จากรูปตัวอย่าง เมื่อการนักลงทุนมองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน พฤติกรรม การซื้อขายจะถูกผลักดันไปด้วยความโลภ จนไปถึงระดับหนึ่งจะเกิดแรงเฉื่อยขึ้น ( จุดที่ผมขีดด้านบน)
.
.
.
ราคานั้นก็จะวิ่งขึ้นไปอยู่แต่เริ่มช้าลงจนไปสู่จุดสูงสุด แล้วก็เริ่มมีแรงขายที่มากขึ้นตามมาครับ
.
.
จุดในส่วนโค้งด้านบนนั้น จะมีแรงเฉื่อยอยู่ทั้งฝั่งซื้อและขาย สลับแรงซื้อและแรงขาย มักเป็นรูปแบบsideway (ลังเล) ไปสักระยะหนึ่ง
.
.
จนเมื่อแรงขายได้ผ่านจุดแรงเฉื่อยลงมานั้น ก็จะมีแรงขายมหาศาลต่อเนื่องแล้วรวดเร็ว จะเรียกว่า crash หุ้นถล่มลงมาก็ได้ครับ
.
.
ขณะที่หุ้นพยายามปรับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงนั้นเพื่อเข้าสู่ จุดดุลยภาพ (จากในรูปเราจะเห็นว่าเข้าใกล้ 0 เรื่อยๆ )
.
.
เมื่อถึงจุด 0 แล้วทำไม มันถึงลงต่อนั้น เป็นเรื่องของอารมณ์ ชนะเหตุผล เราจะเห็นได้จากนักวิเคราะห์ทางปัจจัยทางพื้นฐานมักประสบบ่อยๆ คือ ซื้อแล้วลงต่อ ทั้งๆที่คำนวณมาแล้ว ว่าเป็นราคา under value แล้ว แต่ก็ยังไหลอยู่
.
.
ผมต้องขอยกคำพูด ของ เซอร์ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ ผู้คิดทฤษฎีแรงโน้มถ่วงโลกที่ กล่าวไว้ว่า
.
.
"ข้าพเจ้าสามารถคำนวณแม้การเคลื่อนไหวของดวงดาว แต่มิอาจคำนวณอารมณ์ของมวลชน"
.
.
อารมณ์ ที่เกิดจากความกลัวที่อยู่เหนือเหตุผล ทำให้ราคาได้ถูกแรงขายต่อเนื่องลงมา
.
.
จนกระทั้ง ( ถึงจุดที่ขีดด้านล่างในรูป ) จะเกิดแรงเฉื่อยราคายังคงทำจุดต่ำสุดใหม่ (เจอจุดต่ำสุดของรอบ boom) แต่เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ก็จะเกิดเป็นช่วง sideway (มีทั้งซื้อขายสลับกันไปมา)
.
.
จนกระทั้งผ่านจุดแรงเฉื่อยขึ้นมาได้ แรงซื้อกับจำนวนวอลุ่มมหาศาล ก็ผลักดันให้เกิดเป็นแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้งครับ
.
.