9 ต.ค. 2019 เวลา 05:00
การค้าสมัยอยุธยา
1) การค้าภายในประเทศ
- ระบบแลกเปลี่ยนโดยตรง คือ การเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง
- ระบบแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา คือ การซื้อขายกันอย่างทุกวันนี้ คือการนำสินค้าไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราก่อน (การขาย) เมื่อต้องการสิ่งใดก็นำเงินตรานั้นแลกมา (การซื้อ)
2) การค้ากับต่างประเทศ
- คู่ค้าที่สำคัญ
(1) ตะวันออก
ประเทศจีน
ประเทศทางตะวันออกที่ทำการค้าขายด้วยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว คือ ประเทศจีน ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น อยุธยาได้ส่งราชทูตไปเมืองจีนถึง 70 ครั้ง การส่งทูตไปในครั้งนั้นจะมีการแต่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนด้วย การกระทำดังกล่าวได้ประโยชน์มาก กล่าวคือ ไม่เพียงแต่จะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีต่อกันแล้ว ยังนำผลประโยชน์ทางด้านการค้ามาให้อยุธยาด้วย เพราะเมื่อส่งเครื่องราชบรรณาการไปครั้งใด ก็จะได้สิ่งของตอบแทนตลอดจนสิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งเมื่อรวมค่าแล้วมากกว่าบรรณาการของของที่ส่งไป จากผลประโยชน์ที่ได้รับดังกล่าวเป็นเหตุให้พ่อค้าเอกชนบางคนคิดปลอมเครื่องราชบรรณาการส่งไปถวายพระจักรพรรดิ์จีน แต่ในที่สุดเมื่อทางการจีนจับได้ จึงกำหนดให้เรือราชทูตไทยนำเครื่องราชบรรณาการไปกรุงปักกิ่งได้เพียงสามลำเท่านั้น นอกนั้นให้จอดอยู่ที่กวางตุ้ง และให้ส่งเครื่องราชบรรณาการเพียงสามปีต่อครั้งประเพณีนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" ซึ่งรัฐบาลอยุธยาต้องถือปฏิบัติต่อพระจักรพรรดิ์จีนแต่นั้นมา
สินค้าที่ไทยนำไปขายยังประเทศจีนในระยะนั้น ได้แก่ อำพันทองไม้หอมต่าง ๆ เนื้อไม้กฤษณา หลอฮก (เครื่องยา) กระวาน กานพลู พริกไทย ไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้แก่นดำ ไม้ฝาง ทองคำ เงิน พลอยต่าง ๆ ตะกั่ว งาช้าง นอระมาด หอระดาน หนังเสือลายต่าง ๆ ชะมด เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา ผ้าบางชนิด ฝ้าย น้ำตาล ข้าว ช้าง นกยูง นกแก้ว (5สี)
ประเทศญี่ปุ่น
การค้าขายกับประเทศญี่ปุ่นในสมัยอยุธยานั้น อาจกล่าวได้ว่าไทยได้ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการค้ากับประเทศจีน มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า มีการติดต่อกันในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ และในเอกสารของญี่ปุ่นได้กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2106 มีเรือจากไทยหลายลำไปค้าขายที่ญี่ปุ่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถก็มีการแลกเปลี่ยน พระราชสาส์นแสดงไมตรีกับโชกุน อิเอยาสุ ซึ่งทางโชกุนได้แต่งทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และอนุญาตให้เรือสำเภาไทยมาค้าขายที่ญี่ปุ่นโดยเสรี
1
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นดำเนินการมาด้วยดีเรื่อยมา และทำกำไรให้รัฐบาลไทยอย่างมาก และไทยอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลย์กาค้ามาตลอดจนถึงสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นทั้งทางไมตรีและการค้าเสื่อมลงไป เพราะมีการกวาดต้อนและขับไล่ญี่ปุ่นครั้งใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ. 2173 ถึง พ.ศ. 2175 ทั้งนี้เนื่องจากทรงเกรงกลัวอำนาจของญี่ปุ่น จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ การค้าทางเรือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็กระเตื้องขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สินค้าที่ไทยบรรทุกลงในเรือสำเภาไปค้าขายที่ญี่ปุ่นมี เหรียญเงิน หนังสัตว์ เขาสัตว์ เครื่องถ้วยชาม เครื่องสังคโลก ข้าว ไหมผ้าดิบ ผ้าไหม ไม้แดง ไม้สวาดิ ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ไม้จันทร์หอม งาช้าง ช้าง ฟันช้าง ผ้าต่วน ผ้าเปลือกไม้ หนังแผ่นดิบ รัก ตะกั่ว ดีบุก หวาย หมาก การบูร พริกไทย หินฝนหมึก น้ำตาลดำ ครั่ง กำยาน ไม้สัก น้ำมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ไทยนำมาจากจีนแล้วเอาไปขายที่ญี่ปุ่นด้วยส่วนสินค้าที่ไทยซื้อจากญี่ปุ่นก็มี ทองคำ ทองรูปพรรณ ทองแดง ฉากญี่ปุ่น เหรียญญี่ปุ่น ตู้ลายรดน้ำ เครื่องกระเบื้อง ใบชา ภาชนะทำด้วยไม้ ภาชนะทำด้วยเงิน ภาชนะทำด้วยทองแดง เหล็กแท่ง เงินแท่ง น้ำมันชักเงา ผ้าแพรหนังไก่ ผ้าแพรต่วน ผ้าถัก ผ้าลูกไม้ เครื่องลายคราม และม้า
1
(2) ตะวันตก
ประเทศโปรตุเกส
การที่อาวุธปืนที่โปรตุเกสนำเข้ามากลายเป็นสินค้าต้องห้ามเพราะไทยในสมัยอยุธยายังไม่มีอาวุธปืน จึงเห็นว่าอาวุธปืนเป็นอาวุธที่วิเศษคนที่มีปืนเพียงไม่กี่คน สามารถจะข่มขู่คนเป็นจำนวนมากที่ไม่มีอาวุธได้และการที่โปรตุเกสดำเนินกิจการไปด้วยดีตลอดจนสิ้นสมัยพระนารายณ์ ก็อาจเป็นเพราะในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทหารโปรตุเกสได้ช่วยไทยรบพม่า และในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งทูตไปยังผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เมืองกัว เพื่อชักชวนพวกพ่อค้าชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในไทยมากขึ้น
1
ประเทศฮอลันดา
บริษัทดัชอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้เข้ามาทำการค้ากับอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2147 ซึ่งเป็นปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลนี้ ครั้งถึงสมัยสดเด็จพระเอกาทศรถเป็นสมัยที่ว่างเว้นจากสงคราม จึงมีความเจริญเติบโตทางการค้ามาก
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าประสาททองพระองค์ต้องใช้จ่ายเงินมากในการปราบปรามพวกกบฏและทำสงคราม ดังนั้นพระองค์จึงต้องหาเงินมาเพิ่มโดยการขยายการควบคุมสินค้าต้องห้ามออกไปจากเดิม คือ ขยายไปยังสินค้าอื่นๆอีกหลายประเภทเช่น ผ้าให้เป้นสินค้าต้องห้ามประเภทขาเข้าซึ่งเดิมมีแต่เครื่องศาสตราวุธ ส่วนสินค้าขาออกต้องห้าม กำหนด ดินประสิว ฝาง หมากสง หนังสัตว์ เนื้อไม้ ช้าง และงาช้าง เหล่านี้เป็นสินค้าที่เพิ่มเติมขึ้นในสมัยนี้
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ อยุธยาได้ทำสัญญากับฮอลันดา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2207 ใจความสำคัญในสัญญามีว่า ประเทศคู่สัญญารับจะดำเนินการเพื่อให้มีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างสองประเทศสืบไป สมเด็จพระนารายณ์ฯจะต้องทรงลงโทษอย่างหนักแก่ผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินงานของบริษัท ชาวดัชจะได้รับสิทธิ์ทางการค้าโดยเสรีทั่วราชอาณาจักรไทยโดยชาวดัชจะจ่ายภาษีอากรให้ตามอัตราที่กำหนด นอกจากนั้นการซื้อขายหนังกวางหนังวัวและของป่าเป็นเรื่องของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว
จากสัญญาฉบับนี้ทำให้ชาวฮอลันดาสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรโดยตรง จึงทำให้ฮอลันดากลายเป็นผู้ผูกขาดทางการค้าในอยุธยาและตะวันออกไกลแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาฮอลันดาต่อมาฮอลันดาได้สิทธิผูกขาดไม้กระลำพักและรังนก ฮอลันดาเริ่มมีอำนาจมากขึ้นและมักแสดงท่าทีคุมอำนาจดังเช่นสมัยพระเจ้าประสาททอง เรือฮอลันดา 2 ลำทำการปิดอ่าวเมืองตะนาวศรี เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อคอยขัดขวางมิให้เรือค้าขายของชาวต่างประเทศอื่นๆเข้าและออกจากเมืองตะนาวศรี นอกจากนั้นทางการศาลของไทย ตามสัญญาที่ไทยทำกับฮอลันดา นั้นตุลาการไทยจะไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาพิพากษาเป้นการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของไทยเป้นครั้งแรก เหตุที่ไทยต้องยอมลงนามในสัญญาเพราะฮอลันดาใช้เรือรบเข้ามาปิดอ่าวไทย เมื่อฮอลันดามีอำนาจมากขึ้นสมเด็จพระนารายณ์ฯจึงเริ่มหันไปสร้างความสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส และอังกฤษเพื่อถ่วงดุลย์อำนาจฮอลันดา ไม่ให้ฮอลันดากระทำรุนแรงกับไทย
ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฮอลันดาเริ่มเสื่อมลง ทั้งนี้เพราะไทยเริ่มติดต่อกับประเทศฝรั่งเศสอย่างจริงจังมากขึ้น
ประเทศอังกฤษ
อยุธยาเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การค้าของอังกฤษที่กรุงศรีอยุธยาไม่สมความคาดหมายเพราะชาวฮอลันดาคอยกีดขวางด้วยประการต่างๆ จนถึงกับการทะเลาะวิวาทกันเนืองๆ ความยากลำบากอีกประการหนึ่งของพ่อค้าอังกฤษคือมีเรืออังกฤษน้อยลำเข้ามายังอยุธยา บริษัทอังกฤษอินเดียตะวันออกไม่มีตัวแทนการค้าของบริษัทอยู่ในอยุธยาเป็นเวลาถึง 35 ปี จนถึง พ.ศ. 2202 ญวนยกกกองทัพเข้าตีเขมร ห้างของบริษัทอังกฤษที่เขมรถูกพวกญวนเข้าปล้นและพวกพ่อค้าอังกฤษถูกจับ พวกพ่อค้าอังกฤษที่หนีได้ก็ลงเรือเดินทางเข้ามายังอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในการค้าขาย ดังนั้นอังกฤษจึงได้เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2204 พระราโชบายของสมเด็จพระนารายณ์ต้องการให้ไทยหลุดพ้นจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจของฮอลันดา โดยหวังจะดึงอังกฤษและฝรั่งเศษเข้ามาค้าขายเพื่อถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา ทำให้ฮอลันดาไม่พอใจจึงเรียกร้องสิทธิทางการค้ามากขึ้น
4
เมื่ออังกฤษเปิดห้างค้าขายในอยุธยาอีกครั้ง การค้าของพ่อค้าอังกฤษก็ยังคงประสบกับความยากลำบาก เพราะเจ้าพระยาพระคลังเมื่อซื้อสินค้าไปแล้ว ต่อมาเมื่อทราบว่าจะขายสินค้าเหล่านั้นไม่ได้กำไรก็คืนสินค้าต่อพ่อค้าอังกฤษ การกระทำเช่นนี้ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษท้อใจมาก หลังจากที่อังกฤษพยายามเข้ามาทำการค้าขายกับอยุธยาหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จจนในที่สุดการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับอังกฤษก็ยุติลง และจะเริ่มใหม่อย่างจริงจังอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศษได้เข้าติดต่อค้าขายในเมืองไทยครั้งแรก พ.ศ. 2205 โดยพวกบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนา สมเด็จพระนารายณ์ฯให้การต้อนรับเป็นอย่างดี จากนั้นความสัมพันธ์ก็เริ่มแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ.2228 ไทยจึงได้ทำสัญญากับบริษัทอินเดียฝรั่งเศส สรุปความว่าทางฝ่ายไทยอนุญาติให้พ่อค้าชาวฝรั่งเศสเข้ามาทำการค้าขายในเมืองไทยได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก แต่สินค้าต่างๆบริษัทจะต้องไปซื้อที่คลังหลวงเพียงแห่งเดียว ต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งให้ มองสิเออร์ ลาลูแบร์ เป็นทูตเข้ามาแก้ไขสัญญาใหม่ใน พ.ศ. 2230 ความว่า อนุญาติให้พ่อค้าชาวฝรั่งเศสซื้อขายสินค้าโดยทั่วไป เว้นแต่สินค้าต้องห้ามบางอย่างต้องซื้อขายกับพระคลังสินค้าแห่งเดียว ในขณะที่ฝรั่งเศสกำลังมีบทบาทมากขึ้นในกรุงศรีอยุธยาตอนปลายสมเด็จพระนารายณ์ และได้เกิดการจราจลขึ้นในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวร เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตอำนาจทางการค้าและการเมืองของฝรั่งเศสก็หมดไป
การค้าขายในสมัยปลายอยุธยาการค้าขายตกต่ำมากเนื่องจากเมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว พระเพทราชาได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเกี่ยวข้องกับชาวยุโรปตะวันตก เพราะพระองค์กลัวว่าพวกชาวยุโรปตะวันตกจะเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง พระองค์จึงจัดกองทัพเข้าโจมตีขับไล่ทหารฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่ป้องบางกอกธนบุรี จนในที่สุดฝรั่งเสสจึงส่งทูตเจรจาขอเลิกรบ และยกกองทัพออกจากเมืองไทยกลับฝรั่งเศส สมเด็จพระเพทราชาตกลง แต่ยึดตัวบิชอบ เมเตโลโปลิส สังฆราชกับพวกพ่อค้าฝรั่งเศสไว้เป็นตัวประกัน จนกว่าราชทูตไทยไปเมืองฝรั่งเศสจะกลับมา เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นปัจจัยให้สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขาดสะบั้นทันที ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิราช (พระเจ้าเสือป มีพระประสงค์จะฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และส่งเสริมการค้าขายอีกด้วย แต่ก็ไม่รุ่งเรืองเท่าในอดีต
- เหตุการณ์ในสมัยสำคัญสำคัญ
(1) อยุธยาตอนต้น
ค่อนข้างเสรี คือ ติดต่อกันในอยุธยาโดยตรงไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐหรือเอกชนไทยที่มีทุนก็จะสามารถค้าสำเภาได้
(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ปฏิรูปการปกครองอาณาจักร มีการเก็บภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย
(3) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักษณะผูกขาด
(4) สมเด็จพระนารายณ์
พระคลังสินค้ามีอำนาจผูกขาดโดยสมบูรณ์
- สินค้าออก
มีผลผลิตทางการเกษตรโดยตรงและแปรรูป ผลิตผลที่ได้จากป่า สัตว์ สินแร่ เครื่องหัตถกรรม และอื่น ๆ
- สินค้าเข้า
เครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ ผ้า มีแพรม้วน แพรดอก แพรโล่ เครื่องถ้วยชาม เครื่องกระเบื้อง พัด ดาบ หอก เกราะ สารส้ม เป็นต้น
- ผลของการค้าขายกับต่างประเทศ
(1) เกิดการขยายตัวทางการค้า
(2) สร้างความมั่นคงให้กับอยุธยา
(3) ได้รับวิทยาการและประสบการณ์อื่น ๆ
โฆษณา