15 ต.ค. 2019 เวลา 12:19
ปรัชญาหมากล้อมปรัชญาชีวิต
ขอบคุณภาพจาก https://shutterstock.com
ใครเล่นหมากล้อม(Go)เป็นบ้าง?
แล้ว ใครเล่นหมากรุกเป็นบ้าง?
ส่วนใหญ่น่าจะพอเล่นหมากรุกกันเป็น จะหมากรุกไทยหรือหมากรุกฝรั่ง ก็คล้ายๆกัน
แต่หลายคน น่าจะไม่เคยเล่นหมากล้อม หรือหมากโกะ แต่อาจจะเคยเห็นในหนังจีนกำลังภายในหรือหนังจีนพงศาวดารต่างๆ รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี เวลาแม่ทัพ ฮ่องเต้ จักพรรดิ์ ปรึกษาราชการกัน มักปรึกษากันตอนเล่นหมากล้อม เสมอๆ
ขออนุญาตอธิบายกติกาย่อๆก่อนจะไปต่อ สำหรับคนที่ไม่เคยเล่น...
หมากล้อมมีกระดาน บนกระดานมีเส้นแนวตั้งและแนวนอน แนวละ 19 เส้น รวมเป็น 361 จุดตัด ผู้เล่นมีหมากคนละสี ดำ กับ ขาว ผลัดกันวางคนละเม็ดหมาก บนจุดตัด สลับกัน หากจบเกมส์ใครยึดครองพื้นที่วางหมากได้มากกว่า เป็นผู้ชนะ
*มีรายละเอียดกติกาย่อยๆอื่นๆ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก
3
หากใครเคยฟัง คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี
ออลล์ ซึ่งเป็นเซียนหมากล้อมเบอร์ต้นๆของเมืองไทย คุณก่อศักดิ์ได้บรรยายปรัชญาของหมากโกะกับชีวิตไว้ดีมากว่า....
ถ้าเปรียบหมากรุกคือสนามรบหนึ่งสนามมีแม่ทัพคือขุน หากใครชนะขุนได้ ได้ชัยในสนามรบนั้นไป แต่พื้นที่ของหมากล้อมนั้น กว้างใหญ่เท่ากับกระดานหมากรุก 6 กระดาน เท่ากับ หมากล้อมเปรียบเสมือน สงคราม ที่มีถึง 6 สนามรบ
1
การเอาชนะในสนามรบเดียวอาจไม่ยาก หากเพียงเราส่งแม่ทัพที่เก่งที่สุดไป แต่ถ้าเรามีสนามรบพร้อมกัน 6 สนาม เราจะวางแผนอย่างไร จะเอาแม่ทัพย่อยๆคนไหน ไปรบสนามรบไหน ด้วยกลศึกอย่างไร นี่สิ ความยากและสิ่งที่ หมากล้อมกำลังสอนเรา
ในสงครามชีวิตก็เหมือนกัน ชีวิตเรามีสนามรบย่อย ๆ มากมาย ครอบครัวก็หนึ่งสนาม ร่างกายก็หนึ่งสนาม การทำงานอาชีพก็หนึ่งสนาม การเป็นประชาชนพลเมืองก็อีกหนึ่งสนาม เราจะวางแผนการรบอย่างไร ไม่ให้เราแพ้ในสงครามชีวิต
การเล่นหมากล้อม มีปรัชญาย่อย ๆที่สอนคนเล่นหลายอย่าง ซึ่งหากคุณไม่ลงมือเล่นด้วยตัวเอง คุณจะไม่เข้าใจได้อย่างถ่องแท้...เช่น...
หมากล้อม สอนให้เราอยู่กับทรัพยากรที่จำกัด เรามีเม็ดหมากเท่ากัน และมีจำกัด เราต้องบริหารจัดการการวางแต่ละเม็ดหมากให้คุ้มค่าที่สุด เพราะเมื่อเรายกมือขึ้นจากการวางหมากแต่ละครั้ง เราจะเดินใหม่ไม่ได้ เหมือนการตัดสินใจในชีวิตที่เราถอยไม่ได้อีกแล้วในหลายๆเรื่องที่เราได้ตัดสินใจทำลงไป
หมากล้อม ไม่สอนให้พยายามเอาชนะด้วยการกินหมากคู่ต่อสู้ แต่สอนให้เราพยายามประคองพื้นที่ของเราให้เข้มแข็ง เป็นการสวนทางกับกิเลส ที่เรามักคิดจะเอาชนะ คิดจะเอาของคนอื่น ซึ่งในการเล่นหมากล้อม หากคุณ
เผลอทำเช่นนั้น คุณจะพบว่าคุณกำลังจะพ่ายแพ้
หมากล้อมเป็นเกมที่ฝึกกับการทนยั่วของคู่แข่ง ใครฝืนการทนยั่วได้มากกว่า เน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับหมากฝ่ายตนเองได้มากกว่า จะเป็นผู้ชนะ
ผมเคยเล่นหมากล้อมสมัยเรียนหนังสือ เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นผู้หญิง ภายนอกเป็นคนดูช้าๆเซื่องๆ ไม่น่าสนใจอะไร แต่เวลาเธอลงเล่นหมากล้อม เธอฉลาดและใจเย็นมาก เธอไม่เคยแสดงอารมณ์ ตั้งแต่เริ่มเล่น จนจบการแข่งขัน
และเพื่อนผมคนนี้ เป็นนักกีฬาเหรียญทองหมากล้อม(โกะ)คนแรกของกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่ ม.อุบลราชธานี
#ลองศึกษา ลองเล่นดูก็ได้นะครับ ฝึกสมาธิ ฝึกความใจเย็น ฝึกสมองดีครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
และแรงบันดาลใจจาก คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ซี.พี.ออลล์ ..
#ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกคน
ติดตามบทความได้ที่
โฆษณา