17 ต.ค. 2019 เวลา 13:00 • ปรัชญา
"โลกทุกวันนี้เป็นโลกที่มีแต่ความรู้เต็มหมด"
แต่ความรู้ที่มีนั้น มีทั้งความรู้ที่มีทั้งความรู้จริงๆ และความรู้ที่เป็นเท็จ
ความรู้ที่เป็นจริงนั้นหากเราเชื่อและทำตามก็จะได้ประโยชน์ไปตามนั้น
ต่างจากความรู้ที่เป็นเท็จ
ทำไป เชื่อไป
ก็ได้ประโยชน์ครึ่งๆ กลางๆ
บางทีก็ให้โทษเกินกว่าที่คิด
การที่เราจะรับรู้ลอกเลียนความรู้ที่มีจำเป็นต้องพิจารณาใช้ปัญญาอย่างหนัก
ว่าสิ่งนั้นเป็นความรู้ที่จริงอย่างแน่รึป่าว ?
หรือเป็นเพียงแค่ความเชื่อที่ส่งต่อๆกันมา หากแยกแยะตรงนนี้ได้เราจะได้ความรู้ที่บริสุทธิ์ได้มากและง่ายขึ้น
คนที่เป็นปัญญาชนเท่านั้นที่ถูกยอมรับว่าเป็นคนที่มีความรู้มาก การบอกกล่าวความรู้ออกไปต้องแน่ใจเสียก่อนว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ปราศจากอคติ ผู้ที่นำไปใช้ก็นำไปใช้ได้จริงตามนั้น
ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจบางสิ่งก็ต้องบอกว่าไม่รู้ ไม่เข้าใจไปตามจริงอย่ากลัวเสียหน้าจนบอกสิ่งผิด ๆ ไป เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อคนที่รับรู้ความรู้นั้น และยังทำลายตัวเองอีกต่างหาก
(ผมเคยเป็นพวกไม่รู้ที่กลัวเสียหน้ามาก่อนและผมรู้ดีว่ามันเป็นยังไง)
ความไม่รู้ไม่เข้าใจนั้นเป็นเรื่องปกติ ใครๆก็มีก็เป็นกันได้ปัญญาชนหรือนักปราชญ์ผู้มีความรู้ก็มีสิ่งที่ไม่รู้เหมือนกัน คือจะบอกว่า ความไม่รู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าอาย แถมมันยังทำให้เรารู้ว่าเรามีจุดด้อยตรงไหนด้วยซ้ำ จะได้ปรับจุดตรงนั้นให้สมบูรณ์
สมกับการได้รับการยกย่องว่าเป็น " ปํญญาชน "
"หากรู้จริงให้บอกรู้
หากไม่รู้ก็บอกไม่รู้"
http://api.ning.com
โฆษณา