2 ต.ค. 2019 เวลา 15:45 • ความคิดเห็น
กรมปศุสัตว์ ประกาศเตือน "ตลาดขวัญ นนทบุรี" เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยพิษสุนัข
💥เป็นประกาศ ตั้งแต่ เดือนกันยายน 2562
หลายปีแล้วครับตั้งแต่ลงครั้งแรก💥🙏
3
กรมปศุสัตว์นนทบุรี ประกาศเขตเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า รอบๆ พื้นที่ตลาดขวัญ นนทบุรี หลังพบไล่กัดเด็กนักเรียนบาดเจ็บ 2 ราย
1
กรมปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี เผยแพร่ประกาศเรื่อง ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 หลังพบว่าในพื้นที่ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีสุนัขเกิดโรคระบาดชนิดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดร้ายแรงอาจระบาดไปยังสุนัขและแมว ตลอดจนประชาชนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ได้
3
ดังนั้นจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าพื้นที่ โรงเรียนวัดนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
-ไปทางทิศเหนือจด ถนนนครอินทร์ (สะพานพระราม 5) เขตเทศบาลนครนนทบุรี จ.นนทบุรี
-ไปทางทิศใต้จด ถนนพิบูลสงคราม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
-ไปทางทิศตะวันออกจด ถนนพิบูลย์สงคราม เขตเทศบาลนครนนทบุรี อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
เป็นเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. – 24 ต.ค. 2562
3
ทั้งนี้กรมปศุสัตว์นนทบุรี ห้ามเจ้าของสัตว์ เคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงผ่านเขตดังกล่าว เว้นได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ หากพบผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนประชาชนที่อยู่ในเขตประกาศโรคระบาด สามารถนำสุนัขรับการฉีควัคซีนได้ฟรี ที่ปศุสัตว์อำเภอ
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา มีเด็กนักเรียน 2 คน จากโรงเรียนเทศบาลนครอินทร์ 3 ได้ถูกสุนัขกัดขณะกำลังเดินทางผ่านบริเวณดังกล่าวเพื่อจะไปโรงเรียน ทางครูประจำชั้นได้มีการรักษาเบื้องต้น นอกจากนี้ยังได้ช่วยกันออกตามหาสุนัขตัวที่กัดเด็ก
กระทั่งในวันที่ 24 กันยายน ก็พบสุนัขที่กัดเด็กนอนเสียชีวิตที่ลานจอดรถหน้าอุโบสถวัดนครอินทร์ เนื่องจากถูกรถทับ ทางครูจึงได้นำซากสุนัขไปให้หมอตรวจปรากฏว่าพบเชื้อสุนัขบ้า จึงได้นำเด็กไปฉีดยารักษาโรคสุนัขบ้าทันที ก่อนที่จะแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อนำเรื่องดังกล่าวไปเรียนให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบ เนื่องจากเกรงว่าสุนัขตัวที่ตายอาจจะไปกัดสุนัขตัวอื่นทำให้เชื้อแพร่กระจายได้
3
น.สพ.ชูฤทธิ์ เสนีย์มโนมัย ปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี เผยว่าหลังได้รับหนังสือจากทางจังหวัด ก็ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจตรวจสอบหาข้อมูลว่าสุนัขดังกล่าวมาจากแหล่งใด มีการสอบถามชาวบ้านที่อยู่ละแวกใกล้เคียงเบื้องต้นไม่พบข้อมูลว่าสุนัขตัวนี้มาจากที่ไหน มีชาวบ้านพบเห็นสุนัขตัวนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดทางปศุสัตว์ได้จับสุนัขที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวฉีดยาทั้งหมด
1
นอกจากนี้ยังได้มีการประกาศเสียงตามสายและนำหนังสือประกาศไปติดไว้เพื่อให้ชาวบ้านที่อาศัยและเดินทางผ่านบริเวณดังกล่าวได้ระวังไม่ให้ถูกสุนัขกัดเพราะไม่แน่ใจว่าสุนัขที่เหลืออยู่ได้รับเชื้อมาบ้างหรือไม่ ตอนนี้ได้มีการฉีดยาสุนัขไปแล้วจำนวน 3 ครั้ง และมีการเฝ้าระวังตลอดเวลา ฝากประชาชนถ้าพบเห็นสุนัขที่มีลักษณะเซื่องซึมให้แจ้งที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทราบทันทีอย่าไปจัดการเองโดยเด็ดขาด
เรื่องการแพร่ระบาดของพิษสุนัขบ้า นี่ต้องช่วยประชาสัมพันธ์ เป็นปัญหาของประเทศไทย ในปีที่แล้ว 2561 มีการแพร่ระบาด มีผู้เสียชีวิต 17 ราย โรคนี้มีแต่การป้องกันล่วงหน้าและ/หรือ ได้รับวัคซีนเมื่อได้รับเชื้อก่อนมีอาการ
ถ้ามีอาการแล้วไม่มียารักษาต้องรักษาตามอาการแล้ว(ทรมาน)สุดท้ายเสียชีวิต
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่ถูกต้อง หลังจากถูกกัด และ/หรือสัมผัสเชื้อ คือ
1. ไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า
2. เข้าใจว่าลูกสุนัขหรือลูกแมว และ/หรือสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นพาหะโรคพิษสุนัขบ้า
สัตว์ชนิดใดที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และติดต่อถึงคนโดยวิธีใดมากที่สุด
สุนัขมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุด รองลงมาก็คือ แมว การติดต่อถึงคนมากที่สุดก็คือ โดยวิธีการกัด ต้องเน้นอีกวิธีหนึ่งก็คือ การข่วน การข่วน หมายความว่า ใช้เขี้ยวข่วนก็ได้ หรือว่าในกรณีของแมวก็คือ ใช้อุ้งเท้าที่มีเล็บข่วน ทำไมถึงติดโรคได้ เพราะแมวเขาเลียอุ้งเท้าและเล็บของตัวเอง เชื้อไวรัสที่ติดอยู่ที่เท้าหรืออุ้งเล็บยังมีชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเมื่อถูกแมวข่วนก็จะทำให้คนติดโรคจากการข่วนของแมวได้เช่นกัน
1
ระยะเวลาการติดโรคและแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน
ระยะฟักตัวของคนที่เป็นโรค ก็คือไม่เกิน ๑ ปี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในช่วง ๒ เดือน ในบางคนพบว่าถูกสุนัขกัดภายใน ๕ วันเท่านั้นก็เริ่มแสดงอาการ ทั้งนี้เพราะถูกสุนัขกัดเป็นแผลเหวอะหวะ และสุนัขกัดเข้าโดยตรงที่เส้นประสาทบริเวณไหปลาร้า หรือบริเวณเส้นประสาทใหญ่ ทำให้เชื้อเข้าสู่เส้นประสาทได้เลย โดยไม่จำเป็นจะต้องมีการฝังตัวอยู่ที่แผล และมีการเติบโตก่อนที่กล้ามเนื้อ และจากกล้ามเนื้อถึงจะเข้าเส้นประสาท โรคจะเกิดเร็วหรือช้านั้น คือ ระยะฟักตัว ขึ้นอยู่กับบาดแผลว่าลึกแค่ไหน และแผลนั้นมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่มากแค่ไหน และกลไกของตัวไวรัสเอง รวมทั้งบทบาทของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในขณะเดียวกัน ถ้าหากกัดเข้าโดยตรงที่เส้นประสาท ก็อาจจะทำให้ระยะฟักตัวเป็นไปได้โดยรวดเร็ว หลังจากที่มีอาการดังกล่าวแล้ว
**ผู้ป่วยทุกรายจะเสียชีวิตหมด😱 ไม่ว่าอาการแสดงนั้นจะเป็นเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม เช่น มีอาการแค่คัน ปวดแผล หรือว่าปวดแขนขาบริเวณที่ถูกกัด หรือว่ามีไข้ มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังจากที่มีอาการดังกล่าว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีทุกอย่าง ผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๔ วัน โดยกลุ่มอาการเอะอะอาละวาดจะ เสียชีวิตเร็วในเวลาเฉลี่ยประมาณ ๕ วัน ส่วนกลุ่มอาการที่มีลักษณะอัมพาต แขนขาอ่อนแรง จะเสียชีวิตหลังจากที่มีอาการแสดงครั้งแรก ภายในระยะเวลาเฉลี่ย ๑๓ วัน
1
ถูกสัตว์ที่คาดว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จะต้องทำอะไรทันที
สิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ ล้างด้วยน้ำประปา ล้างด้วยน้ำก๊อก แล้วใช้สบู่ธรรมดาล้างหลายๆ ครั้งประมาณ ๕-๖ ครั้งก็ได้ เหตุผลที่ใช้น้ำสบู่ล้างเพราะว่าตัวปลอกหุ้มไวรัสเป็นปลอกไขมัน เมื่อล้างด้วยสบู่จะทำให้ปลอกหุ้มไขมันแตกหรือละลายไป ทั้งนี้การล้างแผลดังกล่าวเป็นการช่วยทำลายเชื้อไวรัสที่มีอยู่ไปได้เป็นจำนวนมาก เมื่อไปถึงสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ก็จะล้างแผลอีกครั้งหนึ่ง ด้วยยาฆ่าเชื้อโรคที่มีสรรพคุณในการฆ่าตัวไวรัสได้ เช่น ยาฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในกลุ่่มของไอโอดีน ซึ่งปกติใช้ในการทาแผลเด็กที่หกล้มถลอกปอกเปิกทั่วไปที่ไม่แสบ และถ้าหากมีแผลเกิดขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงไม่เย็บแผล ยกเว้นแต่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะการเย็บแผลจะทำให้เกิดผล 2 อย่าง คือ
1. อาจจะทำให้เชื้อโรคฝังตัวอยู่ และแพร่กระจายตัวไปได้เรื่อยๆ
2. การเย็บแผลอาจจะทำให้มีการบาดเจ็บที่เส้นประสาทส่วนปลายในบริเวณนั้น จะยิ่งทำให้ไวรัสวิ่งเข้าเส้นประสาทได้ง่ายขึ้นไปอีก
ถ้าเคยถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคจนครบโปรแกรม ในร่างกายจะยังมีเชื้อหลงอยู่อีกหรือไม่ ไม่ควรมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าตกค้างอีก ถ้าหากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันถูกต้องครบถ้วน ในกรณีที่แผลลึก ไม่ว่าจะเป็นแผลเดี่ยวหรือหลายแผล ไม่ว่าจะถูกกัดที่ตำแหน่งใดของร่างกาย เช่น บริเวณใบหน้า มือ ลำตัว แขน ขา หรือ เท้าก็ตามจะต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินที่แผล แล้วก็ฉีดวัคซีน ในกรณีนี้ก็ไม่ควรจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่
สถานที่ใดบ้างที่รับฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย รับฉีดวัคซีนและอิมมูนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ สำหรับสถานที่รับตรวจโรคพิษสุนัขบ้า มีกระจายอยู่ตามภูมิภาคทั่วประเทศไทย
การฉีดวัคซีน จะต้องฉีดกี่ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันกี่วัน
การฉีดวัคซีนมีอยู่ 2 แบบคือ แบบมาตรฐานและแบบประหยัด
1. แบบมาตรฐาน
ฉีดเข้ากล้ามที่แขน ห้ามฉีดเข้าที่ก้น เพราะถ้าใครที่ก้นใหญ่หรือก้นอ้วนจะทำให้วัคซีนไปติดที่ไขมัน จะไม่ได้ผลต่อการป้องกันและรักษา การฉีดแบบมาตรฐาน เริ่มจากฉีด 1 เข็มเข้ากล้ามที่แขน ในวันที่ 0 3 7 14 และ วันที่ 30
2. แบบประหยัด
แบบประหยัดนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย ร่วมกันคิดค้นขึ้นมา และครั้งแรกที่สุดนำทีมโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค และศาสตราจารย์นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ และมีนายแพทย์เฮนรีไวลด์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา การฉีดวัคซีนแบบประหยัดนี้สามารถใช้วัคซีนเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของวัคซีนแบบมาตรฐาน ทำให้ประหยัดเงินได้จำนวนมาก ซึ่งการฉีดวัคซีนแบบประหยัดโดยการฉีดเข้าในผิวหนังองค์การ อนามัยโลกรับรองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งมีวิธีการฉีดจะมีสูตรที่เรียกว่า 2 (วันที่ 0) 2 (วันที่ 3) 2 (วันที่ 7) ๐ (วันที่ 14) 1 (วันที่ 30) 1 (วันที่ 90) คือ
2
ถ้าฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และหยุดไป เลยกำหนดการฉีดครั้งที่ 2 จะทำอย่างไร
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก การฉีดใน 3 เข็มแรก คือ ในวันที่ 0 3 และ 7 เป็นการฉีดที่สำคัญ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดมีภูมิคุ้มกันขึ้นในวันที่ 14 ถ้าหากว่าละเลยไปใน 3 เข็มแรก บางครั้งบางคราวภูมิคุ้มกันจะขึ้นช้า แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากละเลยไป หรือเลยไปแค่ 1-2 วันเท่านั้นก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเริ่มต้นฉีดเข็มที่หนึ่งใหม่ ถ้าหากเลยไปมากกว่านั้นอาจจะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป และอาจจะต้องฉีดใหม่ตั้งแต่เข็มที่หนึ่งไปเลย
2
ค่าใช้จ่ายในการรับบริการเป็นอย่างไร
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายประมาณเข็มละ 350 บาท เมื่อรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ 700-2,500 บาท สำหรับการฉีดอิมมูนโกลบูลินในสถานบริการของเอกชนจะเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงประมาณ 2,000 - 15,000 บาท
รู้ได้อย่างไรว่าสุนัขตัวไหนเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
เชื้อไวรัสจะออกมาก่อนที่สุนัขจะมีอาการชัดเจนได้ ๑๐ วัน เพราะฉะนั้นถ้าหากถูกสุนัขกัด ไม่ต้องไปถามว่าสุนัขกัดมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล และคนไม่มีทางเดาใจสุนัขได้ ถ้าหากถูกกัดโดยสุนัขข้างถนนและสุนัขวิ่งหนีไป โดยที่ไม่สามารถจับสุนัขมาตรวจได้ และสุนัขตัวนั้นก็น่าสงสัย ต้องฉีดวัคซีนไว้ก่อน เพราะฉะนั้นบอกไม่ได้ในขั้นตอนที่จะดูว่าสุนัขบ้าหรือไม่บ้า สำหรับสุนัขบ้าสามารถสังเกตอาการผิดปกติได้คือ หลบไปซ่อนเงียบๆ ตามมุมมืด ไม่กินอาหาร แต่บางตัวจะติดคน คอยคลอเคลียผิดไปจากเดิม หลังจากนั้นประมาณ ๔๘ ชั่วโมงจะมีอาการกระสับกระส่าย และกัดคนทั่วไป ต่อมาจะเกิดอัมพาตทั้งตัว หุบปากไม่ได้ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด และตายภายใน ๒-๓ วัน อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจะแยกอาการสุนัขป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้าจากโรคอื่นได้ยากมาก แม้แต่เป็นเพียงสุนัขดุก็ตาม
3
สุนัขที่มีเจ้าของกัด และเจ้าของบอกว่าฉีดยาแล้วควรจะทำอย่างไร
ตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเป็นสุนัขที่เจ้าของบอกว่าฉีดยาแล้ว ปกติมีข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกและรับประกาศใช้ปฏิบัติทั่วโลก คือ
1. เลี้ยงสุนัขอยู่ในรั้วรอบขอบชิด ถ้าสุนัขตัวนั้นเลี้ยงดูดี ในรั้วรอบขอบชิด ไม่ใช่ตอนเช้าก็วิ่งตามนายไปส่งหน้าปากซอย กลับมาไปเล่นกับเพื่อนหมาอีก 3-4 ตัว แสดงว่าเลี้ยงดูไม่ระมัดระวัง ไม่อยู่ในรั้วรอบขอบชิดแบบนี้ไม่ได้
2. สุนัขจะต้องเคยได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อยที่สุด ๒ เข็มติดต่อกัน ๒ ปี
3. ถ้าสุนัขกัดคน จะต้องมีเหตุผล ที่น่าจะถูกกัด เช่น ไปแหย่ พยายามไปให้อาหาร ไปเหยียบหาง
4. สุนัขที่กัดยังดูปกติร้อยเปอร์เซ็นต์
ถ้ามีครบทั้ง 4 ข้อนี้อาจจะเชื่อได้ว่า สามารถเฝ้าดูอาการสุนัขได้ ล้างแผลให้สะอาดเรียบร้อย และยังไม่ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าหากสุนัขมีอาการแม้แต่นิดเดียวให้รีบฉีดวัคซีนทันที การเฝ้าดูอาการสุนัขสามารถเฝ้าดูไปได้ 10 วัน ถ้าหากสุนัขไม่มีอาการอะไรเลยภายใน 10 วันก็แสดงว่าปลอดภัย กรณีที่ไม่แน่ใจจริงๆ คือ ฉีดวัคซีนไปก่อน ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว และสุนัขก็ ดูดี แล้วก็ฉีดไป 3 เข็ม คือวันที่ 0 3 และ 7 ถ้าวันที่ 10 สุนัขปกติก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนต่อ การฉีด 3 เข็มก็เท่ากับเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต และอีก 20 ปีให้หลัง ถ้าเราถูกสุนัขกัด ถึงแม้จะกัดเหวอะหวะก็ตาม ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูนโกลบูลิน เพราะอิมมูนโกลบูลินแพง และหายาก ก็เพียงแต่ฉีดวัคซีนซ้ำ 2 เข็มเท่านั้นเอง ภูมิคุ้มกันก็จะขึ้นมาเร็วมากเลย แทนที่จะขึ้นมาภายใน 14 วัน ก็จะขึ้นมาภายในช่วง 3 วัน 5 วันเท่านั้นเอง ก็จะได้ช่วยประหยัดเงินและปลอดภัยได้ด้วย
ประเทศไทยเรามีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ และเรายังขาดการควบคุมดูแลป้องกันสัตว์ และมีปริมาณสัตว์จรจัดมาก ที่ไม่ได้เข้าถึงการฉีดวัคซีน
เปื่อยเคยเจอเขตพิษสุนัขบ้า เลยจะไปช่วยอาสาฉีดวัคซีน ไปบางวัดมีสุนัขและแมว มากถึง 500 กว่าตัว แยกสังกัด ฝูงนี้ โรงครัว ฝูงนี้คณะนั้น ฝูงนี้คณะโน้น..
และมีฝูงอิสระ อีกจำนวนหนึ่ง ฝูงที่มีสังกัด ยีงพอมีคนช่วยในการเรียกเขามาฉีดยา แต่ฝูงอิสระนี่สิ พอเห็นเข้ามาก็กระจายตัวเป็นกองโจรหายเรียบ จะโผล่ออกมาอีกทีตอนมืด แล้ว เข้าใกล้ก็ไม่ได้เผ่นก่อน เลยต้องตามเวรตามกรรม..
ยาวมากเลย..😀😆 ขอบคุณคนที่ทนอ่านมาจบนะครับ บอกต่อ จำไว้
"พิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย อย่ารอให้มีอาการ และอย่าคิดว่าไม่เป็นไร แค่นิดเดียว ตายนะครับไม่มีรอดเลย
แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน "
ฝากแชรต่อบอกต่อด้วยน่ะ
โฆษณา