2 ต.ค. 2019 เวลา 04:24
ออกแบบให้โดน..ด้วยหลักจิตวิทยา # 3
มาถึงตอนสุดท้ายที่เลือกมาจากหนังสือ “100 เคล็ดลับจิตวิทยาสำหรับคนที่อยากออกแบบให้เข้าถึงใจคน” แล้วนะคะ สำหรับบทความตอนนี้ น่าสนใจตรงที่ เค้าบอกว่า “อันตราย อาหาร เซ็กซ์ การเคลื่อนไหว ใบหน้าคน และเรื่องเล่า สามารถดึงความสนใจของคนเราได้มากที่สุด”
จริงหรือที่ “อันตราย อาหาร เซ็กซ์” ทำให้คนสนใจได้ เคยเจอเหตุการณ์นี้ไหมคะ ทำไมการจราจรถึงชะลอตัวเวลาคนขับรถผ่านจุดที่เกิดอุบัติเหตุ? คุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบบ่นเวลาเห็นคนอื่นสนใจเรื่องสยดสยอง แต่ก็อดชำเลืองมองไม่ได้ ตอนขับรถผ่านใช่ไหมคะ?
ที่มา : consumerthai.org
นั่นแหละ มันเกิดจากสมองส่วนโอลด์เบรน (old brain) บอกให้คุณ “สนใจมัน” ซึ่งสมองส่วนนี้เกิดและพัฒนามากับมนุษย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ทำงานเกี่ยวข้องสัญชาตญาณการเอาตัวรอด มันมีหน้าที่สอดส่องสิ่งรอบตัวอยู่ตลอด เพื่อหาคำตอบว่า “สิ่งนี้ฉันกินได้ไหม ฉันมีเซ็กซ์กับมันได้ไหม มันจะฆ่าฉันหรือเปล่า” ทั้งหมดล้วนเป็นคำถามพื้นฐานที่สุดของสิ่งมีชีวิต ถ้าเราไม่มีอาหาร เราก็จะตาย ถ้าไม่มีเซ็กซ์ เราจะไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ หรือ ถ้าเราถูกฆ่า คำถามสองข้อแรกก็หมดความหมายทันที และเมื่อมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการ ความสามารถด้านอื่นๆ เช่น อารมณ์ หรือ การคิดอย่างเป็นเหตุผล ก็จะถูกพัฒนาขึ้นให้คนเรามีความรู้สึก อารมณ์ที่หลากหลาย มีความคิดซับซ้อน
ที่มา : ท่องทั่วไทย.com
อย่างไรก็ตาม ภาพอาหาร เซ็กซ์ หรืออันตราย ก็ไม่สามารถถูกนำมาใช้ในทุกการออกแบบได้ ยังมีสิ่งอื่นๆที่สามารถดึงความสนใจคนเราได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเคลื่อนไหว เช่น วีดีโอ ภาพกระพริบ, ภาพใบหน้าคน โดยเฉพาะเมื่อคนในภาพมองตรงมาที่คุณ, เรื่องเล่า (การสร้าง story telling) รวมทั้ง เสียงดัง เหล่านี้ สามารถเลือกนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการออกแบบของคุณได้คะ
จริงๆ หนังสือเล่มนี้ยังมีหลายบท ทั้งที่เกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการออกแบบเว็บหรือแอพพลิเคชั่น การคิดโปรโมชั่น รวมทั้งการทำความเข้าใจจิตวิทยาคนเวลาที่เราทำวิจัยหรือแบบสอบถามกับพวกเขา ซึ่งอ่านเข้าใจได้ไม่ยากเลย สามารถเลือกอ่านเฉพาะบทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของคุณได้คะ
ถ้าชื่นชอบบทความนี้ ช่วยกดไลค์ให้ด้วยนะคะ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนต่อไป น้อมรับทุกคอมเม้นท์และทุกคำแนะนำ ขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่านมากคะ
A Glass Half Full
2/10/19
โฆษณา