21 ก.ย. 2019 เวลา 02:00 • กีฬา
New Zealand All Blacks HAKA Dance ! รู้หรือไม่ว่ามีเพลงที่ใช้เต้น Haka อยู่หลายแบบ !!
วันนี้”เล่า”ยังอยู่กับกระแส Rugby World Cup 2019 เหมือนเดิมครับ โดยวันนี้จะเป็นเรื่องราวของทีมดังที่จะลงแข่งในช่วงเย็นวันเสาร์นี้อย่าง New Zealand All Blacks !!
(ไหนใครเชียร์ All Blacks ปีนี้ขอเสียงหน่อยครับ 5555555)
เรื่องที่อยาก”เล่า”ในวันนี้คือเกร็ดความรู้สั้นๆเกี่ยวกับการเต้น HAKA Dance ที่จะต้องเต้นก่อนการแข่งขันในทุกๆแมตช์จนกลายเป็นธรรมเนียมของทีมชาติ New Zealand มากว่า 100 ปี แล้ว
โดยเราจะพาทุกคนย้อนไปดูต้นกำเนิดของการเต้นนี้ รวมไปถึงความหมายคร่าวๆของเนื้อเพลงที่ร้องกันในภาษา Mauri ด้วยครับ
การเต้น Haka นั้นเป็นการเต้นปลุกใจก่อนออกรบของชนเผ่า Māori มาตั้งแต่สมัยโบราณ รวมถึงยังใช้ในงานประเพณีต่างๆของชนเผ่า
จุดประสงค์ของการเต้น Haka นั้นคือการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ (pride), ความแข็งแกร่ง (strength) และ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity) ของชนเผ่า
ตลอดการเต้นนั้นจะมีท่าทางต่างๆประกอบเพื่อแสดงถึง 3 อย่างที่กล่าวไป เช่น การกระทืบเท้า, ใช้มือตีร่างกายให้เป็นจังหวะโดยพร้อมเพรียง และ แลบลิ้นข่มขู่
ในปัจจุบันนี้การเต้น Haka ก็ยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตลอดทั้งของชาวเผ่า Māuri หรือแม้กระทั่งชาวนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากชนเผ่าก็ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้งในประเพณีต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่งานวันเกิด หรืองานแต่งงานด้วยครับ
แต่ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการเต้นของทีม All Blacks ก่อนลงแข่งขันรักบี้ทุกๆนัดจนกลายเป็นข้อยกเว้นไปแล้วล่ะครับว่าจะต้องเผื่อเวลาในการเต้นไว้ล่วงหน้า
รวมไปถึงจะมีกล้องถ่ายการเต้นนี้แบบโคลสอัพ ถ้าใครที่อยากเห็นการเต้นตอนนี้เลยผมแนะนำให้ดูสองอันนี้ก่อน
อันแรก แบบ Kama Te : https://youtu.be/ujnXeL5zC1M
อันที่สอง แบบ Kapa O Pango : https://youtu.be/I3gbneDt-S4
ส่วนใครที่อยากดูของจริงรอติดตามสดได้วันเสาร์นี้เวลา 16.45 เลย All Blacks จะลงแข่งนัดแรก นัดสำคัญกับ South Africa ถือเป็นบิ๊กแมตช์ที่ค่าตั๋วเข้าชมแทบจะแพงที่สุดในรอบแบ่งกลุ่มเลยครับ
ที่ให้ดูสองอันเพราะเป็นการเต้นคนละแบบกัน โดยทางทีม All Blacks จะมีการใช้แบบ Kama Te เป็นหลัก แต่ในช่วงหลังๆตั้งแต่ปี 2005 ก็เริ่มมีการเต้นแบบ Kapa o Pango (คำนี้แปลว่า All Blacks ตรงๆเลยครับ) สอดแทรกมาอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งตลอดการเต้นนั้นก็จะมีการร้องเพลงเป็นภาษา Māuri ไปด้วยตลอดเวลา โดยความหมายของทั้ง 2 เพลงคร่าวๆจะเป็นประมาณนี้ครับ
Kama Te : เนื้อหาของเพลงนี้จะเป็นการสั่งลูกทีม ให้ตบมือ กระทืบเท้าให้แรงที่สุด และตอนท้ายจะคล้ายๆกับการอัญเชิญพระอาทิตย์เพื่อให้สาดแสง(แห่งชัยชนะ อันนี้ผมเติมเอง)ลงมา
Kapa o Pango : เพลงใหม่นี้จะเป็นเพลงที่แต่งมาเพื่อทีมรักบี้โดยเฉพาะครับ เนื้อหาจะเป็นการปลุกใจชาว All Blacks ว่า
นี่คือสนามของเรา ดินแดนของเรา
นี่คือเวลาของเรา ช่วงเวลาของเรา
ความเหนือชั้นของเราจะทำให้เราชนะ
และเราจะไปอยู่บนจุดสูงสุด
ก่อนที่จะตะโกนคำว่า Ponga rā แปลว่าเฟิร์นสีเงิน สัญลักษณ์บนอกเสื้อของทีม All Blacks
และคำว่า Kapa O Pango ซึ่งแปลว่า All Blacks ! สลับกันสองคำนั่นเองครับ
ส่วนตัวผมชอบเพลง Kapa O Pango มากกว่านะครับ ดูทรงพลังและทรงความหมายกว่า แต่เราอาจจะไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ เนื้อเพลง Kama Te นั้นจะคุ้นหูกว่าเยอะ
คุ้นจนขนาดที่ว่าจะให้อ่านคำว่า Kama Te Kama Te โดยไม่มีทำนองนี่ยากมากๆ 😂😂
ก็มาลุ้นกันว่า Rugby World Cup ในปีนี้ทางทีมชาติ New Zealand จะเลือกเอาเพลงไหนมาใช้กันบ้าง
สำหรับเรื่องของ Haka ก็จบไว้เพียงเท่านี้ครับ สำหรับใครที่สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ไปได้ตามลิ้งค์เครดิตที่ผมแนบมาด้านล่างเลย
ในโพสต่อๆไปก็จะนำเรื่องน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้และเล่มอื่นๆ รวมไปถึงเกร็ดความรู้ต่างๆ มาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ สนใจก็กดติดตามเพจ “เล่า” ไว้เพื่อที่จะไม่พลาดเนื้อหาดีๆในอนาคตครับ
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่าน blockdit ได้ที่
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้
#Allblacks #Newzealand #rwc2019 #haka #hakadance
โฆษณา