3 ต.ค. 2019 เวลา 01:18 • ไลฟ์สไตล์
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ ๑๓
๏ กิเลสวรรค - หมวดกิเลส
สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม
🔸️ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน
สํ.ส. ๑๕/๑๐๓/๓๒
น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา
🔸️กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในหมู่มนุษย์
สํ.ส. ๑๕/๑๐๓/๓๑
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
🔸️ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๔
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
🔸️พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
สํ.ส. ๑๕/๒๓๖
นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
🔸️ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน
มายา ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๕
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา
🔸️คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น
อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๙
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
อวิชฺชา มูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
🔸️ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า
ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๕๖
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวต
ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ
🔸️บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ
ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ขุ.มหา. ๒๙/๕๐๑
โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ
หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ
🔸️โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง
ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
ขุ.มหา. ๒๙/๑๘
อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา
อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา
🔸️กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก
ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
(สุเมธาเถรี) ขุ.เถรี. ๒๖/๕๐๓
อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
🔸️โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
สํ.ส. ๑๕/๕๖
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถา
🔸️ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
สํ.ส. ๑๕/๖๑
อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
🔸️ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น
ขุ.มหา. ๒๙/๒๘๙, ขุ.สุ. ๒๕/๕๐๑
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา
🔸️บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
(เพราะ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๔๔
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา
🔸️บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
(เพราะ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
สํ.ส. ๑๕/๓๕๐
ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
🔸️ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
สํ.ส. ๑๕/๕๑
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ
🔸️ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่
สํ.ส. ๑๕/๕๑
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
🔸️ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน
สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
สํ.ส. ๑๕/๕๑
ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
🔸️โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้
ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
สํ.ส. ๑๕/๕๕
นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ ปมาเทน น สํวเส
อติมาเน น ติฏฺเฐยฺย นิพฺพานมนโส นโร
🔸️คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน
ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว
ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๘
นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
🔸️ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
ขุ.สุ. ๒๕/๕๐๐
ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย
หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา
🔸️ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่
เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา
ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๘
มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ
🔸️ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๖, ขุ.มหา. ๒๙/๑๘
ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ
🔸️ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๔
ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
🔸️ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
ขุ.มหา. ๒๙/๒๒/๑๗
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
🔸️ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
โพสท์โดย สาวิกาน้อย
คัดจาก:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา