Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2019 เวลา 12:37 • การศึกษา
ความรักคืออะไร ?
ลองมานิยามความรักในแบบวิทยาศาสตร์ดูหน่อยไหมละครับ
😳😳😳
หลายๆคนอาจจะมองว่า ความรักเป็นเรื่องของใจ ไม่ใช่เหตุและผล แต่ถ้าเรางลองมาคิดกันตามหลักเหตุผลละ ความรักคืออะไร
ความรักนั้นเกิดจาก สารเคมีชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromones)
ซึ่งฟีโรโมน นั้นเป็นสารเคมีที่ใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่างๆอีกหลายชนิด
ฟีโรโมนนั้นไม่มีกลิ่น จึงไม่สามารถสัมผัสได้จากการสูดดม แต่สามารถรับรู้ได้จากสมอง ซึ่งคนที่จะรับรู้ฟิโรโมนของเราได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มี ฟิโลโมนที่ตรงกับเรา
เคมีมันต้องตรงกัน สินะ💙
โดยที่เราสามารถแบ่ง ความรัก ออกได้เป็น 3 ระดับ คือ ความใคร่ความเสน่หา และความผูกพัน
1
1️⃣ความใคร่
คือช่วงเวลที่เกิดแรงขับในพฤติกรรมทางเพศ เกิดความหลงใหลและความใคร่ เป็นความร็สึกระหว่างคนสองคน
1
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ฟีโรโมนระหว่างคนสองคนนั้น ไปกระตุ้นร่างกายของเราฮอร์โมนที่ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง และฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในเพศชาย ส่งผลทำให้รู้สึก ใจ้เต้นแรง เขินอายเวลามองตา หรือว่าจับมือ
2️⃣ความเสน่หา
หรือเราอาจจะเรียกว่า ช่วงเวลาที่เราตกหลุมรักใครสักคน ส่งผลไปยังชีวิตประจำวันของเราที่เปลี่ยนไป โดยอาการเหล่านี้เกิดจาก การควบคุมของสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) มีด้วยกันทั้งหมด 3 ชนิดคือ โดพามีน ฮอร์โมนเอพิเนฟรีน และ เซโรโทนิน
1
โดพามีน (Dopamine)
เป็นสารที่หลังออกมา เมื่อร่างกายของเราได้รับกับความสุขความสมหวัง
ฮอร์โมนเอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin)
เป็นฮอร์โมนที่ทำให้หัวใจของเราเต้นแรง หน้าแดง เมื่อเจอกับคนที่เรารัก
และสุดท้ายคือ เซโรโทนิน (Serotonin)
เป็นสารชีวเคมีที่มีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์การตกหลุมรัก ความเศร้า เหงา เซโรโทนินนั้น ยังส่งผลไปถึงการที่เราทำพฤติกรรมแปลกๆเวลาเขินอีกด้วย
3️⃣ความผูกพัน
เป็นช่วงที่ร่างกายถูกควบคุมโดย ฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ออกซีโทซิน และ วาโซเพรสซิน
2
โดยที่ ออกซีโทซิน (Oxytocin) นั้นจะส่งผลทำให้เรารู้สึกอุ่นใจ สบายใจ เวลาที่เราได้ สัมผสั สวมกอด ใกล้ชิดกับคนที่เรารัก
ส่วน ฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (Vasopressin) นั้น จะหลั่งออกมาหลังจากที่คู่รักเกิดเพศสัมพันธ์กัน ส่งผลทำให้รู้สึกผูกพันธุ์กันมากขึ้น มีความหึงหวง
นี่เป็นเพียงปัจจัยภายในร่างกายที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในเรื่องของความรักเท่านั้น ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรายังมีปัจจัยภายนอกอีกมากมายที่สงผลต่อความมรักของคนสองคน
ความรักของทุกคนเป็นอย่างไรกันบ้างครับ ลองมาพูดคุยแบ่งปันกันได้ที่ช่องคอมเม้นด้านล่างนะครับ
วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 28/09/2562
ขอบคุณบทความต้นฉบับ
http://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowless-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/3481-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81.html
31 บันทึก
61
5
26
31
61
5
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย