17 ต.ค. 2019 เวลา 02:57 • การศึกษา
Moon sets at Wat Phra That Doi Suthep 2019.
ดวงจันทร์ตก ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ 2562
Image information : Camera : Fuji XT10 Lens : Asrtotech telescope 1100 mm F8 (1,650 mm equivalence) Aperture : F8 Exposure : 1/400 Sec(Moon) 1 Sec(Temple) ISO : 1250(Moon) 800 (Temple) WB : 5500 Technic : 2 Images blending Crop : approx 10%
ชวนกันถ่ายภาพดวงจันทร์ตก ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ปีนี้ตรงกับเทศกาลลอยกระทงพอดี ถ่ายภาพได้สองวันดังนี้ครับ
Image information : Camera : Nikon D800 set to APSC mode Lens : Asrtotech telescope 1100 mm F8 (1,650 mm equivalence) Aperture : F8 Exposure : 1/640 Sec(Moon) 1 Sec(Temple) ISO : 1600 (Moon) 800 (Temple) WB : 5500 Technic : 2 Images blending Crop : approx 10%
========================================
เช้ามืดวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562
เวลานัด 04:30 น. ดวงจันทร์ผ่านวัดพระธาตุประมาณ 05:08 น.
พิกัดคร่าวๆ ด้านหลังปั้ม ปตท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริเวณลานจอดรถไฟฟ้า www.google.com/maps/@18.7965956,98.960927,18.5z
1
เช้ามืดวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
เวลานัด 05:30 น. ดวงจันทร์ผ่านวัดพระธาตุประมาณ ประมาณ 06:00 น.
พิกัดคร่าวๆ แปลงเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ www.google.com/maps/@18.795101,98.9595835,17.75z
========================================
ผมได้ขออนุญาตกองงานสถานที่ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ ท่านที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ตามสะดวก นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายภาพได้จากบริเวณประเสริฐแลนด์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ
การถ่ายภาพในแนวนี้หลายท่านสงสัยว่าเป็นภาพตัดต่อจากคนละสถานที่หรือเวลา จากภาพเป็นการถ่ายจากสถานที่จริงโดยอาัยหลักการวัดขนาดและระยะทางเชิงมุมทางดาราศาสตร์ ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์มีขนาดคงที่คือ 0.5 องศาส่วนตัววัดพระธาตุนั้นมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระยะห่าง ดังนั้นเมื่อเราออกห่างจากฉากหน้าที่ระยะหนึ่ง ฉากหน้า(วัด)จะมีขนาดใกล้เคียงกับฉากหลัง(ดวงจันทร์)
====================
เทคนิคการถ่ายภาพดวงจันทร์
====================
-กรณีต้องการถ่ายภาพเดียว/จบหลังกล้อง ให้วัดแสงที่ดวงจันทร์ถ่ายภาพ ประมาณ -1 stop สังเกตว่าได้รายละเอียดดวงจันทร์มาครบถ้วนหรือไม่ ภาพที่ได้จะเป็นซิลลูเอท ฉากหน้าจะมืดต้องใช้โปรแกรมแต่งภาพปรับส่วนเงาและส่วนมืดขึ้นมา
ภาพเดียว Single shot นั้น เมื่อวัดแสงที่ดวงจันทร์จะได้ภาพซิลลูเอท ฉากหน้ามืด ต้องอาศัยโปรแกรมแต่งภาพปรับส่วนมืดและเงาขึ้นมา กล้องรุ่นใหม่มีพลังมากสามารถดึงส่วนมืด-เงาให้สว่างและมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-กรณีต้องการฉากหน้าที่สว่างชัดเจนไม่เป็นซิลลูเอท ให้แยกถ่ายภาพดวงจันทร์และฉากหน้า ดวงจันทร์วัดแสงที่ดวงจันทร์ ฉากหน้า(วัดพระธาตุฯ)วัดแสงที่พระธาตุ หลังจากนั้นนำภาพมารวมกันที่เรียกว่า Blending หรือรวมภาพที่ต่างค่าแสง ใช้ Setting เดียวกันต่างกันเฉพาะ Exposure
ไอหมอก-เมฆ แม้เป็นอุปสรรครบกวนความคมชัดของภาพ แต่ก็สร้างความพิเศษ ความงดงามแปลกตาได้เช่นกัน
-อุปกรณ์
ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง มั่นคง
เลนส์ Telephoto ทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 300 มม. ขึ้นไป
กล้อง DSLR/Mirrorless FF/APSC
สายลั่นชัตเตอร์/กล้องบางรุ่นมีในตัว ให้ศึกษา-ฝึกวิธีตั้งค่าให้ชำนาญก่อน(คู่มือกล้องมีสอน)
บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่าดวงจันทร์ขณะขึ้นหรือตกจากขอบฟ้ามีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ที่กลางฟ้า ที่จริงแล้วเป็นเพราะสองเหตุผลคือ หนึ่งสมองของเราสร้างภาพลวงตาขึ้นมาแและสอง ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ ณ ขอบฟ้า มีวัตถุเปรียบเทียบขนาด เราจึงรู้สึกว่าดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง
-Setting
ตั้งค่าที่ตัวกล้อง
> ชุดสี Color profile Adobe RGB / Bit Depth 14 Bits
>ความละเอียดสูงสุด/ถ่าย Raw+Jpeg
>Aperture รูรับแสง ชัดลึก F4-F8 ใช้ค่าที่สอดคล้องกับ Exposure
>Exposure ตามค่าการวัดแสง ไม่ต่ำจนทำให้กล้องสั่นไหว-เบลอ
>ISO ต่ำ-สอดคล้องกับ Aperture/Exposure หรือ Noise ในปริมาณที่ยอมรับได้
>เลนส์ 300 มม. Equivalence แนะนำ 500 มม. เลนส์กระจก/เลนส์หักเห/กล้องโทรทัศน์ได้ทั้งนั้น
>Manual focus ที่ฉากหน้า เป็นระยะ infinity เช็คระยะชัดของเลนส์แต่ละตัวให้แน่ใจ
เลนส์ในช่วง Super Telephoto ทางยาวโฟกัสสูงๆ จะดึงรายละเอียดของภาพมาปรากฏได้มาก เรารู้สึกถึงความใหญ่โตของดวงจันทร์เพิ่มขึ้นเพราะมีวัดพระธาตุดอยสุเทพฯมาเปรียบเทียบขนาด
เดี๋ยวพาเพื่อนๆไปถ่ายภาพอีกหลายๆมุม
สอบถามทักทาย-ปรึกษาได้ครับ
โฆษณา