14 ต.ค. 2019 เวลา 13:30 • การศึกษา
ตะคริวคืออะไร ทำไมถึงได้ปวดขนาดนี้ ?
วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องของตะคริว เพิ่มเติมกันสักเล็กน้อยดีกว่าครับ
☺️☺️☺️
ตะคริว เกิดจากการหดและเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อ บริเวณนั้นๆ
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นบริเวณน่องขาของเรา
ตะคริวเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ถึงแม้ว่าเราจะรู้จักตะคริวมาเป็นเวลานาน แต่เราก็ยังคงบอกไม่ได้อย่างชัดเจน ว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
เพราะในบางครั้ง เราอยู่เฉยๆ ก็ยังสามารถเป็นตะคริวได้
เพราะฉนั้นแล้ว สาเหตุที่สามารถบอกได้ จึงเป็นเพียงสาเหตุคร่าวๆเท่านั้น
โดยที่สาเหตุการเกิดตะคริว คือ
🔸กล้ามเนื้อทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหรือ ยืนนานๆโดยไม่ขยับ และอีกหลายๆเหตุผล
ซึ่งกิจกรรมใดๆก็ตาม ที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก สุดท้ายแล้ว เมื้อกล้ามเนื้อนั้นอ่อนล้ามากๆ ก็จะทำให้มันเกร็งตัว จนเกิดเป็นตะคริวในที่สุด
🔸ร่างกายของเราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหลักของ การเกิดตะคริว ในสตรีมีครรภ์ เพราะร่างกายนำแร่ธาตุ ไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
นอกจากนี้การตั้งครรภ์ยังทำให้ กระเพาะปัสสาวะ อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
ทำให้ร่างกายของผู้ที่ตั้งครรภ์นั้น จะขาดแร่ธาตุที่จำเป็นอย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม และน้ำ
🔸อุณหภูมิที่ลดลง ผิวหนังและกล้ามเนื้อของเราก็จะหดลงด้วยเช่นกัน ทำให้ในบางครั้ง การที่เราอยู่ในสถานที่ ที่มีอากาศหนาวนั้นก็มีโอกาศที่จะทำให้เป็นตะคริวได้เหมือนกัน
🔸ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เนื่องจากมียาบางชนิดที่สามารถทำให้กล้ามเนื้อของเราหดตัวได้ เช่น สเตอรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ
1
🔸ปัญหาสุขภาพ หรือว่าโรคบางโรคนั้น สามารถทำให้เราเป็นตะคริวได้ เช่น โรคประสาท โรคไต และโรคไทรอยด์
ตะคริว ตอนนอนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เหตุผลของการเกิดตะคริว ขณะที่เรากำลังนอนหลับนั้น อาจเกิดได้จากหลายๆ เหตุผลด้านบนมาประกอบกัน ซึ่งเราก็ไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเกิดจากอะไร
แต่เราสามารถป้องกันการเกิดตะคริวเบื้อต้นในขณะที่เรานอนหลับได้ครับ
ก่อนนอนเราอาจจะดื่มน้ำสักแก้ว เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆให้กับร่างกาย
และการนอนควรอยู่ในท่าที่สบาย ไม่มีส่วนใดของร่างกายที่เกร็ง
อาจจะห่มผ้าสักผืน เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย
เท่านี้การเป็นตะคริวในกลางดึกของเราก็จะลดลงแล้วละครับ
ทุกคนมีวิธีแก้การเกิดตะคริวอย่างไรกันบ้าง อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนกันได้ที่ช่องคอมเม้นด้านล่างนะครับ
ขอบคุณบทความต้นฉบับ
วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 14/10/2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา