3 ต.ค. 2019 เวลา 10:30
ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก (Triangular Theory of Love)
คำว่ารักมีได้หลายความหมายในหลายสถานการณ์ ทฤษฎีนี้เป็นของ Robert J. Sternberg ที่ช่วยนการจำแนกความรักในรูปแบบต่างๆไว้นั่นเอง ผมปรารถนาว่าบทความนี้จะทำให้ท่านรู้จักความรักได้ดีขึ้นครับ
Robert J. Sternberg
The Triangular Theory of Love
ความใกล้ชิด (Intimacy)
หมายถึงความรู้สึกของความรัก ความผูกพัน รวมถึงความรู้สึกที่เกิดจากภายใน ที่นำไปสู่ประสบการณ์ของความอบอุ่นในความสัมพันธ์
ความหลงไหล (Passion)
หมายถึงสิ่งที่นำไปสู่ความโรแมนติก ความน่าดึงดูดจากรูปลักษณ์ภายนอก เป็นแหล่งที่มาของความเร้าอารมณ์ที่สามารถนำไปสู่ความรักความสัมพันธ์
การผูกมัด (Decision/Commitment)
หมายถึงการวางแผนการคบหากัน ทำบางสิ่งร่วมกันโดยที่ไม่มีความรู้สึกรักเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือสามารถคบหากันได้โดยที่ไม่มีความรู้สึกรักชอบ
ผมขออธิบายรูปแบบของความรู้สึกและความสัมพันธ์ในแบบต่างๆด้านล่างต่อไปนี้นะครับ
ชอบ (Liking)
ความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันกัน ความรักที่มีมิตรภาพที่ดี แต่ไม่ใช่ในฐานะคู่รัก
รักแรกพบ (Infatuated Love)
รักที่เกิดจากความลุ่มหลง ในที่นี่จากลักษณะภายนอก อาจรวมถึงความรู้สึกที่โยงไปสู่ความรู้สึกทางเพศ
รักที่ว่างเปล่า (Empty Love)
ความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนข้อผูกมัด พันธะสัญญา หรือการร่วมงานกัน ที่ให้ต่อกันไว้ มักพบในคู่ที่คบกันมานาน แม้จะไม่มีความรู้สึกต่อกัน
โรแมนติก (Romantic Love)
ความรักที่เกิดจากความใกล้ชิดสนิทสนม และเกิดความรักชอบพอกัน แต่ได้มองถึงอนาคตของความสัมพันธ์
มิตรรัก (Companionate Love)
ความรักที่เกิดจากความผูกพัน การรวมหัวจมท้ายในภารกิจที่มีร่วมกัน ไม่มีความรู้สึกทางเพศมาเกี่ยวข้อง เพียงแต่มีความรักต่อกันฉันมิตรสหาย
ความฉาบฉวย (Fatuous Love)
สาเหตุที่ผมใช้คำนี้ว่าฉาบฉวย เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความหลงไหลในรูปกายของผุ้ที่ร่วมงานกันเท่านั้น พุ่งเน้นไปที่การดึงดูดทางเพศเสียมากกว่า
รักใจอุดมคติ (Consummate Love)
ความรักที่มีทุกสิ่งที่ชีวิตเราคนนึงจะต้องการได้ ความรักที่เกิดจากภายใน ภายนอก และการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนชีวิตต่อไป จึงจะบังเกิดเป็นความรักที่สมบูรณ์แบบจนเหมือนรักในอุดมคตินั่นเอง
ทฤษฎีนี้สอนให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหน และเรากำลังขาดสิ่งใดไปเพื่อให้เกิดความรักในรูปแบบที่เราต้องการ
ด้วยรักและกำลังใจจากนักเขียน
โฆษณา