2 ต.ค. 2019 เวลา 13:11 • ธุรกิจ
อมตะฯ ดันให้เกิดกลยุทธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
1
“วิบูลย์ กรมดิษฐ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ถึงแนวทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัท ก่อนที่จะมีการอัพเดทแผนงานและสรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ให้แก่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) วันที่ 14 พ.ย. นี้
ระยะยาวขายที่ดินทำนิคมต่อไปไม่ได้
เพราะอนาคตการขายที่ดินเพื่อทำนิคมอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย และไม่รู้ว่าจะหมดลงเมื่อไร แต่บริษัทได้ตั้งเป้าว่าจะมีสัดส่วนที่ช่วยสร้างรายได้ที่แน่นอน เช่น จากการทำสาธารณูปโภค (ประปา/ไฟฟ้า) การให้เช่าที่ดินหรือคลังสินค้า เป็น 80% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่กลับทิศจากเมื่อก่อนมากที่รายได้ส่วนดังกล่าวเคยมีแต่ 20 % และรายได้จากการขายที่ดิน 80% แต่โดยรวมปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากที่ดินและสาธารณูปโภคเฉลี่ยที่ 50% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวจะมีความผันผวนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไปปกติ เช่น มีสถานการณ์ทางการเมือง ก็จะขายที่ดินได้น้อยลง
ชูเป็นระดับภูมิภาค&เกิดกลยุทธ์ระหว่างกันมากที่สุด
ตอนนี้ AMATA นอกจากจะมองการเติบโตจากการขยายงานเป็นระดับภูมิภาคเป็นหลักแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็มีพื้นที่สร้างนิคมอุตสาหกรรมที่เวียดนา ที่ลองถั่น รวมกว่า 1,000 เฮกเตอร์ และมีที่ดินพร้อมขายอยู่ที่ 66 เฮกเตอร์ ส่วนที่ฮาลองภาคเหนือของเวียดนาม เฟสแรก ที่จะพัฒนามีพื้นที่กว่า 700 เฮกเตอร์ ซึ่งหากมีการย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม บริษัทมีที่ดินที่พร้อมรองรับ ขณะที่ สปป.ลาว แผนการจัดตั้งเมืองอัจฉริยะและนิคมอุตสาหกรรมคาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ภายใน 2 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม หลังตั้งบริษัทย่อย 4 อมตะ ซิตี้ ลาว ส่วนที่เมียนมายังไม่มีความคืบหน้า
สิ่งที่พยายามให้เกิดขึ้น ทำให้เกิด ‘กลยุทธ์’ ระหว่างพันธมิตรหรือพาร์ทเนอร์ที่ต่างๆ อย่างน้อยที่จะต้องทำให้เกิดความร่วมมือที่เราจะพึ่งพา Know How จากเขาได้ โดยเฉพาะทำให้เกิดการลด ‘ต้นทุนต่อหน่วย (Unit Costs)’ ที่ลดลง เพราะเชื่อว่าการที่ลูกค้าจะตัดสินใจลงทุนซื้อที่หรือทำให้เกิดการผลิตในพื้นที่นิคมฯ ที่ไหน เขาก็ต้องคำนึงหลายปัจจัยเช่นกัน ไม่ใช่เพียงแต่ต้นทุนเพียงทางด้านแรงงานเท่านั้น ต้องอย่าลืมว่ามีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ ต้นทุนที่คงที่ (Overhead Costs) อื่นๆ ซึ่งก็ไม่ได้อยากให้ไทยต้องมาแข่งขันกันที่ต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า เพราะมันจะทำให้เราแข่งขันด้านอื่นๆ ไม่ได้
1
ล่าสุด วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา บอร์ดอนุมัติให้มีการเข้าร่วมลงทุนตั้งบริษัทร่วมทุน Indo-China Consultancy กับบริษัท Surbana Jurong Infrastructure ที่สิงคโปร์ ในไตรมาส 4 นี้ โดยการประกอบธุรกิจคือ การให้คำปรึกษาทางวิศวกรรมแก่โครงการต่างๆ ของกลุ่มอมตะ โดย AMATA ถือ 45% และ Jurong ถือ 55% ซึ่งถือเป็นการลุยทำธุรกิจนี้ครั้งแรกของ AMATA เลย หลังจากที่ผ่านมาเราถือว่าละเลยไป ทั้งๆ ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างโอกาสให้บริษัทมาก
“สิ่งที่ AMATA จะตัดสินใจร่วมทุนเป็นพาร์ทเนอร์หรือร่วมลงทุนนั้น ต้องมีโนฮาว จะต้องช่วยลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ และมีราคาที่ดีได้ รวมถึงให้เกิดกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกที่จะลทุนในพื้นที่ไหนของ AMATA ได้ ตอนนี้จะเห็นชัดเจนที่พอเกิดสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐก็เลือกลงทุนที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับเวียดนาม ซึ่งเป็นข้อดีของอมตะที่มีนิคมฯ รองรับไว้ 2 ประเทศ”
ดึงดูดต่างชาติทั้งลงทุนโดยตรงหรือซื้อหุ้น
เมื่อเลือกเป็นระดับภูมิภาคก็ต้องพยายามให้เป็นที่รู้จักของนักลงทุน ทั้งประเภทนักลงทุนที่พร้อมให้เกิดการลงทุนโดยตรงและนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้นใน AMATA มากขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบัน ซึ่งปัจจุบันก็มีการนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ทุกด้านในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เพราะไปครั้งหนึ่งต้องทำใหhเกิดผลหลายอย่าง
เบรกขายอมตะฯ ซิตี้ รับกระทบกำไร
“วิบูลย์” ยืนยันว่า ตอนนี้ชะลอการขายที่ดินในนิคมฯ ที่ชลบุรีไว้ก่อน เนื่องจากต้องการรักษาให้เป็นเจ้าของพื้นที่ (Landlord) ขนาดใหญ่เอาไว้ และเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาที่ดินเป็นรูปแบบการเช่า หรือทำให้เกิดการผลักดันรายได้ประจำให้เติบโตขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีแลนด์แบงก์พื้นที่ จ.ชลบุรี จำนวน 11,000 ไร่ จากแบ็กล็อกจำนวนพื้นที่ดินทั้งหมดที่มีอยู่ 14,000 ไร่ และคาดว่ามูลค่าของที่ดินที่เหลืออยู่ชลบุรี มีโอกาสที่จะสร้างมูลค่าได้มากกว่า 50,000 ล้านบาท
1
อย่างไรก็ตาม การชะลอขายที่ดินชลบุรี จะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรบริษัท เนื่องจากมูลค่าของพื้นที่ดินมีราคาสูง ปัจจุบันอยู่ที่ 11 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งเทียบกับ จ.ระยอง อยู่ที่ 4.5 ล้านบาทต่อไร่
ปี 2563 หลายปัจจัยหนุน
ทั้งนี้ คาดว่าปีหน้าจะมีปัจจัยที่สนับสนุนหลายอย่าง โดยเฉพาะยอดขายที่ดินมีโอกาสที่จะเติบโต 10% จากปีนี้คาดทำได้ตามเป้ากว่า 900 ไร่ แบ่งเป็น ยอดขายที่ดินจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี ราว 150 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง 500 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) 300 ไร่
ทั้งนี้ มาจากปัจจัยทั้งโดยตรงและทางอ้อม ตั้งแต่อานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เพราะจีนส่วนใหญ่มีความรู้สึกดีกับประเทศไทยอยู่แล้ว ประกอบกับตอนนี้ประเทศไมทยอยู่ในฐานะที่การเมืองนิ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีสภาพคล่องทางการเงินดี รวมถึงยังมีแรงสนับสนุนจากมาตรการรัฐ โดยเฉพาะแพคเกจ Thailand Plus ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รวมถึงการพยายามให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ
ขณะที่ประเทศที่ต้องการย้ายฐานการผลิตจากจีน ก็สามารถเลือการตั้งการผลิตได้ทั้งที่ไทยหรือเวียดนามได้ เพราะทำเลของนิคมที่เวียดนามติดกับประเทศจีน การขนส่งโลจิสติกส์สะดวก แรงงานอาจถูก แต่ยังถือว่ามีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ประวัติศาสตร์ระหว่างจันกับเวียดนามอยู่ อีกทั้งเวีดยนามเพิ่งเจอแรงต่อต้านทางการค้าเรื่องจนส่งเหล็กจาก Tradewar ขณะที่เวียดนามอาจจะมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่นิ่งกว่าไทย แต่ถือว่าหลายครั้งที่ลูกค้าก็ตัดสินใจมาที่ไทยเพราะหลายปัจจัย อาทิ การมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่รองรับ การมีนโยบายสนับสนุน มีระบบสาธารณูปโภคที่รองรับมากกว่า
6
อย่างไรก็ดี ที่ดินพร้อมขายของบริษัทตอนนี้มีอยู่ 1,000 ไร่ โดยมีลูกค้าอันดับ 1 เป็นประเทศจีน ที่ให้ความสนใจซื้อที่ดินมากขึ้น และคาดว่าสัดส่วนลูกค้าชาวจีนในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 70-80% ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่เชื่อว่าในแง่มูลค่าการขจองการซื้อขายหรือวอลุ่มจะเพิ่มจากปีก่อนแน่นอน แต่ปัจจุบันพื้นที่ชลบุรีสัดส่วนลูกค้ายังคงเป็นญี่ปุ่นถึง 60% มีจีนสัดส่วนที่น้อยเนื่องจากที่ดินมีราคาสูงกว่าระยอง อีกทั้งจีนนิยมเลือกที่ระยองเป็นหลักเพราะใกล้กับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนของลูกค้าที่ระยองได้เพิ่มขึ้นมาในระดับเดียวกับญี่ปุ่นแล้วหรือที่ประมาณกว่า 30 % หากเทียบกับปีก่อนสัดส่วนจีนมีเพียง 25%
1
โฆษณา