12 ต.ค. 2019 เวลา 05:20 • ความคิดเห็น
หัวหน้า รปภ. ประจำโรงงาน🔎
ในอดีตพอรู้แค่ว่า รปภ. ประจำโรงงาน เป็นบริษัท รปภ. ที่โรงงานจ้างมาดูแลโรงงานอีกที
รู้แค่ว่าทำงานกะเช้า กับ กะดึก มายืนตรวจหมดหน้าที่ในกะก็กลับบ้าน ถึงกะต้องทำงานมาใหม่ไม่ได้มีอะไรมากมาย
ในส่วนของปีนี้ มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับงาน รปภ. มากขึ้น รู้ระบบงานรักษาความปลอดภัย และได้รับรู้การปฏิบัติงานทุกอย่าง ของ รปภ.
จนทำให้รู้ว่า พนักงาน รปภ. ที่เราเคยเห็น เราไม่เคยสนใจ ไม่เคยใส่ในสิ่งที่เขาทำ เมื่อมารู้รายละเอียดในงานจึงทำให้รู้ว่า
ไม่ว่าจะตำแหน่งอะไร บทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบก็มีความสำคัญต่อองค์กร
รปภ. ทำอะไรบ้างในโรงงาน⛑
1. วันหยุดยาว วันหยุดประจำปีของโรงงาน รปภ. ห้ามหยุด ห้ามลา ต้องมีคนมาทำงาน 24. ชม.
2. ทรัพย์สินของโรงงานสูญหาย บริษัท รปภ.จะหักเงินเดือน รปภ. เพื่อนำมาชดใช้ค่าเสียหายคืนให้โรงงาน
3. ชุดยูนิฟอร์ม ต้องซื้อเองราคาประมาณ 2,××× / ชุด หากไม่มีเงินสดจ่าย ต้องถูกหักในเงินเดือนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพอค่าชุด
4. ตาม พ.ร.บ.งานรักษาความปลอดภัย ระบุให้ อาชีพ รปภ. ต้องผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียน ค่าอบรม ค่าเดินทางค่าใช้จ่ายต่างๆต้องจ่ายเองเนื่องจากใบอนุญาตนี้จะติดตัว รปภ.ไปตลอด (บริษัท รปภ.แจ้ง)
3. ควบคุมให้พนักงานของโรงงาน ปฎิบัติตามกฎระเบียบ พอควบคุมมากๆก็จะโดนพนักงานตะโกนด่า ✌
4. ยืนปฏิบัติงานต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง เวลาพักในตัว
5. พนักงานของโรงงาน ตั้งใจทำผิดกฎระเบียบ พอถามว่าทำไมถึงทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิด ได้คำตอบว่าก็ รปภ.ปล่อยให้ทำไม่เห็นว่าอะไรก็เลยทำ😅
6. ค่าจ้างที่โรงงานจ้าง บริษัท รปภ. 2×,××× บาท/คน/เดือน แต่ รปภ.ได้รับจริงประมาณ 12,××× บาท/คน/เดือน
📢 ผู้เขียนถ่ายทอดข้อเท็จจริง แค่ในมุม ของ รปภ. มุมเดียวนะคะ ยังไม่ได้มองให้มุมกว้างขึ้น และถ่ายทอดแค่ประสบการณ์ที่ได้รับรู้มา ซึ่งแต่ละโรงงานอาจแตกต่างกัน
มาดูในส่วน งานหัวหน้า รปภ. ล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง ?
หัวหน้า รปภ.ในที่นี้หมายถึงพนักงานของโรงงานมีหน้าที่กำกับดูแล รปภ.อีกที
หน้าที่ หัวหน้า รปภ.ประจำโรงงาน ⛑⛔
1. เมื่อ บริษัท รปภ. หมดสัญญากับโรงงาน โรงงานสามารถเลือก รปภ.คนที่ทำงานดีไว้ต่อได้ และเลือกที่จะไม่เอาได้เช่นกัน
- ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่ลำบากใจที่สุด มองหน้า รปภ.แต่ละคน สุดท้ายความสงสารก็ก่อตัวขึ้นมา...ทางที่เลือกคืองานก็ต้องมีคุณภาพ รปภ.ก็ต้องไม่ตกงาน 😥
2. การบังคับบัญชา เมื่อหัวหน้า รปภ.เป็นผู้หญิง
ยอมรับว่ายากมากถึงจะมีบริษัท รปภ.ดูแลให้ แต่เวลางาน รปภ.ทำงานกับโรงงาน 24 ชม.ทุกวัน ซึ่งการกำกับดูแลหลักจึงต้องเป็นของ หัวหน้า รปภ.
การกำกับดูแลไม่ว่าจะทีมงาน หรือ รปภ. ทุกคนทุกตำแหน่งก็ต้องการเหตุผล การปฏิบัติแบบสุภาพ และใช้อำนาจตามหน้าที่ จึงจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ
3. ทำงานหนักและจริงจังกับงาน
เมื่อหัวหน้าทำงานหนัก จริงจังและทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องเห็น ลูกน้องจะเกิดความเชื่อและปฏิบัติตามคำสั่งทำให้งานบรรลุเป้าหมาย
4. แก้ไขปัญหาให้ลูกน้อง
เมื่อต้องดูแล รปภ. รปภ.ก็คือคนในทีมงาน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องรีบจัดการแก้ไขปัญหาให้ทีม แล้วงานจะเดินต่อไปได้
อย่าปล่อยให้ลูกน้องมีปัญหาค้างนาน และต้องทำตัวให้ลูกน้องกล้าเข้าหาจึงจะรู้ปัญหา และจะสามารถแก้ไขได้
ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเอง จึงอยากถ่ายทอดประสบการณ์ให้ทุกท่านได้อ่าน
เป็นกำลังใจให้ สาวโรงงาน🌳 ได้ถ่ายทอดความรู้สึก และประสบการณ์ในรั้วโรงงาน ให้ทุกท่านได้ติดตาม
ขอกำลังใจ💚
#กดติดตาม
#กดไลท์
# comment
#สาวโรงงานกันด้วยนะคะ😊
โฆษณา