Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ปรีชา นาฬิกุล
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2019 เวลา 09:40 • ท่องเที่ยว
ที่มา...
ช้างกราบพระพุทธเจ้า
พี่น้องที่เคยเทียวทางผ่านถนนมิตรภาพช่วงขอนแก่น - อุดรธานี ก่อนถึงปากทางเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ ทัศนียภาพมุมสูงตามโค้งถนน มองไปทางทิศตะวันออกจะเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีช้างก้มกราบ นั่นคือวัดป่าคำหัวช้าง
ตั้งแต่เล็กจนโตเคยเทียวทางเส้นนี้นับครั้งไม่ถ้วน ก็ได้แต่บีบแตรเป็นสัญญาณของผ่านทางและยกมือไหว้ แวะกราบสักการะอยู่บ้างเป็นครั้งคราวตามแต่โอกาสจะอำนวน
“ช้างไหว้พระพุทธเจ้า” ที่เห็นตั้งแต่เด็กก็ไม่เคยได้รู้ความหมายเลย
ผมเพิ่งรู้ที่มาที่ไปเมื่อเร็วๆนี้ อ่านเจอในหนังสือเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าชนะมารถอดความจากบทสวด “พาหุง”
“นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธีนา ชิตะวามุนินโท
ตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ”
พระพุทธองค์สยบมารด้วยเมตตา
…..
ที่มาที่ไปของพระพุทธรูปปางนี้มาจาก
เมื่อครั้งพุทธกาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว และได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนมีสาวกสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมากมาย
ในครั้งนั้น “พระเทวทัต” ซึ่งเป็นพี่ชายของพระนางพิมพา แม้จะบวชเข้ามาศึกาพระธรรมแต่ยังไม่สามารถละกิเลสได้ จึงยังไม่สำเร็จอรหันต์เหมือนพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปอื่นๆ
“พระเทวทัต” เห็นพระพุทธเจ้ามีสากวมากมายเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้อยากเป็นเช่นนั้นบ้าง คิดว่าถ้าสามารถกำจัดพระพุทธเจ้าได้แล้ว ตนเองจะขึ้นแทน เป็นเหตุให้วางแผนการร่ายมนต์ให้ เจ้าชายอชาตศรัตรู หลงเชื่อและกล่อมให้เจ้าชายอชาตศรัตรู กำจัดบิดาตนเพื่อจะได้เป็นพระราชาแทน
เจ้าชายอชาติศรัตรูนั้นเป็นบุตรของพระเจ้าพิมพิศาส เมื่อเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระเทวทัตจึงวางแผนฆ่าพ่อตัวเอง โดยเหน็บดาบเข้าไปในที่ประทับแต่ถูกทหารจับได้
พระเจ้าพิมพิศาลรู้ความต้องการขององค์ชาย จึงสละบัลลังก์ให้องค์ชายอชาตศรัตรู
องค์ชายอชาตศรัตรูเมื่อได้บัลลังก์แล้ว ก็ไปเล่าให้พระเทวทัตฟัง แต่พระเทวทัตกลับบอกว่าวันนี้ให้บัลลังก์วันหน้าอาจถูกทวงคืนก็ได้ ต้องทำให้พระเจ้าพิมพิศาลหายไปจากโลกนี้จึงจะแน่นอนกว่า
องค์ชายอชาตศรัตรูหลงเชื่อ จึงสั่งขังพ่อห้ามให้ข้าวให้น้ำ ห้ามคนเยี่ยมหมายจะให้ตายคาคุก แต่มีคนเดียวที่ได้รับเอกสิทธิในการเข้าเยี่ยมคือมารดาของพระองค์
มารดาของพระองค์ลอบนำข้าวเข้าไปด้วยวิธีต่างๆ เช่น ซ่อนไว้ในมวยผม ซ่อนไว้ในรองเท้า หรือแม้กระทั่งนำอาหารเทราดตามตัวเพื่อให้พระเจ้าพิมพิศาลเลียกินอาหาร แต่ก็ถูกจับได้ สุท้ายสั่งห้ามไม่ให้มารดาเข้าเยี่ยม
พระเจ้าพิมพ์พิศาลใช้วิธีเดินจงกรมในคุกเพื่อให้ใจเกิดปิติอิ่มสุข ทหารนำเรื่องมาเล่าให้ฟัง
เจ้าชายอชาตศรัตรูจึงสั่งการให้ทหารกรีดเท้าของพระเจ้าพิมพิศาลให้เกิดบาดแผลไม่มารถเดินจกลมได้
สุดท้ายพระเจ้าพิมพิศาลก็ตาย
พระเทวทัต วางแผนฆ่าพระพุทธเจ้าหลายวิธีเช่นกันแต่ไม่สำเร็จ
ครั้งหนึ่งจ้างคนธนูที่เป็นสุดยอดฝีมือชำนาญการ ๑๖ นาย เมื่อถึงวันลงมือคนธนู กลับได้รับคำสอนจากพระพุทธเจ้าจึงกลับใจ และขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในที่สุด
แผนนี้ไม่สำเร็จ จึงใช้วิธีติดสินบนควานช้างซึ่งเลี้ยงช้างศึกที่ดุร้ายที่สุดชื่อช้างว่า “นาฬาคิริง”โดยให้ควานช้างมอมเหล้า และใช้หอกดาบทิ่มแทงให้เกิดความโกรธและดุร้ายเพิ่มเป็นทวีคูณ
เมื่อพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาติ จึงปล่อยช้างนาฬาคิริงให้วิ่งตรงไปยังพระองค์หมายฆ่าพระพุทธองค์ให้สิ้นไป
พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์แต่ไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ทรงมีเมตตา ใช้ความเมตตาสยบช้างนาฬาคิริงที่กำลังตกมันได้สำเร็จ จนช้างหมอบกราบแทบพระบาทพระพุทธองค์
นั่นจึงเป็นที่มาของช้างหมอบกราบพระพุทธเจ้า ดังที่พูดติดปากปะสาชาวบ้านว่า “ช้างไหว้พระพุทธเจ้า”
ตอนจบของเหตุการณ์
องค์ชายอชาตศรัตรู หรือพระเจ้าอชาตศรัตรู สำนึกผิดกลับตนได้ทันเข้าหาพระพุทธเจ้าแล้วทำการเป็นพระราชาที่ดีปกครองประชาชนด้วยความเป็นธรรมผู้คนเคารพนับถือ มีความสุขร่วมเย็นตลอดรัชกาก
ส่วน “พระเทวทัต” เมื่อทำการไม่สำเร็จจึงพยายามแยกตนออกมาหมายตั้งสำนักของตน โดยนำพระสงฆ์บวชใหม่ ๕๐๐ รูป มาอยู่ในปกครองของตน เพื่อตั้งตนเป็นใหญ่เทียบเคียงพระพุทธเจ้า แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ จนตนเองต้องป่วยใกล้สิ้นลมเริ่มสำนึกอยากขอขมาพระพุทธเจ้า จึงให้ภิกษุที่ยังอยู่ด้วยช่วยกันแบกหามไปหาพระพุทธเจ้า
ระหว่างทางพระที่แบกหามเกิดอาการร้อนรุ่มในตัวเหมือนถูกไฟกำลังเผาไหม้ จึงวางพระเทวทัตลงเป็นเหตุให้แผ่นดินสูบพระเทวทัตตกนรกหมกไหม้ นั่นเพราะบาปหนักหนาเกินให้อภัย พระแม่ธรณีจึงทำโทษขั้นรุนแรง
นี้แลที่มาว่า ทำไมจึงมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้วมีช้างหมอบกราบพระพุทธเจ้าด้วย
ปรีชา นาฬิกุล
๑๘ ต.ค.๒๕๖๒
หมายเหตุ : ขอบคุณเจ้าของภาพ
บันทึก
23
17
1
23
17
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย