19 ก.ย. 2019 เวลา 14:17 • ความคิดเห็น
ในปีที่ผ่านมา ลิตเติล มอนสเตอร์ มีรายได้ 38.41 ล้านบาท กำไร 14.55 ล้านบาท จาก บริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ จำกัด และ บริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด
.
เติบโตจากปี 2560 ที่มีรายได้เพียง 15.44 ล้านบาท กำไร 4.07 ล้านบาท อย่างก้าวกระโดด
---
รายได้ของบริษัท บริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ จำกัด
2559 1.89 ล้านบาท กำไร 3.13 แสนบาท
2560 15.44 ล้านบาท กำไร 4.07 ล้านบาท
2561 33.04 ล้านบาท กำไร 14.55 ล้านบาท
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รายได้จากบริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ จำกัด
---
รายได้ของลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด
2561 5.37 ล้านบาท กำไร 3.40 ล้านบาท
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด
---
ทั้งๆ ที่จุดเริ่มต้นของลิตเตอร์ มอนสเตอร์ เกิดจาก แม่ตุ๊ก นิรัตน์ชญา การุณวงศ์วัฒน์ ที่ใช้เฟซบุ๊ก Little Monster เป็นช่องทางระบายความอึดอัดของตัวเองในฐานะคุณแม่มือใหม่ที่ประสบกับปัญหาทางอารมณ์ในการเลี้ยงน้องจิน ซึ่งเป็นลูกสาวคนแรก จนกลายเป็นสภาวะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ผ่านภาพกราฟิกและวลีสั้นๆ ที่พูดถึงและแอบบ่นในวีรกรรมของลูก และความรู้สึกนึกคิดของตัวเองในการเป็นคุณแม่มือใหม่ โดนใจคุณแม่มือใหม่ และมือเก๋าหลายคน
.
โดยกราฟิกของ Little Monster ที่เป็นตัวการ์ตูนสีเขียวในรูป profile เป็นฝีมือการออกแบบของพ่อเหว่ง ภูศณัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์ อดีตครีเอทีฟ มาร์เก็ตติ้ง และโปรดิวเซอร์ ของภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง 9 ศาสตรา
และแม่ตุ๊กได้นำตัวการ์ตูนสีเขียวมาต่อยอดในสไตล์ของเธอ จนเป็นผลงานออกมาให้เห็นจำนวนมากมาย
.
เพราะวลี และกราฟิกที่นำเสนอผ่าน Little Monster เป็นสิ่งที่โดนใจคุณแม่ยุคใหม่ และเป็นการนำเสนอในรูปแบบที่มีความน่าสนใจจากความน่ารักและแตกต่างจากเพจเลี้ยงลูกอื่นๆ ทำให้ เพจ Little Monster ถูกพูดถึง และแชร์ต่อกันในโลกโซเชียล
.
จนเพจ Little Monster ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว พร้อมฐานแฟนคลับจำนวนมาก ที่แม่ตุ๊กและพ่อเหว่งร่วมกันสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับผ่านการอ่านคอมเมนต์และพูดคุยกับแฟนคลับอยู่เสมอ
.
และแม่ตุ๊กได้กลายเป็นวิทยากรและแขกรับเชิญในงานแม่และเด็กไม่หลากหลายรายการ ไม่ว่างเว้น รวมถึงการที่มีสปอนเซอร์เข้ามาซื้อ Advertorial ให้ Little Monster เป็นผู้แนะนำ
.
การที่เพจ Little Monster และแม่ตุ๊ก มีผู้ที่สนใจ และรู้จักมากขึ้น แทนที่จะหยุดที่เฟซบุ๊กเพจ แต่แม่ตุ๊กได้ต่อยอดธุรกิจ Little Monster ด้วยการเปลี่ยนตัวเองจาก Content ที่เป็นกราฟิก ด้วยการนำ VDO Content มาผสมผสาน
VDO Content ที่สร้างการพูดถึงให้กับ Little Monster คือ คลิปวิดีโอที่แม่ตุ๊กสอนให้น้องจินเป็นเด็ก 2 ภาษา ด้วยการสอนและพูดคุยกับน้องจินเป็นภาษาอังกฤษ ในสถานที่ต่างๆ
รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวของครอบครัว Little Monster ผ่านกิจกรรมต่างๆ ผ่าน VDO Content
ซึ่งการนำเสนอเรื่องราวกิจกรรมของครอบครัวนี้เอง พ่อเหว่งได้มองเห็นว่าในการนำเสนอ VDO Content ยังไม่ค่อยมีใครนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพ่อเล่นกับลูกมากนัก เขาจึงเรื่องเหล่านี้เป็นจุดขายในการสร้างความแตกต่างอีกจุดหนึ่ง
.
และการเปลี่ยนตัวเองในการนำเสนอ Content ในรูปแบบวิดีโอยังทำให้ Little Monster มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามมา จาก Advertorial และ เปอร์เซ็นรายได้ที่ได้รับจาก Youtube อีกทางหนึ่ง ในวันที่ Youtube ยังคงมีการแบ่งรายได้ให้กับรายการเด็ก
ปัจจุบันเฟซบุ๊ก Little Monster มีผู้ตามเกือบ 3 ล้านคน
และมีช่องใน Youtube 3 ช่องด้วยกันได้แก่
Little Monster Family ผู้ตาม 502K
Little Monster Kid เป็นช่องรายการเด็ก 2 ภาษา มีผู้ตาม 41.5K โดย Little Monster Kid เป็นรายการเอนิเมชั่นเด็กที่พ่อเหว่งและแม่ตุ๊กต้องการที่จะเป็นสื่อการเรียนรู้พัฒนาเด็ก 2 ภาษา ตอบแทนให้กับผู้สนับสนุนครอบครัวของ Little Monster เสมอมา
และ Little Monster Song เพลงเด็กๆ ที่มีภาพประกอบเป็นเอนิเมชั่น มีผู้ตาม 10K
---
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ทั้งคู่ต้องผ่าฟันปัญหาและอุปสรรค์ และล้มลุกคลุกคลานมาพอสมควร เพราะการเริ่มต้นของธุรกิจแต่ละธุรกิจ ใช่ว่าจะสวยงามอย่างผลลัพธ์ที่เห็นเสมอไป
พ่อเหว่งเล่าให้ฟังว่า 6 ปีของ Little Monster เขาเคยผ่านความยากลำบากมาก่อน ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ที่มาพร้อมทีมงาน 20 ชีวิตที่เป็นพนักงานประจำ
.
แต่ไม่ใช่ว่าจบแค่นั้นเพราะในอนาคตพ่อเหว่งและแม่ตุ๊กจะช่วยกันขับเคลื่อน Little Monster ให้กลายเป็นแบรนด์ที่มีคาเรคเตอร์ชัดเจน เพื่อต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต
เหว่งและแม่ตุ๊ก จึงได้เปิดบริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด เพื่อรองรับการเติบโตนี้ โดยลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด จะเป็นบริษัทลูกที่เข้ามารองรับงานโปรดักชั่นของลิตเติลมอนสเตอร์ ทั้งหมด
.
ปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกของบริษัท ลิตเติลมอนสเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด และมีรายได้ 5.37 ล้านบาท กำไร 3.40 ล้านบาท
-
นอกจากนี้ธุรกิจ Little Monster แล้วพ่อเหว่ง และแม่ตุ๊กยังมีการต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นๆ ด้วยการ จับมือกับเพื่อนๆ เปิดธุรกิจอื่นๆ อย่าง พ่อเหว่ง จับมือกับเพื่อนๆ ทำรายการ เทพลีลา ในเฟซบุ๊กและยูทูป ส่วนแม่ตุ๊กได้จับมือกับเพื่อนๆ เปิดแบรนด์อาหารสำหรับเด็กที่ชื่อว่า Little Munchy ก่อนที่จะรีแบรนด์เป็น Happy Munchy ในปัจจุบัน
ที่มา : Marketeer
โฆษณา