5 ต.ค. 2019 เวลา 17:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
3D Printer หรือ เครื่องปริ้นท์ 3 มิติ เข้าใกล้สู่ความเป็นจริง ในการพิมพ์ “หัวใจมนุษย์”
สวัสดีครับ ในปัจจุบันที่โลกของเรากำลังจะเข้าสู่ยุคของการเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society สิ่งที่แปรผันตรงกับจำนวนของผู้สูงอายุ นั่นก็คือ โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นเกี่ยวกับโรคทางหัวใจ วันนี้ผมเลยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมาเล่า งานวิจัยที่คิดว่าน่าจะเป็นความหวังใหม่ทางการแพทย์ให้ทุกท่านฟังกันครับ
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้เปิดเผยเอกสารส่วนนึงเกี่ยวกับการอาศัยเทคโนโลยี เครื่องปริ้นท์ 3 มิติ ในการสร้างเนื่อเยื่อจาก โครงสร้าง คอลลาเจน ซึ่งเป็น โครงสร้างโปรตีนที่สำคัญส่วนนึงในร่างกายมนุษย์ ซึ่งนั่นก็แปลว่าความเป็นไปได้ในการพิมพ์หัวใจมนุษย์ มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
วิธีการนี้รู้จักกันในชื่อของ Freeform Reversible Embedding of Suspended Hydrogels (FRESH) ทำให้นักวิจัยสามารถเปลี่ยนรูปแบบเดิมๆของการพิมพ์แบบชีวภาพ ให้มีความละเอียดและเที่ยงตรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
อวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกายมนุษย์ เช่น หัวใจ ถูกสร้างขึ้นจาก เซลล์พิเศษ ที่ยึดเข้าด้วยกันด้วยโครงร่างทางชีพวภาพ ที่เรียกได้ว่า extracellular matrix (ECM) ซึ่งในการพิมพ์แบบเดิมจะไม่สามารถสร้างเครือข่ายหรือโครงร่างทางชีวภาพนี้ขึ้นมาได้
Adam Adam Feinberg ศาสตราจารย์วิศวกรรมชีวการแพทย์กล่าวว่า "สิ่งที่เราได้พบคือการที่เราสามารถพิมพ์ส่วนเล็กๆของหัวใจที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ"
"คอลลาเจนเป็นวัสดุทางชีวภาพที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมากสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ เพราะมันประกอบเนื้อเยื่อทุกชิ้นในร่างกายของคุณ" Andrew Hudson นักศึกษาปริญญาเอกจาก Feinberg's lab กล่าว
ซึ่งจากเดิมการเริ่มต้นการพิมพ์ด้วยของเหลว จะทำให้โครงสร้างของสิ่งที่พิมพ์ออกมาไม่แข็งแรงและแทบจะเป็นไปไม่ได้ในหลายๆครั้ง ดังนั้นกระบวนการพิมพ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ (FRESH) นี้จะสามารถแก้ไขทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคการพิมพ์ และ โครงสร้างของสิ่งที่พิมพ์ออกมาได้
หากวิธีการนี้ได้พัฒนาและศึกษาต่อมากกว่านี้ มันจะไม่เพียงแต่พิมพ์ หัวใจมนุษย์ของคนออกมาได้ แต่มันยังสามารถ พิมพ์ส่วนอื่นๆของร่างกายที่จะมาทำหน้าที่ในการซ่อมแซมหรือทดแทนส่วนต่างๆที่เสียหายได้
นอกจากนั้นทีมยังมีความต้องการในการพัฒนาการออกแบบแบบ open-source เพื่อทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ ทำให้มีแนวโน้มของต้นทุนที่ต่ำ และ ความสามารถการพิมพ์ 3 มิติที่มีคุณภาพสูง
ผู้ป่วยมากกว่า 4,000 คนในสหรัฐอเมริกา กำลังรอการปลูกถ่ายหัวใจในขณะที่คนอื่นๆอีกหลากหลาย ล้านคนทั่วโลกก็ต้องการหัวใจแต่ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพียงพอ ซึ่งถ้าหากงานวิจัยครั้งนี้สามารถพัฒนาต่อ และ ใช้งานจริงได้ในระดับสังคมทั่วไป จะต้องเป็นก้าวใหญ่ในการแพทย์อย่างแน่นอน
#อยากเล่า โปรตีนในนมถั่วเหลือง มีส่วนช่วยในการลดระดับ LDL Cholesterol และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ตลอดจนยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งแปลว่า นมถั่วเหลืองสามารถลดการเกิดของโรคหัวใจได้
โฆษณา