Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.Sci
•
ติดตาม
10 ต.ค. 2019 เวลา 18:07 • ประวัติศาสตร์
ราเออร์กอต (Ergot of Rye) : เชื้อรามรณะพลิกประวัติศาสตร์สู่ยารักษาไมเกรน
คงไม่มีเชื้อราชนิดไหนที่ส่งผลต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของความรุนแรงได้เท่าราเออร์กอตอีกแล้ว สารเคมีที่มันสร้างขึ้นอย่าง Ergotamine แม้จะมีอันตรายถึงชีวิตแต่เรากลับพบเห็นมันในชีวิตประจำวันอย่างง่ายได้ในรูปของ "ยารักษาไมเกรน"
หากเรารู้สึกปวดหัวไมเกรนหนักๆ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายคนคงมีประสบการณ์แบบนี้กันมาแล้ว แต่โชดดีครับที่ทุกวันนี้เรามียาตัวนึงที่หลายๆคนคงรู้จักกันดีในชื่อ "ยาคาเฟอร์กอท (Cafergot )" ที่แก้ปวดไมเกรนได้ชะงัดนัก แต่ทราบมั้ยหล่ะครับว่ายาตัวนี้ต้นกำเนิดและประวัติศาสตร์ของมันเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัวสุดๆ (แค่พิมพ์ก็สยองแล้วครับ55)
1
ยาคาเฟอร์กอท หรือ ชื่อในทางการแพทย์จริงๆ คือ ยาเออร์โกตามีน (Ergotamine) เป็นยาที่มีองค์ประกอบหลักเป็นสาร Ergotamine ที่สกัดได้จากราเออร์กอต (Ergot mold) ซึ่งราในสกุลนี้มีอยู่หลายชนิดที่ผลิตสารเออร์โกตามีนแต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ Claviceps purpurea หรือ Ergot of rye ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในข้าวไรย์ (Rye) โดยเจ้าราชนิดนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเสียสติ เพ้อคลั่ง จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงและความตายในท้ายที่สุด เนื่องจากในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของยุโรปในยุคกลางมีการกล่าวว่า ผู้คนที่กินขนมปังที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อราเออร์กอต โดยเฉพาะกรณีของข้าวไรย์ที่เจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษในเขตอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง จะเกิดอากาศที่เรียกว่า "Ergotism" โดยผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากราเออร์กอตจะแสดงอากาศเสียสติ กล้ามเนื้อบิดซักอย่างรุนแรง เกร็งชักกระตุก และรู้สึกร้อนวูบวาบเหมือนมีอะไรคลานอยู่ที่ใต้ผิว ในสุดท้ายมีอากาศเนื้อตายบริเวณปลายแขนปลายขาจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่าโรค "ไฟศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์แอนโทนี่ (Saint Anthony's fire)" ตามชื่อคณะนักบวช St.Annthony ที่บันทึกปูมประวัติและรักษาโรคนี้ได้สำเร็จ แต่พวกเขาก็หาต้นตอโรคไม่พบ
อาการป่วยจากการบริโภคขนมปังที่ปนเปื้อนราเออร์กอต (Ergot mold) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซักเกร็ง กล้ามเนื้อบิด และรู้สึกร้อนวูบวาบเหมือนมีอะไรคลานอยู่ที่ใต้ผิว ทำให้อวัยวะขาดเลือดจนเกิดอากาศเนื้อตายในท้ายที่สุด ซึ่งในยุคกลางของยุโรป (ราว ค.ศ. 500-1,500) รู้จักกันดีในชื่อโรค "ไฟศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์แอนโทนี่ (Saint Anthony's fire)" จากอาการร้อนวูบวาบใต้ผิวหนังนี้เอง
โดยนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าการระบาดของเชื้อราเออร์กอตในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางในช่วงยุคกลาง (ราว ค.ศ. 500-1,500) มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกลับช่วงเวลาที่มีการล่าแม่มด (witchcraft accusations) ในยุคกลางของยุโรป เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติจากยุคน้ำแข็งน้อยและความแห้งแล้ง ทำให้ข้าวไรย์ซึ่งเติบโตได้ดีในพื้นที่ยุโรปตอนกลางขาดแคลนและบวกกับอากาศที่แห้งแล้งและชื้นแบบนี้ทำให้ราเออร์กอตเติบโตได้ดีในข้าวไรย์ที่เก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะเปลี่ยนข้าวเป็นสีน้ำตาลดำและมีสปอร์ของรางอกออกมา(สยองแป๊ป!!!) แต่ประชาชนผู้ไม่ทางเลือกในภาวะอดอยากแบบนี้ต้องกินแป้งข้าวไรย์ที่ปนเปื้อนอย่างไม่มีทางเลือก!!! เพื่อปะทังชีวิตในภาวะอดอยากแบบนี้ โดยพวกเขาหารู้ไม่ว่ามันจะส่งผลถึงชีวิตเพราะทำให้เกิดภาพหลอน และอาการเพ้อคลั่ง จนทำให้บ้างคนมโนไปไกลว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้และเสียสติในท้ายที่สุด ซึ่งบังเอิญ ๆ ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้คนเหล่านี้คือสาวกของชาตานและเป็นแม่มด ท้ายที่สุดนำไปสู่โศกนาฎกรรมการล่าแม่มดขนานใหญ่ในยุโรปในช่วงยุคกลาง เห็นมั้ยหล่ะครับเชื้อราเล็กๆนิดเดียวมันสร้างผลกระทบใหญ่หลวง (ในทางที่แย่) ขนาดไหนกัน!!
นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของความรุนแรงและโศกนาฎกรรมการล่าแม่มดครั้งใหญ่ในยุโรปยุคกลางส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากสภาพภูมิอากาศ อาหารที่ขาดแคลนและที่สำคัญราเออร์กอตเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในเหตุการณ์นี้
ซึ่งการระบาดของราเออร์กอตมีการบันทึกว่าเกิดขึ้นหลายครั้งในน่าประวัติศาสตร์แต่เกิดต่างที่ต่างเวลากัน โดยทุกเหตุการณ์มักจะเชื่อมโยงกับสภาพอากาศที่เหมาะกับการระบาดของราเออร์กอต แต่ใช่ว่าเชื้อราชนิดนี้จะมีแต่โทษอย่างเดียวนะครับ มันยังซ่อนคุณสมบัติที่มีประโยชน์ไว้ด้วย
จนกระทั่งล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการแยกเอาสารประกอบแอลคาลอยด์ที่สำคัญจากราเออร์กอตคือ "Ergotamine" โดย Arthur Stoll ในปี ค.ศ.1918 เพื่อนำมาผลิตเป็นยาเออร์โกตามีนสำหรับลดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาการตกเลือดจากการตั้งครรภ์ และอื่น ๆ เรียกได้เป็นยารักษาอาการปวดที่ดีมากตำรับหนึ่งเลย เนื่องจากตัวมันมีโครงสร้างคล้ายกับสารสื่อประสาทในกลุ่ม serotonin, dopamine, และ epinephrine จึงจับกับตัวรับแทนสารสื่อประสาทเหล่านี้มีฤทธิ์ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว และส่งสารสื่อประสาทไปยังสมองเพื่อลดอาการปวดศีรษะ อย่างไรก็ตามเจ้าเออร์โกตามีนหากใช้ในปริมาณมากเมื่อใช้ร่วมกับยาที่เพิ่มความรุนแรงของตัวยาทั้งสอง จะทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายขาดเลือด เช่น แขนขาเขียว ปวด และหากยังไม่ได้รับยาหรือการรักษาที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัวได้ทันท่วงที อาจทำให้เซลส์ของอวัยวะนั้นๆ ดำจนเกิดเนื้อตายได้ ต้องตัดแขนขาส่วนนั้นทิ้ง หรือหากเส้นเลือดในสมอง เส้นเลือดหัวใจตีบก็อาจเสียชีวิตได้เหมือนที่ออกตามข่าวบ่อย ๆ นอกจากนี้การใช้ยาเออร์โกตามีนร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้าอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวาย สับสน ชักเกร็งได้ ฉะนั้นแล้วเหรียญย่อมมีสองด้าน แม้เออร์โกตามีนจะมีฤทธิ์ดีแค่ไหนแต่ถ้าใช้ผิดวิธีอาจจำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายได้ทางที่ดีปรึกษาหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งนะครับ
ยาเออร์โกตามีนที่สกัดมาจากเชื้อราเออร์กอตปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในฐานะยารักษาอาการปวดขั้นรุนแรง แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังนะครับไม่งั้นอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
เห็นมั้ยล่ะครับท่านผู้อ่านว่าจากราเออร์กอตสุดแสนอันตรายในหน้าประวัติศาสตร์ก็มีเรื่องเล่ามากมายทั้งด้านที่ดีและไม่ดี สุดท้ายแล้วก่อนหยิบอะไรมาใช้ทุกครั้ง.......ลองตั้งคำถามกับนเองว่าของธรรมดาๆในชีวิตประจำวันเรามันช่างมีเรื่องน่าตื่นเต้นอะไรบ้างให้เราเรียนรู้??? ถ้าอยากทราบเรื่องราวดีๆแบบนี้อีกอย่าลืมติดตามผลงานแบบนี้ได้ทางบล๊อกของเรานะครับ
อ้างอิง
[1]
https://cropwatch.unl.edu/2017/has-ergot-altered-events-world-history
[2]
http://www.botany.hawaii.edu/faculty/wong/BOT135/LECT12.HT
[3]
https://www.sanook.com/health/1661/
[4]
https://en.wikipedia.org/wiki/Ergotism
[5]
https://en.wikipedia.org/wiki/Ergotamine
[6]
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8825693
[7] file:///C:/Users/ASUS/Downloads/Ergotamine-induced%20ergotism%20(2).pdf
9 บันทึก
22
4
11
9
22
4
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย