ค่าเงินบาทแข็งตัวมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คุณคิด
ไม่ว่าใครก็คงเห็นเป็นเสียงพ้องต้องกัน
กับค่าเงินบาทไทยที่ต้องถือได้ว่า
ณ ตอนนี้เป็นสกุลเงินที่มีความแข็งค่าอย่างมาก
ติดอันดับต้นๆของโลกกันเลยทีเดียวครับ
ขนาดค่าเงินสากลที่นิยมใช้กันทั่วไป
อย่างค่าสกุลเงินดอลลาร์ก็ยังถือเป็นสกุลเงินที่
อ่อนค่ากว่าเงินบาทไทยกันเลยครับ ณ ตอนนี้
โดยหนึ่งเหตุผลว่าทำไมถึงดอลลาร์อ่อนค่ากว่า
ก็คือการที่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
นั่นเอง
โดยแน่นอนละครับว่าการที่ค่าเงินบาท
แข็งค่าขึ้นย่อมมีทั้งผลดีและผลเสียต่อ
การใช้ชีวิตประจำวันและการทำธุรกิจซึ่ง
ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
เอาละครับวันนี้ Business Mind จะมา
เล่าให้ฟังกันครับว่าแท้ที่จริงแล้วค่าเงินบาทแข็งค่า
มันคืออะไรกันแน่และส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร
โดยเรามาดูความหมายกันก่อนครับว่าจริงๆแล้ว
เป็นการที่เราเอา 2 สกุลเงินมาเปรียบเทียบกันแล้ว
สกุลเงินหนึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าอีกสกุลเงินหนึ่ง
ซึ่งมีช่วงเวลาการปรับขึ้นลงของค่าเงิน
อัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้อง
1
โดยเรามักเอาค่าเงินที่ต้องการรู้มาเปรียบเทียบ
กับ 2 สกุลเงินนี้อย่าง ดอลลาร์ ( Dollar )และ ยูโร ( Euro )
ที่มักถูกนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมากที่สุด
และการที่ค่าเงินแข็งตัวนั้นล้วนมีสาเหตุมาจากการที่มี
ความต้องการมีมากกว่าจำนวนสกุลเงินนั้นๆ
( Demand >Supply ) ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็ง-อ่อน
ของค่าเงินนั้น ยกตัวอย่างเช่น
▪️ เกินดุลการค้า ( ส่งออกมากกว่านำเข้า )
▪️ ความเชื่อมั่น
▪️ การเติบโตของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
▪️ ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบื้อในและนอกประเทศ
 
แล้วมาดูกันครับว่า
ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบในแง่
ข้อดี-ข้อเสียอย่างไรกับใครบ้างโดยเรามาเริ่มดูกัน
ที่กลุ่มของคนได้รับประโยชน์กันก่อนครับ
▪️ ผู้นำเข้าและผู้ลงทุน ( จากต่างประเทศมายังไทย )
สินค้านำเข้าจะถูกลงและช่วยลดราคาต้นทุนได้
▪️ ประชาชน
สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้มากขึ้น
ในจำนวนเงินบาทเท่าเดิม
เพื่อซื้อมาเกร็งกำไรรวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายจากสินค้าหรือ
การท่องเที่ยว
▪️ ผู้ที่เป็นหนี้ระหว่างประเทศ
กรณีใช้สกุลเงินต่างประเทศในการชำระหนี้แทน
ค่าเงินบาทที่มูลค่าเพิ่มขึ้นจะใช้จำนวนเงินบาท
น้อยลง
 
และในแง่ของผู้ที่เสียประโยชน์คือ
▪️ ผู้ส่งออก
▪️ คนทำงานต่างประเทศ
▪️ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ
เนื่องจากการนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาทไทยได้จำนวนน้อยลง
แล้วมาลองดูกันครับว่าเหตุผลเพราะอะไรทำไมถึงเกิดข้อแตกต่าง
ระหว่าง 2 คนกลุ่มใหญ่นี้กันจากตัวอย่าง
สมมติเหตุการณ์ครับ ระหว่างค่าเงินบาทและดอลลาร์
A) 1 เดือนก่อน: 33 ฿ = 1 $
B) ปัจจุบัน ( ค่าเงินบาทแข็ง ) : 31 ฿ = 1 $
◾️ ผู้ได้รับประโยชน์
▪️ ไทยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
สามารถซื้อสินค้าได้ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยราคาที่
ถูกลงกับจำนวนเงินต้นทุนเท่าเดิม
▪️ ประชาชน ( ในประเทศที่ค่าเงินแข็งค่า )
- การท่องเที่ยวต่างประเทศ
( จำนวนเงินบาทไทยที่ใช้แลกเท่าเดิม )
ยกตัวอย่าง
ต้องการแลกเงินบาทจำนวน 30,000 บาทเป็นสกุลเงินดอลลาร์
A) 30,000 บาท = 909.1 ดอลลาร์
B) 30,000 บาท = 967.75 ดอลลาร์
จะสังเกตได้ว่าเมื่อค่าเงินแข็งจะสามารถแลกสกุลเงิน
เพิ่มขึ้นถึง 58.65$ = 1,818.15฿
◾️ ผู้เสียประโยชน์
สำหรับกรณีที่ต่างประเทศนำเข้าสินค้าจากไทย
เช่น นำเข้าข้าวสารไทย
ผู้ส่งออกข้าวสารจะขายได้กำไรเท่าไหร่
- ไทยส่งออกสินค้า
A) ตปท.นำเข้าข้าวสารในมูลค่า 100,000$ = 3,300,000 บาท
B) ตปท.นำเข้าข้าวสารในมูลค่า 100,000$ = 3,100,000 บาท
นั้นหมายความว่ารายได้ที่ผู้ส่งออกควรได้จะน้อยลงจาก
ยอดปรกติมากถึง 200,000 บาท
- ประเทศที่นำเข้าสินค้าจากไทย
เมื่อเงินบาทแข็งค่าจะส่งผลให้สินค้าไทยมีมูลค่าสูงขึ้น
ทำให้คนต่างชาตินำเข้าสินค้าจากไทยได้น้อยลงด้วย
เงินต้นทุนเท่าเดิมแล้วจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างมาดูกันครับ
ยกตัวอย่างเช่น
▪️ ผู้นำเข้าต่างชาติจะหันไปซื้อสินค้าชนิดเดียวกัน
จากประเทศอื่นแทนด้วยราคาที่ถูกกว่า
▪️ ถ้าปริมาณการส่งออกสินค้าเริ่มมีปัญหาซึ่ง
อาจส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศ
ยกตัวอย่าง: ข้าวสารกระสอบละ 1650 บาท ( ราคาสมมติ )
A) งบประมาณ 50,000$ = 1,650,000 บาท
ข้าวสารกระสอบละ 1,650 บาท = 1000 กระสอบ
B) งบประมาณ 50,000$ = 1,550,000 บาท
ข้าวสารกระสอบละ 1,650 บาท = 939 กระสอบ
จะเห็นได้ว่าปริมาณข้าวกระสอบที่ซื้อได้ลดลงถึง 61 กระสอบ
 
จากตัวอย่างก็พอจะเห็นภาพกันละนะครับ
ว่าทำไมถึงมีข้อดีและข้อเสีย
ทั้งบุคคลทั่วไปจนกระทั่งถึงธุรกิจขนาดใหญ่
โดยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจกัน
1
โฆษณา