5 ต.ค. 2019 เวลา 03:00 • การศึกษา
นกกระเรียน นกที่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก
นกกระเรียน สัตว์ป่าสงวนของไทย
ลักษณะทั่วไปของนกกระเรียนจะคล้ายกับนกกระสา แต่จะต่างกันที่ขนาดที่ใหญ่กว่าและการบินที่คอจะยืดตรงไปข้างหน้า ต่างจากนกกระสาที่บินขณะที่คอจะงอเข้าหาอก ความสูงของนกกระเรียนขณะยืนจะประมาณ 150 เซนติเมตร ปากตรงและยาวกว่าหัว แต่สั้นกว่าแข้ง ทั้งเพศผู้และเมียจะมีลักษณะและสีขนที่เหมือนกัน จะต่างกันที่ตัวผู้นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
ตัวเต็มวัยจะมีลำตัวเป็นสีเทา ปากและกระหม่อมตอนหน้าจะมีสีเขียว หัวและคอตอนบนจะมีหนังสีแดงและไม่มีขน ขนปลายปีกมี 11 และมีสีดำ
อาหารที่นกกระเรียนชอบนั้นจะเป็นพวกหอย ตั๊กแตน กบ งูน้ำ และเมล็ดข้าว
ปัจจุบันนกกระเรียนได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครองตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 และสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 11 ของไทย
ฝูงนกกระเรียน
และนกชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว นั้นจึงทำให้องค์การสวนสัตว์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้นำประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนกกระเรียนที่ปล่อยสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติต่อไป
นกกระเรียนพันธุ์ไทยถูกปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของ จ.บุรีรัมย์
และกังฟูและนกกระเรียนเกี่ยวข้องยังไง เดี๋ยวผมจะเล่าสั้นนะครับ
ตำนานเล่าว่า หลังจากที่วัดเส้าหลินถูกเพลิงเผาไหม้จนวอดวาย 5 ปรมาจารย์อาวุโสและบรรดาลูกศิษย์ ต่างแยกย้ายกระจัดกระจายออกไปตามเส้นทางของตนเอง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ต้านแมนจูอยู่
จนกระทั่งแม่ชีอื่อซ่า (อู่เหมย) หนึ่งใน 5 ปรมาจารย์อาวุโส ได้อพยพไปเป็นจำศีลบนเขาซ่งซาน และที่นั่นแม่ชีอื่อซ่าได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้น หลังจากเห็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับงูเห่า โดยงูเห่าได้พยายามโจมตีนกกระเรียนเป็นเส้นตรง แต่นกกระเรียนได้เคลื่อนไหวตัวเองเป็นวงกลม ทำให้งูเห่าไม่อาจทำอะไรนกกระเรียนได้
หมัดหย่งชุนที่มีต้นแบบมาจากนกกระเรียน
นางจึงได้นำเอารูปแบบการต่อสู้แบบนี้มาพัฒนาจนเป็นรูปแบบใหม่ของกังฟูซึ่งแตกต่างจากกังฟูวัดเส้าหลิน นั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของหมัดนกกระเรียน หรืออีกชื่อว่า หย่งชุน
ภาพซ้ายจากภาพยนตร์เรื่อง WING CHUN
ข้อมูลอ้างอิง📖
ส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า
องศ์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
โฆษณา