13 ต.ค. 2019 เวลา 12:32 • การศึกษา
สมองดีอยู่ที่พันธุกรรมหรือ ?
ถ้าเราบังเอิญเห็นใครคนนึงที่เก่งมาก จะทำอะไรก็เก่งไปหมด แล้วหันกลับมามองตัวเองเศร้าๆ คิดได้แค่ว่าเขาทำบุญมาด้วยอะไร เราคงไม่มีวันเป็นอย่างเขาได้แล้วละก็ ... คิดผิดคิดใหม่ได้เลยค่ะ
ถึงนักวิทยาศาสตร์จะยอมรับว่าพันธุกรรมมีผลกับระดับสติปัญญาของมนุษย์ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น
งานวิจัยใหม่ๆ ออกมายืนยันแล้วว่าการฝึกฝนและการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอนั้นสมารถทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพได้ดีขึ้นอย่างมาก
บางส่วนสมองต้องใช้ประสบการณ์กระตุ้นเท่านั้นจึงจะได้ผลทำให้สมองดีขึ้น เช่น การมอง การฟัง การสัมผัส การเคลื่อนไหว ดังนั้น หากเราต้องการฝึกทักษะกลุ่มนี้ ต้อง
" ลงมือทำ "
และ " ทำเป็นประจำ " เท่านั้น
จึงจะกระตุ้นสมองได้จริง เช่น การเรียนเขียนภาษา การฟังภาษาต่างประเทศ การเต้นหรือการเล่นกีฬา เป็นต้น
งานวิจัยบอกชัดเจนว่า ทักษะเหล่านี้ เราเกิดมาเก่งเลยไม่ได้ค่ะ ถึงบางคนจะโชคดีด้านกายภาพ เช่น ร่างกายสูงใหญ่ก็ได้เปรียบถ้าอยากเล่นบาสเก็ตบอล หรือผอมเพรียวก็ได้เปรียบหากเป็นนักเต้นบัลเลต์
แต่จริงๆแล้ว ถ้าเราไม่ " ลงมือฝึก" ทักษะเหล่านี้ด้วยตัวเองก็ยากจะเก่งได้แน่นอน ลองดูนักกีฬามืออาชีพอย่างไทเกอร์ วูดส์สิ่คะ
ไทเกอร์ วู้ดส์
เขาฝึกซ้อมเอาจริงเอาจังมาก ไม่เคยบิดพริ้วเลย และเขาก็เก่งขึ้นจริงๆเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าเราดูตารางการฝึกซ้อมขอฃเขาจะเห็นได้เลยว่าสมองของเขาเป็นเพลงต้นทุนเท่านั้น แต่ " ผลกำไร " มาจากความพยายามของเขาเองจริงๆ
ลองดูนะคะ เราต่างคนต่างได้ " ต้นทุน " คือสมองก้อนนี้มาแล้ว ลองเอามา " ลงทุนเพิ่ม " ด้วยการฝึกฝนพัฬนาตัวเองกันนะคะ อย่างที่โบราณว่าไว้ " ความรู้อาจเรียนทันกันหมด " และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ออกมาสำทับแล้วว่าจริง
เพราะฉะนั้น วันนี้เห็นใครเก่ง .. เลิกอิจฉาได้เลยค่ะเปลี่ยนเป็นเอาเขามาเป็นแรงบัลดาลใจดีกว่าชีวิตคิดบวกแบบนี้ได้กำไรกว่ากันเยอะเลย
Cr. ภาพ khaosod
Cr. บทความ หนูดี วนิษา เรช
(หนังสือ อัจฉริยะ .. เรียนสนุก)
โฆษณา