://www.facebook.com/starrynightloverclub/
กระทู้เก่าที่เคยเขียนไว้ในพันทิป
ภาพถ่ายดาราศาสตร์บอกเล่าเรื่องราวทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สภาพสิ่งแวดล้อม เป็นปริศนา เป็นความน่าสนใจเป็นโจทย์ยากนำไปสู่การพัฒนาตนเองและประเทศได้ ในแง่ความสวยงามนั้นสร้างความจรรโลงใจ ความสุนทรีย์ที่ได้รับทำให้โลกของผู้รับชมงดงาม นอกจากนี้ภาพถ่ายยังทำให้เราตระหนักรู้ รักษ์และหวงแหนโลกใบนี้ให้มีสุขภาพดี ยั่งยืนต่อไป
ท่ามกลางดวงดาว อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง เชียงใหม่ เวลา 02:00-03:00 น. เดือนพฤศจิกายน 2015
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ มีประโยชน์กดติดตามได้ครับ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการติดตามอ่านครับ พบกันใหม่ตอนที่ 2 และ 3 เร็วๆนี้ครับ
โฆษณา