Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.Sci
•
ติดตาม
9 ต.ค. 2019 เวลา 17:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แมงกะพรุนอมตะ Turritopsis nutricula:วงจรชีวิตผันกลับ...เคล็ดลับอมรณา??
แมงกะพรุนสกุล Turritopsis สิ่งมีชีวิตอมตะที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญ
หากพูดถึง "แมงกะพรุน (Jellyfish)" ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายคนก็คงมองว่าเจ้าสิ่งมีชีวิตตัววุ้นๆแบบนี้ นอกจากรูปร่างอันน่าพิศวงลอยไปลอยมาคงดูไม่มีอะไรที่น่าสนใจมากนัก แต่เชื่อมั้ยล่ะครับว่าแมงกะพรุนบางสกุลกลับซุกซ่อนคุณสมบัติหนึ่งที่เราถึงคนต่างคาดไม่ถึงนั่นคือ "ความเป็นอมตะ (Immortal)" ซึ่งถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ (อีกแล้ว) เรื่องมีอยู่ว่าในปี ค.ศ.1988 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีท่านหนึ่งลืมเก็บถังแมงกะพรุนตัวเต็มไวที่มีรูปร่างแบบระฆังคว่ำหรือที่เรียกว่า "เมดูซ่า (Medusa)"โดยไม่ไดสนใจอะไรมากนักพอผ่านไปสองสามวันเมื่อกลับมาดุในถังนั้นอีกครั้ง เขากับต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าแมงกะพรุนรูปร่างเมดูซ่าในวันนั้นกลับหายไปหมดแล้ว???? เหลือเพียงแต่แมงกะพรุนตัวอ่อนรูปร่างคล้ายร่มเล็กๆที่เรียกว่า ‘โพลิป’ (Polyp) ด้วยความตกใจจึงมีการศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าเจ้าแมงกะพรุนTurritopsis dohrnii ที่เก็บมานั้นมีความสามารถในการย้อนวัยตนเองให้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง!!! เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนเราเห็นผีเสื้อตัวเต็มวัยย้อนกลับไปเป็นดักแด้อีกครั้งแล้วโตเป็นตัวเต็มวัยอีกครั้งหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปัญหาคือพวกมันไม่ได้ย้อนวัยได้ครั้งเดียวแต่ทำได้เรื่อยๆ!! หรือจะเรียกว่ามันเป็น "อมตะ" นั้นเองแต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วมันอาจจะตายได้จากการติดเชื้อหรือถูกกินซะมากกว่าเมื่ออยู่ในธรรมชาตินะครับ
ความสามารถในการย้อนวัยอันน่าทิ่งนี้ทำให้แมงกะพรุนTurritopsis dohrnii สามารถโคลนนิ่งตัวเองและแพร่กระจายไปทั่วทุกน่านน้ำในโลก แม้มันจะเพิ่มจำนวนมหาศาลแต่ก็ไม่รบกวนระบบนิเวศในต่างถิ่นมากนัก
แล้วอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้มันเป็นอมตะหล่ะ?? แน่นอนว่าโดยธรรมชาติแล้วแมงกะพรุนปกติจะเติบโตจากตัวอ่อนในระยะที่เรียกว่าโพลิป (Polyp) จากหน่อเล็กๆคล้ายๆปะการังจากนั้นค่อยเติบโตเข้าสู่ตัวเต็มวัยในระยะเมดูซ่า (Medusa) ก่อนจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (Gemate) แล้วผสมกันเพื่อเข้ากลับเข้าสู่ระยะโพลิปอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฎจักรวนเวียนไม่รู้จบแต่สำหรับแมงกะพรุนอมตะแล้วมันกลับลัดขั้นตอนนี้ได้ (เฉ้ยเลย) โดยที่ตัวเต็มวัยระยะเมดูซ่าสามารถเปลี่ยนตนเองเข้าสู่ระยะโฟลิปได้เลยโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (หรือโคลนนิ่งตนเองไปเรื่อยๆ!!!) โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า" ทรานดิฟเฟอรเรนทิเอชั่น (transdifferentiation)" ซึ่งเปลี่ยนเซลล์เต็มวัยให้กลายเป็น
"เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cells)" ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและเติบโตที่ไร้ที่สิ้นสุด และนี้เองคือเคล็ดลับความเป็นอมตะของเจ้าแมงกะพรุนตัวน้อย ด้วยความที่มันแพร่กระจายอย่างรวดเร็วด้วยการโคลนนิ่งตนเอง และสามารถอยู่ในน้ำได้ตั้งแต่ช่วงอุณหภูมิ14 °C ถึง 25 °C ในปัจจุบันจึงพบการแพร่ระบาดของแมงกะพรุนชนิดนี้ทั่วทุกน่านน้ำทั่วโลก
องค์ความรู้เรื่องการย้อนวัยของแมงกะพรุนTurritopsis dohrnii ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Dr.Shinya Yamanaka นำมาพัฒนาวิธีการผลิต stem cell เลียนแบบกระบวนการในแมงกะพรุน จนได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ.2012
ด้วยความพิเศษของกลไกการย้อนวัยนี้เองทำให้มีการพัฒนากลไกเลียนแบบของเจ้าแมงกะพรุน โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Dr. Shinya Yamanakaได้ทดลองนำยีนของแมงกะพรุนอมตะไปฉีดในเซลล์ผิวหนังของหนูทดลองโดยเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกหรือไม่แสดงออกของยีนที่เรียกว่า ทรานสคริปชันแฟคเตอร์ (Transcription factors) โดยพบว่ามันสามารถสร้างกลไกการย้อนวัยแล้วเหนี่ยวนำให้เซลล์ย้อนกลับไปเป็น Stem cells ชนิดพิเศษที่เรียกว่าInduced pluripotent stem cells ( iPS cells หรือ iPSCs) โดยเจ้า iPSCs นี้สามารถเปลี่ยนแปลงและเติบโตเป็นอวัยวะทุกชนิดในร่างกายได้ พูดง่ายๆก็คือสเต็มเซลล์ iPSCs สามารถซ่อมแซมอวัยะวะทุกส่วนได้อย่างไม่จำกัด อย่างไรก็ตามแม้จะสามารถสร้าง iPSCs ได้แต่ก็มีความกังวลว่าสเต็มเซลล์ที่ได้อาจเกิดการกลายพันธุ์จนควบคุมไม่ได้ ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งแทนที่จะเป็น iPSCs ตามที่คาด เพราะกลุ่มของยีนที่ทำให้เกิดกระบวนการนี้เป็นกลุ่มเดียวกับยีนที่ควบคุมและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็ง (Tumorgenesis) ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นแล้วเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอขึ้นอยู่กับว่าเราจะควบคุมอย่างไร ซึ่งการพัฒนาเทคนิคiPSCs นี้ขึ้นมาทำให้Dr.Yamanaka ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี ค.ศ. 2012 จากองค์ความรู้ในการย้อนวัยของแมงกะพรุนนี้เอง
ท่านผู้อ่านหล่ะครับคิดเห็นกันอย่างไรกับเจ้าแมงกะพรุนอมตะหรือเราอาจช่วงชิงความเป็นนิรันดร์จากมันได้?
อ้างอิง
[1]
https://thematter.co/byte/immortal-jellyfish/42310
[2]
https://comicvine.gamespot.com/forums/off-topic-5/impurest-s-guide-to-animals-56-immortal-jellyfish-1649237/
[3]
https://en.wikipedia.org/wiki/Turritopsis_dohrnii
[4]
https://en.wikipedia.org/wiki/Induced_pluripotent_stem_cell
7 บันทึก
36
5
7
7
36
5
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย