30 ก.ย. 2019 เวลา 01:30 • ปรัชญา
10 ข้อต้องทำถ้าคุณอยากมีอิสรภาพทางการเงิน(1)
อิสรภาพทาการเงิน
อิสรภาพทางการเงิน สำหรับผมถ้าให้นิยามคำนี้ ผมคงไม่ได้หมายความว่าเราต้องรวย
เป็นเศรษฐี มีบ้านหลังใหญ่ รถหรู ใช้จ่ายซื้อของสารพัด หรือมีธุรกิจพันล้าน ที่ดินเป็นแสนๆไร่
แต่ผมจะนิยามมันว่าเป็นสภาพทางการเงินที่หายห่วง ไร้กังวลว่าเดือนนี้จะมีเงินใช้ไหม
ค่าเทอมลูกจะมีไหม ถ้าเข้าโรงพยาบาลจะมีจ่ายไหม หรือถ้าอยากไปเที่ยวที่ไหน จะมีเงินไปหรือเปล่า
ผมเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงินคือสิ่งที่ทุกๆคนอยากมี แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้
บางคนก็ติดปัญหาเรื่องหนี้สิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องรายได้ที่ไม่พอรายจ่าย ปัญหาเรื่องความไม่รู้
สารพัดปัญหาและอุปสรรคที่คอยขัดขวางเราให้ออกห่างจากอิสรภาพทางการเงิน หรือว่าจริงๆแล้วเป็นเพราะความคิดของเราเองหรือเปล่าที่คอยขัดขวางเราจากอิสรภาพทางการเงิน
10 ข้อต้องทำต่อไปนี้ ผมจะแยกเป็น 5 ตอนเพื่อที่จะได้ไม่ยาวจนเกินไป วิธีเหล่านี้ผมรวบรวมมจากการอ่าน ประสบการณ์ และการฟังจากคนที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน รวบรวมมาได้เป็นวิธีการดังต่อไปนี้
https://static.wixstatic.com
1.วางเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน เป็นข้อที่สำคัญที่สุด สำหรับการเริ่มต้นสู้อิสรภาพทางการเงิน เพราะจะทำให้เรารู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ และเมื่อดำเนินการไปแล้วก็จะบอกได้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหนของความสำเร็จ
การวางเป้าหมายของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางคนต้องการมีบ้าน ที่ไม่ได้หรูหรามาก แต่อยู่อาศัยกันทั้งครอบครัวได้อย่างสะดวกสบาย มีรายได้ต่อเดือนที่มั่นคง ไปเที่ยวต่างประเทศบ้าง อย่างน้อยปีละครั้ง
บางคนวางแผนไว้ว่าอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง มีรายได้ที่ขึ้นอยู่กับการทำงาน มีเงินส่งเสียลูกหลานให้เรียนสูงๆ เก็บทรัพย์สินมรดกไว้ให้ลูกหลาน หรือถ้าวางเป้าหมายแบบสูงๆไปเลย ก็หวังจะมีเงินสักพันล้าน มีบ้านหลังใหญ่โตหรูหรา มีรถแพงๆขับ มีกิจการที่ใหญ่โต
เป้าหมายคร่าวๆที่กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างของเป้าหมายที่สมมุติขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ เพราะถ้าเราตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไปเกินกว่าความสามารถ
เป้าหมายนั้นก็คงเป็นจริงไม่ได้และจะทำให้เราไม่มีความสุขในชีวิต
ผมจึงแนะนำว่าให้วางเป้าหมายที่จะทำให้เรามีความสุข ไม่เกินความสามารถ ไม่เร่งรีบจนเกินไป เพราะถ้าเราไม่ค่อยเป็นค่อยไป บางทีอาจจะตกหลุมพลางทางการเงิน เป็นหนี้สินจากการลงทุน หรือกลับไปสู่สถานะทางการเงินที่แย่กว่าเดิมก็เป็นได้
ตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน
2.วางแผนการเงินวัยเกษียณ ข้อนี้จะคล้ายกับข้อแรก แต่จะเจาะลึกไปทางตัวเลข ที่ชัดเจนตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับข้อที่หนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เราควรจะมีได้ก่อนถึงวัยเกษียณ
และข้อนี้ควรเริ่มในช่วงที่เป็น First jobber หรือเมื่อเริ่มทำงานแรกๆก็ควรวางแผนเกษียณไว้ได้แล้ว
-เริ่มจากการรู้เป้าหมายว่าชีวิตขอเราจะเกษียณเมื่อไหร่ คำว่าเกษียณในนิยามของผม ไม่ใช่การหยุดทำงานแล้วอยู่บ้านเฉยๆ แต่เป็นช่วงที่เราจะไม่ทำงานหนักหรือทำงานเหมือนอย่างที่ผ่านมา กลับมาใช้ชีวิตอย่างอิสระ อาจจะมีทำงานบ้างเล็กๆน้อย จะเป็นอายุ 60 หรือ 40 ก็แล้วแต่เป้าหมายของแต่ละบุคคล ในที่นี้ผมจะสมมุติว่าเกษียณอายุ 60 ปี
-ต่อมาคือการคาดการว่าช่วงชีวิตตั้งแต่เริ่มเกษียณของเรานั้นจะมีระยะเวลาเท่าไหร่ พูดง่ายๆคือ เราจะหมดอายุขัยเมื่อไหร่ เป็นข้อที่น่าเศร้าแต่ในความเป็นจริงแล้ว เราก็คนก็ต้องตายกันทั้งนั้น การวางแผนอย่างคร่าวๆก็จะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเราจะต้องใช้เงินหลังเกษียณเท่าไหร่ ในที่น้ีผมสมมุติว่าเรามีอายุขัยที่ 80 ปี
-สุดท้ายคือ วางแผนว่าในแต่ละเดือนหลังเกษียณ เราจะใช้เงินต่อเดือนเท่าไหร่ บางคนอาจจะ 30,000 บาท บางคนอาจจะ 50,000 บาท ต่อเดือน ครอบคลุมค่าใช้จ่ายค่ากิน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และค่าอื่นๆแล้วแต่บุคคล ในที่นี้ผมให้เป็น 40,000 บาท
คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่ต้องมีเพื่อใช้ชีวิตอีก 20 ปี เดือนละ 40,000 บาท
คือ 9,600,000 บาท เป็นเงินที่สามารถทำให้เราใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณได้อย่างสบายหายห่วง ยิ่งเราวางแผนและลงมือหาเงินก้อนนี้ได้ไวเท่าไหร่ ชีวิตหลังเกษียณของเราก็หายห่วงเรื่องเงินๆทองๆไปได้ ไม่ต้องกังวลว่าลูกหลานจะพึ่งพาได้ไหม จะถูกพาไปบ้านพักคนชราไหม หมดกังวลไปได้เลย
ติดตามอ่านตอนต่อไปนะครับ อิสรภาพทางการเงินรอทุกท่านอยู่....
โฆษณา