14 ต.ค. 2019 เวลา 04:27 • ประวัติศาสตร์
พระเบญจภาคี
การเกิดของพระเบญจภาคี เริ่มเมื่อประมาณปี 2490
โดย พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ "ตรียัมปวาย" โดยท่านและเพื่อนที่พบปะกันบ่อยๆ ของผู้นิยทพระเครื่องพระบูชา
ที่ "บาร์มหาผัน" ได้เสนอความเห็นในวงสนทนาว่าจะห้อยพระชนิดใดให้มีความเหมาะสมและสวยงาม
จึงได้เลือก "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" เป็นองค์ประธาน เพราะศรัทธาและเลื่อมใสในเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต และด้วยขนาดรูปทรงและความสวยงามของพระจึงถูกวางไว้เป็นองค์ประธาน
พระสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
องค์ที่สองได้จัดให้ "พระนางพญา" เป็นองค์ขวา ซึ่งเป็นพระเก่าที่มีความนิยมและประวัติการสร้างก็มีความสำคัญกับประเทศไทย ที่สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และ พระราชชนนีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระที่สร้างในสมัยอยุธยา
องค์ที่สาม "พระรอดลำพูน" (พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน) ตามตำนานว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เจ้าผู้ครองเมืององค์แรกของนครหริภุญชัย
พระที่สร้างในสมัยทวารวดี
"ว่ากันว่าในคราวแรกเลย จัดเพียงไตรภาคี คือแค่ 3 องค์ ซึ่งก็มากมายด้วยพุทธคุณและความสวยงามเพียงพอแล้ว" แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าขนาดพระของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กับพระรอดที่ห้อยคู่กันนั้น ขนาดไม่เท่ากัน องค์หนึ่งใหญ่กว่าอีกองค์หนึ่ง ไม่ค่อยสมดุลเท่าไรนัก จึงคิดจะจัดชุดให้เป็น 5 องค์จะได้เป็นพระชุดใหญ่เต็มสร้อยพอดี
องค์ที่สี่ "พระกำแพงซุ้มกอ" (ตอนแรกจัดปางลีลา แต่เพราะพระทั้งหมดเป็นพระประทับนั่งจึงเปลี่ยน) พระกรุทุ่งเศรษฐี
พระสร้างสมัยสุโขทัย
องค์ที่ห้า "พระผงสุพรรณ" (หน้าแก่) โดยมีจารึกลานทองระบุว่าพระมหาปิยะทัตสะสี ศรีสารีบุตรเป็นประธานในการสร้างบรรจุไว้
พระสร้างสมัยอู่ทอง
"จึงได้มาเป็นพระชุดเบญจภาคีขึ้นในครั้งแรก และผู้นิยมสะสมพระเครื่องต่างก็ยอมรับและชื่นชมในความสามารถที่จัดชุดพระยอด"
พระสมเด็จฯวัดระฆัง (พระประธาน) ซึ่งพุทธคุณครอบจักรวาล
พระนางพญา พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยมอยู่ยงคงกระพันชาตรี
พระกำแพงซุ้มกอ พุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์
พระรอด พุทธคุณเด่นด้านแคล้วคลาดนิรันตราย
พระผงสุพรรณ นั้นพุทธคุณเด่นทางด้านโภคทรัพย์ แคล้วคลาด อยู่ยง
หมายเหตุภาพและข้อมูลบางส่วนนำมาจากเว๊บไซต์ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย แต่ไดจัดเรียงข้อมูลและลำดับไว้ตามความเข้าใจของผู้เขียน เพื่อบันทึกไว้เป็นความรู้ประกอบในการศึกษาพระเครื่องพระบูชา
ภาพประกอบจากสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย
โฆษณา