27 ก.ย. 2019 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
STEP 1 สู่การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ เริ่มต้นที่ "ตอนนี้มีอะไรอยู่?" การสรุปกรมธรรม์ช่วยคุณได้‼
🌟การสรุปและทบทวนกรมธรรม์🌟 จะทำให้รู้ว่า เราทำอะไรไว้❓ มีความคุ้มครองอะไรอยู่บ้าง❓ และความคุ้มครองหรือผลประโยชน์ต่างๆ สอดคล้องกับเป้าหมายการเงินที่ต้องการในปัจจุบันหรือไม่❓
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เราจะวางแผนเพื่อการเกษียณ👵👴 สิ่งที่เราต้องการจากการทำประกันนั้นไม่ใช่แค่💰 "เงินออมยามเกษียณที่แน่นอน" แต่รวมถึง 🤕"ความคุ้มครองสุขภาพยามเจ็บป่วย" บางคนก็มองไปถึง 👨‍👩‍👧‍👧"การส่งต่อมรดก"ให้ลูกหลานอีกด้วย
ดังนั้นเราต้องมาดูสิ่งที่มี👇 ว่ามีเพียงพอหรือไม่❓ ตอบโจทย์รึป่าว❓เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ เมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบของกรมธรรม์และความคุ้มครองต่างๆ ก็มีความแตกต่างจากในอดีตเป็นอย่างมาก⚠️ เช่น มีประกันแบบใหม่ๆ ออกมา (เช่น ประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์) มีค่าห้องและค่ารักษาแบบเหมาจ่าย ที่มีวงเงินความคุ้มครองที่สูงขึ้น และมีความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมระยะไม่ลุกลาม (ระยะต้นและปานกลาง) ซึ่งในอดีตอาจจะไม่มี‼
การทบทวนกรมธรรม์จะทำให้สามารถบริหารจัดการกรมธรรม์ของเราได้ เพราะหากพบว่าทำประกันไว้มากเกินไป อาจจะพิจารณาหยุดจ่ายเบี้ย🤚บางกรมธรรม์เพื่อลดภาระ หรือหากทำน้อยเกินไป ก็จะได้พิจารณาทำเพิ่ม🤝ในส่วนที่ขาดได้
🤓วันนี้แอดเลยเอาตัวอย่างตารางสรุปกรมธรรม์มาให้ทำตามกันด้วยจ้า
🌟สิ่งที่เราควรมีในตารางคือ
1. วันที่ทำสัญญา/อนุมัติกรมธรรม์
2. วันครบสัญญา
3.วันครบกำหนดชำระเบี้ย (ใช้ทำตาราง cash flow ได้)
4. แบบประกัน ทั้งชื่อแบบ และเงื่อนไขคร่าวๆ ไว้สืบค้นได้ในอนาคต
5. ทุนประกันชีวิต (ผู้รับผลประโยชน์ได้รับเมื่อเราเสียชีวิต) ช่องนี้จะมีมากน้อยอยู่ที่จุดประสงค์ ว่าจะใช้คุ้มครองหนี้สิน/ การศึกษาบุตร/ ค่าใช้จ่ายครอบครัวเมื่อขาดรายได้จากเรา (ถ้าประกันสะสมทรัพย์ก็หมายถึงเงินคืนเมื่อครบกำหนดอีกด้วย)
6. ความคุ้มครองค่ารักษา ค่าชดเชย กรณีต่างๆ
ทั้งทุพพลภาพ สุขภาพ อุบัติเหตุ ควรให้เพียงพอตามระดับบริการที่ต้องการใช้ (รพ.เอกชนเกรดต่างๆ) และความเสี่ยงที่มี เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่? ลักษณะงานมีความเสี่ยงสูงหรือป่าว?
7.ค่าเบี้ยต่อปี (ถ้าทำ cash flow ต้องใส่อัตราเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันสุขภาพด้วย)
8. เงินคืนรายงวดและเงินคืนครบกำหนด (สามารถนำใส่ในตาราง cash flow ได้)
9. มูลค่าเงินสด ณ ขณะนั้น เพื่อใช้พิจารณากรณีที่ต้องการเวรคืนกรมธรรม์ (สามารถเลือกขยายระยะเวลา หรือถอนเงินบางส่วนได้ในกรณีที่เป็นประกัน Unit linked)
10. และที่สำคัญคือวัตถุประสงค์ของกรมธรรม์ เพื่อช่วยทบทวนว่ากรมธรรม์ฉบับนี้ยังตอบโจทย์อยู่หรือไม่?
แอดทำใส่ในไฟล์ excel และรีวืวทุกๆปีค่ะ
ปลายปีใครกำลังคิดว่าจะซื้อประกันเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ ก็ลองทบทวนกรมธรรม์และความต้องการของตัวเองร่วมด้วยนะคะ 🤗 หวังว่าจะเป็นประโยชน์จ้า
By:PangOra🥰
ชอบกด like 🤟 มีประโยชน์กด share👉 เป็นกำลังใจกด follow นะคะ 😍
โฆษณา