24 ก.ย. 2019 เวลา 14:35 • ความคิดเห็น
ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า "ฮิคกี้"
เป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ไม่ใช่ โรค (Syndrome)
อย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยเป็นคำอธิบายถึงพฤติกรรมของเด็กที่แยกตัวออกมาจากสังคม พยายามพบเจอผู้คนให้น้อยที่สุด
อาการของ ฮิคิโคโมริ
คนที่เป็นฮิคิโคโมริ มักจะเก็บตัวในห้องส่วนตัว
หรือในบ้านเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ยอมไปโรงเรียน
ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็อาจจะอ่านหนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต
ดูทีวี หรืออาจจะนั่งเฉย ๆ อยู่ในห้องคนเดียวได้เป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี ๆ
สาเหตุของฮิคิโคโมริ
จิตแพทย์ญี่ปุ่นมองว่า ฮิคิโคโมริ
เกิดขึ้นได้เฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
เนื่องจากญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาที่ต้องเคี่ยวเข็ญเด็กอย่างหนัก
ดังนั้นการสอบแข่งขันในแต่ละครั้งเด็ก ๆ จึงได้รับความกดดันสูงมาก
แม้กระทั่งในวัฒนธรรมการทำงานที่คนญี่ปุ่น
ล้วนต้องทำงานหนักตลอดชีวิตเช่นกัน
จึงเหมือนว่าหากทำพลาดเพียงครั้งเดียว
ก็ทำให้รู้สึกหมดหวังในชีวิตได้ คนกลุ่มนี้จึงรู้สึกกลัว
จะถอยออกมาอยู่คนเดียว
สาเหตุของฮิคิโคโมริ
จิตแพทย์ญี่ปุ่นมองว่า ฮิคิโคโมริ
เกิดขึ้นได้เฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
เนื่องจากญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาที่ต้องเคี่ยวเข็ญเด็กอย่างหนัก
ดังนั้นการสอบแข่งขันในแต่ละครั้งเด็ก ๆ จึงได้รับความกดดันสูงมาก
แม้กระทั่งในวัฒนธรรมการทำงานที่คนญี่ปุ่น
ล้วนต้องทำงานหนักตลอดชีวิตเช่นกัน
จึงเหมือนว่าหากทำพลาดเพียงครั้งเดียว
ก็ทำให้รู้สึกหมดหวังในชีวิตได้ คนกลุ่มนี้จึงรู้สึกกลัว
จะถอยออกมาอยู่คนเดียว
ทางจิตวิทยา ฮิคิโคโมริ มีลักษณะเด่นคือการ "หนี" (avoidance)
คำว่าหนีไม่เหมือนเพิกเฉย (denial)
หรือชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ (schizoid)
แต่การหนีหมายถึงที่จริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
แต่ด้วยปัจจัยบางอย่าง ทำให้คนกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างจำกัดมาก ๆ
เช่น อยู่กับเพื่อนได้ไม่นาน หรืออยู่ได้แต่กับเพื่อนบางคนที่เข้าใจ
คนที่ไม่เข้าใจจะมองว่า คนที่เป็น ฮิคิโคโมริ
อยากอยู่คนเดียวจึงถอยหนีออกมา
สุดท้ายคิดว่าอยากทำอะไรก็ให้ทำไป
จึงเหมือนว่าคนกลุ่ม ฮิคิโคโมริ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
การเยียวยาฮิคิโคโมริ
แพทย์มองว่า ฮิคิโคโมริ ไม่ใช่โรค ดังนั้นการบำบัดอาการ
ฮิคิโคโมริ สามารถทำโดยการนำตัวคนที่เป็น ฮิคิโคโมริ
มารวมกลุ่มกัน แล้วใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อไม่ให้คนกลุ่ม ฮิคิโคโมริ ถูกตัดขาดจากสังคมมากจนเกินไป
แต่หากคนที่มองว่า ฮิคิโคโมริ เป็นโรค แพทย์ก็ต้องมุ่งวินิจฉัย
หาสาเหตุว่าแท้จริงแล้วป่วยเป็นโรคทางจิตประเภทใด
เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia),
โรคซึมเศร้า (Major Depression),
โรคกลัวที่โล่ง (Agoraphobia),
โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder)
หรือแม้กระทั่งเป็นบุคคลออทิสติก (Autistic)
เมื่อวินิจฉัยแล้วก็จ่ายยา หรือทำจิตบำบัดเฉพาะโรคไปตามการวินิจฉัยนั้น
สุดท้ายนี้ โรคฮิคิโคโมรินั้น ยังไม่ถูกพบในประเทศไทย
ถึงจะมีกลุ่มคนที่มีอาการฮิคิโคโมริอยู่บ้างแต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด
ดังนั้นการเก็บตัวไม่ใช้เรื่องแปลกในยุคปัจจับัน
ที่สภาวะแวดล้อมของสัมคมไม่ได้เอื้อต่อการพูดคุยมากนัก
แต่ในปัจจุบัน มีช่องทางในการติดต่อกับกลุ่มคนที่มีความชื่นชอบ
ในสิ่งเดียวกันเพื่อแลปเปลี่ยนพูดคุย ในเรื่องเดียวกันได้
การเก็บตัวในบางครั้งที่มีปํญหา ไม่ใช้เรื่องผิด
ที่บางครั้งต้องการเวลาส่วนตัวเพื่อพักกายใจ
แต่การหลีกหนีความจริงจากสังคมจะทำให้ต้องหนีต่อไปเรื่อยๆ
อย่างไม่จบสิ้น
ขอขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
ขอให้ทุกท่านมีความสุข แล้วมีสังคมเล็กๆที่อบอุ่นนะคะ
โฆษณา