17 ต.ค. 2019 เวลา 09:09 • ประวัติศาสตร์
"ตำนานหนองหลวงแห่งเมืองเชียงรายที่ใครหลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน"
สวัสดีครับทุกคนวันนี้ก็กลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ หลังจากที่ผมได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องต่างๆไป ทุกท่านคงจะได้อ่านกันไปแล้ว และในวันนี้ผมได้ไปเจอบทความเรื่องนึงที่คงจะน่าสนใจอยู่บ้าง เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับตำนานของหนองหลวงที่ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย (ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผมเอง) ซึ่งผมยังไม่เคยนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องลึกลับและก็เรื่องตำนานมาก่อนเลย วันนี้ผมจึงขอโอกาสได้หยิบยกนำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นไม่ได้ยาวมากนัก และผมหวังว่าเรื่องนี้หลายๆท่านคงจะชอบกันไม่มากก็น้อยนะครับ
ประวัติ "หนองหลวง" จ.เชียงราย
ก่อนอื่นผมขอเท้าความเรื่องก่อนนะครับ หนองหลวง เป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 9000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ และตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงรายกว่า 6000 ไร่
ทั้งนี้บริเวณรอบปากอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย มีเกาะปรากฎอยู่ทั้งหมด คือ เกาะแม่หม้าย เกาะดงมะเฟือง เกาะสันป่าเป้า เกาะสันกลาง เกาะทองกวาว เกาะไหมเย็บ(เกาะแม่หยิบ)เกาะขนุน และเกาะไผ่เหมย โดยที่ผ่านมามีชาวบ้าน และกลุ่มนักสำรวจตรวจพบเสาวิหาร วัด โบราณสถาน ปากถ้ำ อยู่เลยจากฝั่งอ่างเข้าไปในเขตเกาะแม่หม้าย ถึงเกาะดงมะเฟือง อีกทั้งยังขุดพบฆ้องโบราณขนาดใหญ่ จำนวน 12 ใบในบริเวณหน้าศาลเจ้าแม่หนองหลวงเชียงราย จึงสันนิษฐานกันว่าอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย เป็นเมืองโยนกไชยบุรี ซึ่งล่มจมลงไปในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ เมื่อพุทธศักราช 370 โดยเหตุอาถรรพ์ที่ชาวเมืองฆ่าและพากันกินเนื้อปลาไหลเผือก จนเกิดอาเพศแผ่นดิน ทำให้เมืองจมหายไปในสมัยอาณาจักรเชียงแสน
ภาพบรรยากาศ "หนองหลวง" อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
"จุดกำเนิดหนองหลวงในสมัยก่อน"
ในบริเวณหนองน้ำหรือหนองหลวงในสมัยก่อนเป็นเพียงที่ราบลุ่มแต่ก็มีน้ำขังอยู่ตลอดปีและในบริเวณรอบๆข้างเป็นที่ที่ชาวบ้านจับจองที่ดินไว้เพื่อทำมาหากิน แต่ในวิสัยทัศน์และทรรศนคติของบรรพบุรุษและผู้นำของชาวหนองหลวง ที่เห็นว่าลุ่มน้ำแห่งนี้คงจะมีประโยชน์เกี่ยวกับน้ำกินน้ำใช้ใจอนาคตจึงได้พากันเสียสละที่ดินของตนเองในบริเวณรอบๆของหนองน้ำนี้ให้เป็นของสาธารณะเพื่อที่จะใช้หนองน้ำบริเวณนี้ให้เป็นที่รองรับน้ำฝนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน และความคิดนี้ก็ได้สร้างหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งสมควรอย่างยิ่งในการช่วยกันอนุรักษ์สภาพน้ำของหนองหลวงที่บรรพบุรุษได้สร้างทิ้งไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังของชาวหนองหลวง
"ตำนานหนองหลวงเชียงราย"
"พระเจ้าพังคราช" แห่งเมืองโยนกนาคบุรี
พระเจ้าพังคราช สืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์ “สิงหนะวัติ” ต้นราชวงศ์เชียงแสนโบราณ เมืองโยนกนาคบุรี มหาศักราชได้ 277 ในกาลนั้น อำนาจการปกครองอ่อนแอมาก ทำให้พวกขอมยึดเมือง จนพระเจ้าพรพรมกุมาร ราชบุตรกอบกู้เมือง กลับคืนมาได้ และเปลี่ยนเป็นเมือง”โยนกไชยบุรี” ขณะนั้นแว่นแคว้นโยนกมี 4 นครด้วยกัน คือ 1.เมืองโยนกไชยบุรี (เป็นเมืองหลวง) 2.เวียงไชยนารายณ์ (เป็นแคว้นขวา) พระยาเรือนแก้วเป็นผู้ครอง 3.เมืองไชยปราการ (เป็นแคว้นซ้าย) เจ้าพรหมกุมารเป็นผู้ครอง 4. เวียงผ่างรางคำ เจ้าทุกขิตกุมารครองลุศักราช 333 พระองค์พังคราชเจ้านครโยนกไชยบุรี ทรงพระประชวรและได้สวรรคต มหาอุปราชทุกขิตตะจึงขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อไปได้ 16 พรรษา ก็ทรงสวรรคต องค์มหาวันราชโอรสจึงขึ้นครองราชสมบัติแทน เมื่อศักราช 369 ฝ่ายองค์พระเจ้าพรหมราชได้ครองราชย์สมบัติเมืองไชยปราการได้ 59 พรรษา ก็ทรงสวรรคตพระไชยศิริราชโอรสจึงขึ้นเสวยราชสมบัติแทน
ตอนที่1 : "จับลูกพญานาค"
ลุศักราช 370 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นแก่นครโยนกไชยบุรี กล่าวคือ เมื่อวันเสาร์ แรมเจ็ดค่ำ มีลูกพญานาคตัวหนึ่ง ลำตัวใหญ่และยาวประมาณเท่าลำตาล ลักษณะขาวผ่องดั่งสีเงินยวง ยาวประมาณ 7 วาเล่นน้ำอยู่ในเม่น้ำกุกะนที(แม่น้ำกก)แล้วมาเกยร่างพักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านไปหาปลาในน้ำกกพบเข้า เข้าใจว่าเป็นปลาไหลเผือกยักษ์ได้ใช้อุบายที่จะฆ่า โดยหากว่าการจะเข้าไปทุบตีปลาไหลขนาดใหญ่นั้น หากไม่ตายทันทีเกรงจะเป็นอันตราย จึงชวนกันไปกลิ้งขอนไม้ใหญ่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ลูกพญานาคอยู่ เมื่อกลิ้งขอนไม้มาใกล้ระยะแล้ว คนทั้งหลายจึงดันท่อนไม้ที่มีขนาดใหญ่หล่นลงไปทับหัวลูกพญานาค เสียงดังสนั่น หัวลูกพญานาคจึงถึงกับแหลกเหลวจึงพากันแจ้งข่าวกับพวกในเมืองชักชวนกันหลายร้อยคนพากันเอาเถาวัลย์และเชือกมาฉุดลากเข้าไปในเมืองพร้อมกับกราบทูลพระเจ้ามหาไชยชนะว่า พวกเขาได้ไปหาปลาในน้ำลำกก พบปลาไหลเผือกยักษ์ตัวโตมากนอนเกยตลิ่งอยู่ จึงช่วยกันฆ่าและชักลากลำตัวมา ถวายจะทรงโปรดประการใด
พระเจ้ามหาไชยชนะ ได้ทราบเรื่องเช่นนั้นมิได้เฉลียวพระทัย คิดว่าคงเป็นปลาไหลธรรมดาแต่มีขนาดใหญ่ จึงทรงอนุญาตและดำรัสให้แล่เนื้อปลาแจกจ่ายกันกินทั่วเมือง พวกชาวบ้านจึงพากันออกมาทำการแล่เนื้อลูกพญานาคแบ่งกัน ปรากฎว่าขณะนั้นฝูงชนทราบเรื่องได้พากันยื้อแย่งเนื้อพญานาคกันและแม้จะแบ่งกันไปสักเท่าไหร่เป็นที่น่าอัศจรรย์เนื้อปลาไหลเผือกตามที่ชาวบ้านเข้าใจกัน ก็หาหมดไม่ กองเนื้อก็ยังคงเหลือมากมาย
"พระเจ้ามหาไชยชนะ" (ภาพประกอบ)
ตอนที่2 : "พญานาคตามหาลูก"
ฝ่ายพญานาคเห็นลูกหายไป จึงเที่ยวติดตามหาทั่วภิภพ ก็หาไม่เจอ จึงติดตามรอย ชำแรกพระสุธาขึ้นมาเรื่อยๆ จนพบกองเนื้อใหญ่ที่ชาวบ้านพากันแหล่เหลือทิ้งไว้อย่างมากมายจึ่งรู้แน่ว่าลูกตนถูกฆ่าเสียแล้ว และต้องการจะทราบว่าลูกถูกฆ่าเพราะเหตุใด จึงแปลงร่างเป็นมาณพน้อย เดินทางเข้าไปในเมือง เพื่อสืบหาเรื่องราว ครั้นมาถึงบ้านหลังหนึ่งจึงตรงเข้าไปถามหาเจ้า ปรากฎว่าเป็นหญิงชราอายุมากแล้วมีนามว่า “จุมปาทอง”(จำปาทอง) อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นเพียวผู้เดียว ไม่มีสามีไม่มีบุตรธิดาไว้สืบสกุล มาณพน้อยจึงถามเอาเรื่องราวของคนในเมืองว่าเขาทำอะไรกัน หญิงชราได้เล่าว่าวันนี้ชาวเมืองพากันชื่นชมกับการได้กินเนื้อปลาไหลเผือก มาณพน้อยก็ถามทำไมยายไม่ได้กินเนื้อปลาเหมือนชาวบ้านคนอื่นๆ หญิงชราตอบว่ายายเป็นคนอายุมากแล้วไม่อาจที่จะมีแรงไปยื้อแย่งกับเขาได้ จึงไม่ได้กิน มาณพน้อยได้ฟังจึงบอกยายว่าอย่าเสียใจไปเลยยายจะอยู่ดีมีสุขและบอกกับยายปิดประตูอยู่แต่ในเรือน อย่าลงจากเรือนเป็นอันขาดครั้งล่วงราตรีคืนนั้น ในปฐมยามได้เกิดเสียงดังสนั่นสะท้านทั่วไป ด้วยแผ่นดินไหวแล้วก็สงบลง ต่อมาเข้ามัชฌิมยามแผ่นดินก็ดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหวเป็นคำรบสาม เมืองโยนกไชยบุรีทั้งเมืองล่มจมหายไปในแผ่นดิน กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ทั้งเมืองคงเหลือแต่เรือนหญิงชราหม้ายอยู่เพียงหลังเดียว ค้าอยู่บนเกาะพระเจ้าแผ่นดินและขัติวงศาพร้อมอำมาตย์ราษฎรทั้งหลายได้ถึงกาลกิริยาไปตามกรรม ต่อมาครั้นรุ่งเช้าขุนพันนาพร้อมชาวบ้านได้พากันเข้ามาดูเมืองที่จมหายไป เห็นเรือนหลังหนึ่งค้างอยู่บนเกาะ จึงได้ต่อแพไปตรวจดู พบกับหญิงชราหม้ายอยู่ในเรือนคนเดียวจึงถามถึงเหตุการณ์ หญิงชราเล่าเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นถึงสาเหตุที่เมืองจมหายไป โดยหญิงชราหม้ายเล่าว่าขณะที่เกิดเสียงดังขึ้นครั้งแรก นางได้ปิดประตูลงกลอนไว้แต่หัวค่ำตามคำแนะนำของมาณพน้อย พอเกิดเสียงดัง รู้สึกว่าแผ่นดินไหว สะเทือนรุนแรง เรือนไหวโยนตัวไปมาตัวแกต้องกอดเสาเรือนไว้ เพื่อมิให้กลิ้งไปมา จะลงหนีออกจากเรือน มาณพน้อยก็ห้ามไว้จึงอดทนอยู่แต่ในเรือน จนได้ยินเสียงดังลั่นเป็นครั้งที่สาม ได้ยินเสียงน้ำไหลอย่างแรงๆรอบๆเรือน แต่ความมืดทำให้มองอะไรไม่เห็น ครั้นรุ่งสว่างมองออกไปตามช่องฝา เห็นเมืองทั้งเมืองจมหายไป จึงเกิดความกลัวไม่กล้าลงจากเรือนจนท่านขุนพันนาได้มาพบ เมื่อขุนพันนาได้ทราบเรื่องแล้ว จึงรับตัวหญิงชราบงแพถ่อขึ้นฝั่งไปเลี้ยงดูไว้อย่างดี และได้ตั้งให้เป็นพญาหญิงต่อไป ในเรื่องบอกให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเกาะแม่หม้าย เกาะๆหนึ่งที่อยู่ในบริเวณของหนองน้ำหนองหลวงเชียงราย และยังคงมีอีกหลายๆ เกาะที่ได้กล่าวมาซึ่งในแต่ละเกาะก็มีประวัติความเป็นมาเหมือนกับเกาะแม่หม้ายเช่นกัน
3
"เกาะแม่หม้าย" จ.เชียงราย
"สุดท้ายนี้ผมมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ที่นึงเเถวบ้านผมนำมาฝากให้ทุกคนได้ชมกันครับ"
สถานที่แรก : ที่นี้คือ "บ้านไม้ปรายเมฆ" อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
ที่นี่เป็นมากกว่าร้านกาแฟธรรมดาทั่วไป
เพราะนี่คืออีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชียงรายสุดอันซีน
ที่ไม่ควรพลาดหากมาเชียงราย
ต้องบอกก่อนเลยว่า เห็นรูปภาพจากเพจ
และจากเฟสบุ๊คของเพื่อนๆ
แอ่งน้ำขนาดไหญ่และต้นไม้ต้นหนึ่ง
ซึ่งสวยมากๆๆ แต่คิดว่าคงสวยแค่มุมเดียว
เหมือน หลายๆที่ ที่เราเคยไป
ในวันฝนพรำ คิดว่าคนไม่น่าจะเยอะก็เลยขับรถไปกัน มองด้านนอกจากที่จอดรถ คือไม่น่ามีอะไรเลยแต่พอเดินเข้าไปข้างใน
หู้วววววววววววววววววว
คือสวยมากกกกกกกกกกกกก
มากจริงๆ ในรูปสวยมากแล้ว
แต่ของจริงสวยยิ่งกว่า
และไม่ได้สวยแค่มุมเดียว นั่งมุมไหน
เดินตรงไหน ก็ถ่ายรูปสวยทุกมุม
ยังมีเรื่อเป็ดให้ปั่น มีเรือคายัคให้พาย
มีน้องม้า น้องเป็ด น้องไก่ น้องแพะ น้องกระต่าย
คือพูดได้ว่า นี่คือ"ไร่ในฝัน" ที่เราเคยเห็น
ในหนังการ์ตูน "ซินเดอเรร่า" ก็ว่าได้เลย😊
สถานที่ที่ 2 : "โบราณสถานพระเจ้ากือนา"
ผมจะขอเล่าประวัติความเป็นมาของสถานที่นี้เลยก็แล้วกันนะครับ สถานที่นี้เป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวอำเภอเวียงชัยและอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ตั้งอยู่ที่ บ้านไตรแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
"ลักษณะเด่น"
พระพุทธรูปที่ถูกโอบโดยต้นโพธิ์ ปัจจุบันแทยจะไม่เห็นองค์พระ
"ประวัติ"
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาในสมัยของพระเจ้ากือนา เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก โดยฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำจะมีพระเจ้าอกแอ่น ที่นักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เข้าเยี่ยมชม และมาศักการะทุกวัน
สถานที่นี้ต้องบอกได้เลยครับว่าที่นี่เงียบสงบมากๆ ผมเองก็มาที่นี่บ่อยครั้งเวลาว่างๆ หรือวันหยุด หากท่านใดได้มีโอกาสได้ขึ้นเหนือมาที่จ.เชียงราย ก็อย่าลืมมาเที่ยวกันได้นะครับ
บริเวณด้านหน้าของโบราณสถาน
ข้อมูลจาก : NongluangChiang Rai.com, http://www.chiangtungbiz.com
ภาพประกอบ : Google
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
โฆษณา