13 ต.ค. 2019 เวลา 11:31 • การศึกษา
วิวัฒนาการ..
การศึกษาของไทย
🇹🇭🇹🇭🇹🇭
📌 ก่อนกรุงสุโขทัย
• กิจกรรมทางการศึกษามีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของคนในอาณาจักรล้านนาไทย คือกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าชาวล้านนาสนใจการศึกษา และปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
รวมถึงความรู้ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมประติมากรรมตลอดจนศิลปะช่างต่างๆ ที่เจริญก้าวหน้าในอาณาจักรล้านนา เช่น ช่างทอง ช่างเงิน
📌 กรุงสุโขทัย พ.ศ.1792-1892
• มีการแบ่งการศึกษาออกเป็นสองสายคือ
1) ฆารวาส >> เน้นด้านวิชาชีพ เรียนรู้ในครอบครัว
2) สายบรรพชิต >> เน้นการศึกษาพระไตรปิฎกพระเจ้าแผ่นดิน
และในปีมหาศักราช 1205 (พ.ศ.1826)
✏️พ่อขุนรามคำแหง ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
เรียกว่า “ ล า ย สื อ ไ ท ย “
📌กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.1893-2310
• วัดเป็นศูนย์กลาง พระสงฆ์มีบทบาทในการจัดการศึกษา
• วิชา เช่น การทำนา ทำสวน การช่างต่างๆผู้ชายจะเน้นทางศิลปะป้องกันตัว เช่น มวย ฟันดาบกระบี่กระบอง
• ราชสำนัก เน้นสอนกฎหมาย อักษรศาสตร์ ราชประเพณี
• วิชาปกครอง เช่น การสู้รบ
• ยุคเฟื่องฟู >> ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเกิดวรรณคดีมากมาย เช่น สมุทโฆษคำฉันท์ ลิลิตพระลอ อนิรุทธิ์คำฉันท์
[[จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย]]
ผู้แต่ง : พระมหาราชครู
📌กรุงธนบุรี พ.ศ.2310-2325
• เป็นช่วงสมัยที่เกิดการทำสงคราม
• การศึกษาจึงไม่เจริญก้าวหน้านัก
แต่เป็นการเริ่มต้นพื้นฐานทางการศึกษาที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
# สมัยกรุงธนบุรีได้วางพื้นฐานทางด้านการค้า ศาสนา อักษรศาสตร์ ไว้ให้ราชอาณาจักรไทย
📌กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1-ร.4)
พ.ศ. 2325-2410
• แนวการจัดการศึกษาเริ่มมีแบบแผนมีแบบเรียน
- จินดามณี
- หนังสือประถม ก กา
- ปฐมมาลา
•ในราชสำนัก มีปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นผู้ให้ความรู้แก่พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงค์
• การศึกษาของสามัญชน “วัดเป็นศูนย์กลาง”
เป็นแหล่งความรู้โดยมีพระเป็นผู้สอนหนังสือ
ให้รู้จักการอ่าน เขียน คิดเลขเป็น พร้อมทั้งสอดแทรกจริยธรรม และหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
• มีการกำหนดหลักการ และวิธีการในการจัดการศึกษาเรียกว่า “มาติกาการศึกษา”
• มีหนังสือเรียน 5 เล่ม คือ
✏️ประถม ก กา
✏️สุบินทกุมาร
✏️ปฐมมาลา
✏️ประถมจินดามณี เล่ม1
✏️ประถมจินดามณี เล่ม2
📌สมัยการปฏิรูปการศึกษา (ร.5-ร.7)
พ.ศ.2411-2475
• สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคของการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง มีการปฏิรูปด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปกครอง สังคม กฎหมายรวมทั้งการศึกษา
• เกิดระบบโรงเรียนเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่ทำให้เกิด “พระราชบัญญัติประถมศึกษาในปี พ.ศ.2464”
• ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
- การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก
- อิทธิพลของชาวตะวันตก
- การศึกษาในระบบโรงเรียนที่ ร.5 ทรงศึกษาและทอดพระเนตรจากต่างประเทศ
- ความขาดแคลนบุคคลที่มีความรู้เพื่อมารับราชการ
รัชกาลที่ 5 >>✏️พ.ศ. 2435 ตั้งกระทรวงชื่อว่า “กระทรวงธรรมการ” ซึ่งเป็น #กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน >>✏️พ.ศ. 2453 ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแห่งแรงของไทย)
รัชกาลที่ 6 >> ✏️ มีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง
รัชกาลที่ 7 >> ✏️ การศึกษายึดคุณภาพไม่ใช่จำนวน
📌สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
(พ.ศ.2475-2503)
• เกิดแผนการศึกษาแห่งชาติ 3 ฉบับ
ใน พ.ศ.2475 พ.ศ.2479 และ พ.ศ.2494
นโยบายการศึกษา พ.ศ.2520-2559
• เน้นการพัฒนาการศึกษาตามแบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-11
📌 การปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ.2561-2580
เน้นการขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0
[[สอดคล้อง]]
- ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564)
- แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 ถึง 2579
และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการการศึกษาของไทย จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสังคมของโลก..และสิ่งที่ขาดไม่ได้ของการศึกษาคือการสอนวิชาการควบคู่ไปกับคุณธรรมและจริยธรรม❤️ ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่อ่านจนจบ
<<สรุปมาจากหนังสือครูพี่หนึ่ง>>
หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย และฝากกดติดตามด้วยนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจในการลงข้อมูลในครั้งต่อๆไป....🙏🏻
สมัยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนักศึกษาฝึกสอน
โฆษณา