5 ต.ค. 2019 เวลา 12:30 • ธุรกิจ
โฆษณาที่คืนชีวิต ให้บริษัท Apple
"คุณอาจจะเห็นพวกเขาเป็นคนบ้า
แต่เราเห็น…อัจฉริยะ
.
เพราะพวกเขาบ้าพอที่จะคิดว่าจะเปลี่ยนโลกได้
.
และเขาก็เปลี่ยนโลกได้จริงๆ"
สตีฟ จ็อบส์ ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลในปี ค.ศ.1976 ร่วมกับสตีฟ วอซเนียก
ในปี 1984 เขากลับถูกบีบให้ลาออกจากบริษัท โดยฝีมือ CEO ที่เขาเลือกมาเอง!
หลังจากสตีฟลาออก บริษัทแอปเปิลก็มีผลประกอบการที่แย่ลงเรื่อยๆ จนเข้าขั้นวิกฤต ทำให้ในปี 1996 ทางบอร์ดต้องเชิญสตีฟ จ็อบส์กลับมาทำงานในฐานะที่ปรึกษา และกลายเป็น iCEO หลังจากนั้น
1
ในหัวสตีฟ สิ่งที่เขาต้องทำก็คือ การปรับภาพลักษณ์ของบริษัทแอปเปิล โดยช่วงที่เขาลาออกไปนั้น บริษัทแอปเปิลออกโฆษณาหลายตัว แต่ก็เป็นเพียงโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ แบบทั่วๆไป เหมือนที่คนอื่นทำกัน
แต่สตีฟ ต้องการสิ่งที่แตกต่าง เขาอยากให้แอปเปิล เป็นแบรนด์ชั้นเยี่ยมของโลก สร้างแรงดึงดูดทางอารมณ์
ลี คลาว ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ ที่เคยทำงานร่วมกับ สตีฟ ในปี 1984 ได้ยอมกลับมาร่วมงาน ทำแคมเปญโฆษณาชิ้นนี้ ให้แอปเปิล โดยเขาเสนอแนวคิด "คิดต่าง" ("Think Different") ซึ่งสตีฟชอบไอเดียนี้มาก ถึงขั้นร้องไห้กันเลยทีเดียว!
1
จ็อบส์เล่าว่า "มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์" แคมเปญนี้เป็นการบอกว่า คนที่มีหัวคิดสร้างสรรค์สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง นอกจากนี้แคมเปญยังไม่ได้มุ่งแค่ลูกค้า แต่ยังมุ่งไปที่พนักงานบริษัทเองด้วย
2
"พวกเราที่แอปเปิลลืมไปแล้วว่าเราคือใคร
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เราจดจำได้ว่าเราคือใคร
คือต้องจำให้ได้ว่าวีรบุรุษของเราคือใคร
นั่นคือจุดสำคัญของแคมเปญ"
1
เขาให้เวลาทีมเอเยนซี เตรียมแคมเปญชิ้นนี้ 17 วัน และโฆษณาทางทีวีก็ได้ออกอากาศ ในวันที่ 28 กันยายน 1997
และนี่คือ บทโฆษณา "Think Different"
Here’s to the crazy ones.
แด่คนบ้าเหล่านี้
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ และระเบิดปรมาณู
The misfits.
คนที่ไม่เข้าพวก
บ็อบ ดิลลัน หรือชื่อจริง โรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ศิลปิน จิตรกร นักประพันธ์ และกวีชาวอเมริกัน ที่มีผลงานในวงการดนตรีมาตลอดกว่า 5 ทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1960 จนได้รับฉายาให้เป็น "ราชาแห่งโฟล์ก"
The rebels.
ขบถ
The troublemakers.
ตัวปัญหา
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นศาสนาจารย์และนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ชาวผิวสี
The round pegs in the square holes.
เหมือนตะปูมน ที่ตอกลงในรูสี่เหลี่ยม
 ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษ เป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 360 บริษัท ที่ใช้ชื่อการค้า "เวอร์จิ้น" ริชาร์ด แบรนสัน เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 15 ปี 
The ones who see things differently.
คนที่มองโลกต่างออกไป
จอห์น เลนนอน นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งวงเดอะบีเทิลส์ และภรรยา โยโกะ โอโอนะ
They’re not fond of rules.
พวกเขาไม่ติดกับกฎเกณฑ์
ริชาร์ด บักมินสเตอร์ "บักกี้" ฟุลเลอร์ สถาปนิก นักออกแบบ นักประดิษฐ์ และนักเขียนชาวอเมริกัน
And they have no respect for the status quo.
และพวกเขาไม่สนใจสถานะที่เป็นอยู่
You can quote them, disagree with them
คุณอาจจะพูดถึงเขา หรือไม่เห็นด้วยกับเขา
ทอมัส แอลวา เอดิสัน เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" ผู้ที่ "ไม่ได้คิดค้น" หลอดไฟ
มูฮัมหมัด อาลี เป็นอดีตยอดนักมวยชาวอเมริกันในรุ่นเฮฟวี่เวทผู้เป็นตำนาน "ชนะได้โดยไม่ต้องตั้งการ์ด"
glorify or vilify them.
จะยกย่องหรือประณามพวกเขาก็ได้
เท็ด เทอเนอร์ เจ้าพ่อในสื่อมวลชนชาวอเมริกันในนามของนักธุรกิจ เขาเป็นที่รู้จักกันดีในนามของผู้ก่อตั้งเคเบิล "นิวส์ เน็ตเวิร์ก" ซึ่งเป็นสถานีข่าวแห่งแรกที่ออกอากาศทุก 24 ชั่วโมง
About the only thing you can’t do is ignore them.
แต่..สิ่งนึ่งที่ไม่อาจทำได้ คือ “มองข้าม” พวกเขา
มาเรีย คัลลัส นักร้องเสียงโซปราโนชาวกรีกในยุคศตวรรษที่ 20 มีผลงานการแสดงคอนเสิร์ตและบันทึกเสียงเป็นจำนวนมาก ถือเป็นยอดของนักร้องเสียงโซปราโนแห่งศตวรรษ
Because they change things.
เพราะพวกเขาได้เปลี่ยนโลก
มหาตมา คานธี นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพชาวอินเดีย ยืนหยัดด้วยหลัก "อหิงสา"
They push the human race forward.
พวกเขาทำให้มนุษย์ก้าวไปข้างหน้า
อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต นักบินชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นนักบินสตรีคนแรก ๆ ของประเทศ เธอเป็นสตรีคนแรกที่ขึ้นบินในฐานะผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
While some see them as the crazy ones,
คุณอาจจะเห็นพวกเขาเป็นคนบ้า
อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากในแนวระทึกขวัญหรือ ทริลเลอร์ ได้แก่ ไซโค, เบิร์ด เป็นต้น
มาร์ธา เกรแฮม ผู้ออกแบบท่าเต้นชาวอเมริกัน ซึ่งเธอเป็นบุคคลสำคัญต่อประวัติศาสตร์โมเดิร์นแดนซ์ของโลกในช่วงศตวรรษที่ 19
we see genius.
แต่เราเห็น…อัจฉริยะ
จิม เฮนสัน นักเชิดหุ่นมือชาวอเมริกันและกบเคอร์มิต ผู้สร้างรายการ เดอะมัพเพทส์โชว์ (The Muppet Show)
แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 
Because the people who are crazy enough to think
เพราะพวกเขาบ้าพอที่จะคิดว่าจะเปลี่ยนโลกได้
ปาโบล รุยซ์ ปิกาโซ จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร ไทม์ ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 
they can change the world, are the ones who do.
และเขาก็เปลี่ยนโลกได้จริงๆ
เด็กสาว Shaan Sahota ลืมตาขึ้นในตอนจบของโฆษณา เป็นนัยว่าเธอเห็นความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนโลก ต่อหน้าเธอ
วิดีโอ: https://youtu.be/8rwsuXHA7RA
-สวัสดี-
ที่มา:
หนังสือ สตีฟ จ็อบส์ อัจฉริยะผู้พลิกโลก, โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน
wikipedia
หากบทความโดน 💖 ช่วยกด Like & Share
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด "ติดดาว" ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และสำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เชิญพูดคุยแลกเปลี่ยน ความรู้ได้ที่ https://line.me/ti/g2/hxcbVyO45-1yxNkh-vKf1g
โฆษณา