12 ต.ค. 2019 เวลา 01:48 • ธุรกิจ
เพิ่งนับ stock เองน๊าาา...สต็อกdiffอีกแล้วเหรอ😳
เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาเดียวกัน...เมื่อถึงเวลาที่ต้องนับสต็อกก็ต้องเตรียมแผนการนับสต็อกกัน....
ซึ่งแน่นอนเลยว่า...การจัดเตรียมสินค้าให้เป็นหมวดหมู่
หยุดการสั่งซื้อ...และการหยุดทุกๆกิจกรรมในคลังสินค้า...ตั้งแต่กระบวนการรับสินค้า เบิกและจ่ายรวมถึง
การปรับสต็อก ต้องอยู่ในแผนด้วย...
และอาจเวลาในการหยุดกิจกรรม 1 วัน 3 วัน 5 วัน แล้วแต่จำนวนและปริมาณของสินค้าของแต่ละคลังสินค้านั้นๆ
และเมื่อนับสต็อกจบ....สรุปผลทำการ reconcile...ทำการปรับยอดให้ตรง....เป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย
.
.
.
.
2 สัปดาห์ต่อมา...คือ สต็อกdiff อีกแล้ว 😅😅😅
หลายๆที่....ของคลังสินค้าก็คงเป็นเหมือนกันโดยเฉพาะคลังฯที่มีกิจกรรม 24 ชั่วโมง...สต็อกเคลื่อนไหวตลอดเวลา
หรือแม้แต่...คลังสินค้าที่ไม่ได้เปิดoperate 7 วัน 24 ชั่วโมงก็เชื่อว่ามีผลdiff แน่นอน
============================
1️⃣คำถาม: ค่าใช้จ่ายในการนับสต็อกเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องเพียง 2 สัปดาห์...คุ้มมั้ย❓❓❓
อีก 50 สัปดาห์ที่เหลือของปี....สต็อกก็ diff กันไป
คำตอบ: .........(ลองคำนวณแล้วตอบกันดูนะคะ)
2️⃣คำถาม: เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสการขายทางหน้าร้านต้องเก็บสต็อกเพิ่มขึ้นแน่นอน...ใช่มั้ย❓❓❓
คำตอบ: (น่าจะตอบว่าใช่กันทุกคน)
3️⃣คำถาม: เอาค่าใช้จ่ายก้อนนี้...ทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้
สต็อกของบริษัทถูกต้องในระดับที่รับได้ตามเป้าหมายที่กำหนด❓❓❓
คำตอบ: ........(ตอบอย่างไรกันบ้างคะ)
จากคำถามทั้ง3 ข้อนี้...หนิงและทีมงานช่วยกันคิดปรับเปลี่ยนวิธีการ...ว่าเราจะทำกันอย่างไรเพื่อให้งานในคลังสินค้าทุกกิจกรรมยังคงดำเนินต่อไปได้...หน้าร้านไม่สูญเสียโอกาสการขาย...
เมื่อเรามองหา...เราก็จะมองเห็น
ดังนั้น...การทำ Cycle Count จึงถูกพัฒนา...ยกระดับขึ้นให้รองรับวัตถุประสงค์นี้
โดยปกติ...การนับสต็อกปีละ1-2 ครั้ง
พอเราเปลี่ยนวิธีการเป็นแบบ Cycle Count ...เราสามารถทำการนับได้ถึง 6-8 รอบต่อปี
ถ้าหนึ่งรอบการนับใช้เวลา 60 วัน ในหนึ่งปีสามารถนับได้ 6รอบ (365/60)
ถ้าหนึ่งรอบการนับใช้เวลา 45 วัน ในหนึ่งปีสามารถนับได้ 8 รอบ(365/45)
เมื่อสามารถทำการนับได้มากรอบขนาดนี้แล้ว...สิ่งที่เราต้องมีเพื่อสนับสนุนการทำ Cycle Count คือ
✅ กำลังคน
✅ เครื่องมือHand Held หรือ Tablet
✅ ระบบ cycle count
โดยนำbudget ที่ใช้ในการนับstock มาบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนเหล่านี้ ด้วยแนวคิดที่ว่าใช้เงินเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ได้การสอบทานเพิ่มขึ้นหลายรอบ
ดังนั้น...แผนการนับแบบ cycle count ถูกนำเสนอให้กับ internal audit และ external audit และปรับ/แก้ กันอยู่หลายรอบ
ในที่สุด...ที่คลังสินค้าของเราในปัจจุบันนี้...ก็ไม่เคยหยุด
กิจกรรมใดๆเพื่อการนับสต็อกอีกเลย...ความถูกต้องอยู่
ในเกณฑ์ที่บริษัทตั้งเป้าหมายไว้
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ....การปรับปรุง...เปลี่ยนแปลงจากศูนย์ต้นทุนเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ ที่ได้ผลลัพธ์ดีทั้งภาพรวม
ขององค์กร....
#warehouseเล่าเรื่อง #แวร์เฮ้าส์เล่าเรื่อง
#แวร์เฮ้าส์สตอรี่ #warehousestory
โฆษณา