ขอแนะนำรายการที่เบิกไม่ได้แต่ควรตรวจ เช่น
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดผ่านน้ำลาย ใครที่ไม่ชอบใช้ช้อนกลาง ดื่มน้ำแก้วเดียวกับคนอื่นบ่อยๆ ระวังจะแจ็คพอต ค่าตรวจหลักร้อย ถ้าตรวจแล้วไม่เจอควรฉีดวัคซีน ประมาณ 1,000 กว่าบาท (ที่ รพ.ศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอนมีบริการ)
- มวลกระดูก ดูความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุเกิน 30 ปี ผญ.ที่เคยมีลูก มวลกระดูกอาจถูกลูกนำไปใช้ช่วงตั้งครรภ์ ใครอยากเพิ่มมวลกระดูกให้กินผัก อาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ ผักหลายอย่างมีแคลเซียมมากกว่านมและราคาถูกกว่าในปริมาณที่เท่ากัน เช่น มะรุม และออกกำลังกายที่กระตุ้นการใช้แรงต้าน เช่น ยกดรัมเบล
- สภาพความสมบูรณ์ของเซลล์เมื่อเทียบกับอายุ เพื่อให้ทราบสภาพร่างกายตัวเอง ณ อายุปัจจุบันเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ตรวจแล้วพบว่าค่าออกมาแก่เกินอายุ เช่น อายุ 30 ปี ผลตรวจเซลล์ ปสภ.การทำงานของ ตับ ไต ฯลฯ เทียบเท่าคนอายุ 40 ปี จะได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย เสริมสร้างส่วนที่ขาด เผาผลาญส่วนที่เกินให้กลับมาปกติ
- มะเร็ง มีทั้งลำไส้ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ เลือกตรวจได้ตามความเสี่ยงและอายุ ผู้หญิงที่อายุเกิน 30 ปี ควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี ค่าตรวจ 1,000 กว่าบาท ตรวจสอบวัน เวลาก่อนเข้าตรวจ อาจไม่ได้เปิดตรวจทุกวัน ตรวจที่ มส. จะส่งผลไปตรวจที่ ชม., มีวิธีตรวจหลายวิธี ค่าตรวจแพงขึ้นตามความแม่นยำของเครื่องมือ, รอผลประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หากตรวจพบว่าไม่เป็นมะเร็ง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ โดยเข็มแรกและเข็มที่ 2 ห่างกัน 1 เดือน อีก 4 เดือนฉีดเข็มสุดท้าย รวม 3 เข็ม ราคาประมาณ 7,000-10,000 บ. (ที่ ชม.รพ.นครพิงค์ ราคาต่ำสุด กทม. รพ.ธรรมศาสตร์ถูกกว่าที่อื่น และมีบริการนอกเวลาทำการเพิ่มค่าธรรมเนียมราว 100 บ.) ฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แนะนำผู้หญิงอายุ 9-45 ปี และผู้ชายอายุ 9-26 ปี หากได้รับวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีจะทำให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงทำให้ได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ วัคซีนมีประสิทธิภาพประมาณ 10 ปี