6 ต.ค. 2019 เวลา 04:50 • ธุรกิจ
# Ep02 - เข้าใจ วิธีคัดเลือกผ่าน Feathers App FIN
เครดิตภาพ จากเพื่อนเค ขวัญชัย
ต่อจากบทความที่แล้ว https://www.blockdit.com/articles/5d9924cc0383460db3686f26
บทความนี้ จะมาทำให้ทุกท่านรู้จักวิธีการใช้ Feather ของ Fin App กัน
Tab การใช้งานหลักของ Fin App
Tab แรก Performance
> ผมจะพาทำผ่านกองทุนที่ชื่อ ABFTH ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด 16.6% นะครับ ให้เรากดที่กองทุนนี้
> บอกไว้ก่อนนะครับ ผมใช้ข้อมูลกองทุนนี้ในการอธิบายเท่านั้น ไม่ได้ชี้นำให้ไปซื้อนะครับ และมีเหตุผลบางอย่างที่จะบอกว่าทำไม ผ่านการอธิบายด้านล่างครับ
Performance
ช่องที่ 1 เป็นช่องบอก Performance ในรูปแบบกราฟ วิธีอ่านคือ ในแต่ละจุดเวลานั้น เช่น 1 ปี ถ้าซื้อกองนี้ ใน 1 ปีที่แล้ว จะได้ผลตอบแทนเป็นกี่ 16.65% ไล่จากขวามาซ้าย
ช่อง 2 ถ้าไม่ชอบกราฟ ชอบดูตัวเลขมากกว่า ก็ให้ดูที่ตรงนี้แทนครับ มีค่าเท่ากัน ส่วนตัวชอบอันนี้มากกว่า ดูง่ายดี
จะเห็นว่ากองนี้ผ่านเกิน 3.5% ที่ต้องการครับ
> Tab Comp คือ อัตราส่วนที่กองไปลงทุนในรูปแบบ chart ทรงกลม
> Tab Dividend คือแสดงประวัติการให้ปันผลของกองครับ
ผมขอข้าม ไม่แสดงภาพประกอบ ของ 2 Tab นี้นะครับ เพราะ 1 ผมไม่ได้ให้น้ำหนักในการตัดสินใจกับ 2 ค่านี้ และ 2 ทุกท่านดูได้เองครับ
> Tab Chart อันนี้สำคัญ
Chart %Maximum drawdown
จากรูปซ้าย ให้กดตามลำดับนะครับ 1,2 และ 3
1. เพื่อเลือก Chart
2. เพื่อดูข้อมูล Maximum Drawdown
3. เพื่อดูข้อมูลทั้งหมด 5 ปี ย้อนหลังในการตัดสินใจ
ก่อนวิเคราะห์ ผมขอให้เครดิต FIN App ก่อนนะครับ ว่า App พยามนำข้อมูล %Maximum Drawdown ให้อยู่ในรูปที่จับต้องได้ และเข้าใจง่ายมากๆ ครับ
นิยามของ Drawdown คือ ในช่วงอดีตที่เรากำลังสังเกตย้อนหลังอยู่นั้น ราคาของสินทรัพย์นั้นๆ มีการปรับตัวลดลงต่ำสุด จากจุดสูงสุดที่ผ่านมา เท่าไร โดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็น
อธิบายจากตัวอย่างในภาพ ในจุดที่ 1 รูปขวามือ
ในจุดนี้ ถ้าเราได้เริ่มลงทุนไป เราจะเจอกับหุบเหวแห่งการเจ็บปวด (ต่อไปผมจะเรียกว่า “หลุมดำ”) ทำไมถึงเป็นหลุมดำ?
จากภาพ เริ่มที่ลูกศรสีแดง
จะเห็นว่า ถ้าลงทุนตั้งแต่วันที่ “Peak date” หรือ 5-Apr-15 หลังจากนั้น ค่ามันจะค่อยๆ ไหลลงๆ ถ้ามองเป็นเงิน 1,000,000 บาท เงินก็จะค่อยๆ ติดลบไป เรื่อย ๆ หรือจมลงๆ ไปเรื่อยๆ จากจุดสูงสุดไปต่ำสุด เรียกว่า “Valley date” ในวันที่ 20-Dec-16 รวม 265 วัน
หรือเท่ากับ -5.14% หรือทำให้เงินเรามีมูลค่าเหลือ 948,600 บาท !!
และกว่าจะกลับมาเป็นราคาเดิม เรียกว่า วัน “Recovery date” หรืออีก 645 วัน !!
ช่วยด้วยๆ ข้าหนาวเหลือเกิน.... ใครก็ได้ช่วยที เหมือนหลุมดำไหมครับ เราจะต้องมองเงินตัวเอง ค่อยๆ ลดลงทั้งหมด 265 วัน T-T
ผมชอบใช้คำว่าหลุมดำแทนคำว่า Drawdown เพราะมันจำง่าย และเจ็บปวดดี แล้วไม่รู้ว่าวันไหนจะฟื้นกลับมาที่ราคาเดิม นั้นคือ ที่มาของคำว่า ”หลุมดำ” !!
คำถาม ถ้าเป็นผู้อ่าน ถ้าโดนแบบนี้ ท่านจะทนเจ็บปวดได้นานแต่ไหน?
ส่วนเกณฑ์ที่ผมจะใช้กรอง คือขอจำนวนวันที่มันจะฟื้น จากหลุมดำ ไม่เกิน 30 วัน (แก้ได้ตามความพอใจของแต่ละคนนะครับ)
วิเคราะห์ต่อข้อ 3 จากรูปจะเห็นว่าจุดนี้เป็นจุดล่าสุดที่บอกกับทุกคนว่า ฉันคือตัวแทน 16.65% ที่ทุกคนชอบนะ ลองซื้อฉันสิ แต่ระวังดีๆ นะ เพราะฉันบอกไม่ได้ว่า ฉันจะไปต่ออีกนานแค่ไหน จะอยู่นิ่งๆ หรือเมื่อไรฉันจะลงดี
อันนี้คือ Fact จริงๆ ครับ ไม่มีใครตอบได้ วันดีคืนดี ขึ้นๆไป อาจจะทิ้งหัวลงเพราะเหตุผลสักอย่างก้อได้ เช่นคิดเล่นๆ นะครับ นักลงทุนที่มี port ในนี้เริ่มรับรู้กำไรเยอะแล้ว เห็นที่อื่นน่าสนใจกว่ากองนี้ พากันเทขายก็ได้
ให้ทุกท่านสังเกตุให้ดีว่า ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงต้นปี 2019 (แค่ 4 ปี) ค่าคาวามชันมันคงที่ใช่ไหมครับ พึ่งมากระโดดเอาปีนี้เอง ถ้าเราลงทุนที่ค่าสูงสุดตอนนี้ แล้วราคากลับมาค่าที่มันควรจะเป็น เงินเราจะติดลบ และกว่าจะฟื้นจากหลุมดำ นานแค่ไหน? ผมเลยอยากจะบอกว่า กองนี้มีความเสี่ยงนะให้ระวัง
มาต่อตัว Info ตัวสุดท้ายแล้วครับ
Information อื่นๆ
ส่วน Tab Info นี้ เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลของ
> 1. อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขาย ให้เข้าใจว่าคือ ถ้าเราสั่งซื้อกองปั๊บ เขาจะหักเงินเราไปตาม % ที่เขาบอกครับ แนะนำว่าให้ใช้ดุลยพินิจของแต่ละท่าน ว่าถูกหรือแพงโดยเทียบกับผลงานกับกองอื่นๆ
> 2. Total Expense อัตราค่าบริหารที่กองทุนจะเรียกเก็บรายปีเขาจะหัก %ตามที่แจ้ง โดยเงินที่หักนี้จะไปส่งผลต่อราคา Nav โดยไม่มีมาหักกับเราต่างหากครับ ให้ดูว่าสูงไหมเมื่อเทียบกับกองอื่นๆ
> 3. ค่า Standard Deviation ตัวย่อคือ SD (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) หรือจะเรียกว่า “ค่าความผันผวน” ก็ได้
เป็นค่าสถิติที่บอกถึง “ความน่าจะเป็นของผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงจากการลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ผิดไปจาก ผลตอบแทนที่คาดหวัง เท่าไรใน 1,3,5 ปี
ประมาณว่า เฮ้ย ผลตอบแทนที่จะได้ของเอ็งน่ะ ควรจะต้องเป็นเท่านี้นะ แต่ผลจริงๆ กลับได้ มากกว่าหรือน้อยกว่าซะนี้ “ค่าที่มากกว่า หรือน้อยกว่า เราจะแทนเป็นค่า SD”
หรือจะจำง่ายๆ แบบนี้ก็ได้ครับ ว่า “ถ้ากองนี้มีค่า SD สูง แสดงว่าเสี่ยงสูง ถ้ามีค่าต่ำแสดงว่าเสี่ยงต่ำ” ค่านี้สำคัญนะครับ เราจะต้องดูหลายๆ กองมาเปรียบเทียบกัน และหากองที่ต่ำที่สุดครับ
> 4. %Sum top 5 คือ ผลรวมของ 5 กองตราสารหนี้ ที่กองทุนไปลงทุนมากที่สุด ว่ามีผลรวมเป็นเท่าไร ค่านี้บงบอกถึงการกระจายการลงทุนครับ ถ้ามีค่าสูง แสดงว่ามีการกระจุกตัวในการลงทุนจนเกินไป
> Investment Statregy คือลักษณะการลงทุน มีได้ 2 แบบ คือ Active หรือ Passive
Passive คือ กองจะลงทุนแบบพยามให้เหมือนกันกับตลาดมากที่สุด เช่น ถ้ากองนี้คือ Set 50 กองก็จะไปลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน Set 50 โดยให้มีสัดส่วนตามจริงของ Set 50
Active คือการลงทุนจะขึ้นกับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน
ส่วนตัวถ้าเป็นการลงทุนตราสารหนี้ ผมไม่ได้มองค่านี้ในการตัดสินใจครับ
> Master Fund คือ กองทุนมีนโยบายนำเงินไปลงทุนกับกองแม่หรือเปล่า กองแม่คือกองทุนของต่างประเทศ ที่มีนโยบายลงทุนในลักษณะเดียวกันกับกองทุนนั้นๆ ครับ
ถ้ามีการไปลงทุนในกองแม่ ค่าจะแสดงชื่อใน App ถ้าไม่มีก็จะมีค่าว่าง (เราสามารกดเข้าไปอ่านรายละเอียดกองแม่ได้นะครับ)
จบสักทีกับคำอธิบาย บทความนี้ยาวมากเลยครับ ก็หวังว่าทุกคนจะชอบ และเข้าใจกัน
ท้ายสุดแล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านคงอยากได้ กองทุนในดวงใจแล้วใช่ไหมครับ จะบอกว่าอดใจรอกันหน่อยนะ เราจะไปต่อกันที่บทความหน้ากัน EP 3 - สรุปผลการคัดกอง กองทุนตราสารหนี้ในดวงใจ หรือคลิกที่ Link นี้ => https://www.blockdit.com/articles/5d9a6f070383460db3d20e82
#หวังว่าจะชอบกัน
#ขอลอง ขอเล่า (style มนุษย์เงินเดือน)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา