26 ก.ย. 2019 เวลา 02:01 • ธุรกิจ
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างงาน 📝📋
สืบเนื่องมาจากคอมเม้นในโพสของคุณแว่น เรื่อง "ถ้าวันหนึ่งตกงาน คุณจะทำอะไรกันต่อ" ที่ลงไว้วันก่อนค่ะ...
🏢 ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี หลายบริษัทที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เหล่าผู้ว่าจ้างต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ
ซึ่งหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาคือ การ-เลิก-จ้าง
หรือเรียกง่ายๆว่า ❕ไล่ออก❗
💸💸💸
...ด้วยเหตุนี้...
คุณลูกจ้างคะ....
คุณนายจ้างคะ....
❓คุณสนใจกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับเลิกจ้างไหม ❔
ถ้าสนใจ เลื่อนลงมาอ่านต่อค่ะ
.
.
.
.
.
.
ถ้านายจ้างของเราจะไม่จ้างเราทำงานอีกต่อไป เราอาจมีสิทธิ์ได้รับ "เงินล่วงหน้า" หรือเรียกอีกอย่างว่า "ค่าชดเชย"
คำถาม : ค่าชดเชยคืออะไร?
💵 ค่าชดเชย คือ เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด
📍 กฎหมายแรงงาน 'มาตรา 118'
ค่าชดเชยนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานที่ลูกจ้างได้ทำงานให้กับบริษัท แบ่งได้ 5 ขั้น
1. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 เดือน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน
2. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับเงินเดือน 3 เดือน
3. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ เงินเดือน 6 เดือน
4. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับเงินเดือน 8 เดือน
5. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับเงินเดือน 10 เดือน
📍 ถ้าเหตุผลของการเลิกจ้างมาจากการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีอะไรก็ตามมาทำงานแทนคน 😱😱
1. นายจ้างต้องแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานรู้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ 2 เดือน
2. ถ้าไม่แจ้งหรือแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 2 เดือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แก่ลูกจ้างเท่ากับเงินเดือน 2 เดือน (ถ้าเงินปกติที่ลูกจ้างได้รับนับจากจำนวนผลงาน ให้คิดว่าในเวลา 2 เดือน ลูกจ้างทำผลงานได้เท่าไร)
แต่.....
ยังไม่หมดเท่านั้นค่ะ
นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษอีกส่วนหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ โดยค่าชดเชยพิเศษนี้ต้องไม่น้อยกว่าเงินเดือนครึ่งเดือนต่อการทำงานครบ 1 ปี
2. ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่มากเท่าเงินเดือน 12 เดือน
3. ในการคิดค่าชดเชยพิเศษนี้ ถ้าทำงานเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน ให้นับเป็นการทำงานครบ 1 ปี
📍 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ทำให้มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว 👪
1. นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างรู้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างจะไม่ย้ายตามไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม 'มาตรา 118'
2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน
📍 ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย ❌
1. ลูกจ้างลาออกเอง
2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (เช่น ขโมยของ)
3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ไม่ขัดกับกฎหมายและมีความเป็นธรรม และนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนแก่ลูกจ้างแล้ว
เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร (กรณีนี้คือขาดงานโดยไม่มีการส่งใบลาหรือแจ้งให้นายจ้างทราบนะคะ)
7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
8. กรณีที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
✏ การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของธุรกิจของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
✏ งานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราว มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
✏ งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
อ่านกันมาซะยาว พยายามย่อ+แปลงภาษาให้เข้าใจง่ายขึ้น(รึเปล่า?)
ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาให้จับผิดหรืออะไรนะคะ แค่อยากให้ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างรู้เท่าทันกฎหมาย และไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันค่ะ
Cr.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
โฆษณา