20 ต.ค. 2019 เวลา 02:09 • การศึกษา
"ความทรงจำ" เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ❓
เคยคิดกันไหมครับว่า สมองของคนเราขนาดเล็กนิดเดียว แต่ทำไมสามารถจดจำเรื่องราวและข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมหาศาล
สมองเรียกได้ว่าคือส่วนที่มีการทำงานซับซ้อนที่สุดของร่างกายมนุษย์แล้วครับ และสมองยังสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องด้วย
นั่นคือ การเรียนรู้ อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้ความเคลื่อนไหว
และความสามารถอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้อย่างแทบจะไร้ขีดจำกัด
การทำงานของสมอง ซีกซ้าย/ซีกขวา
นอกจากนั้นสมองเราทำทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว พฤติกรรม และรักษาสมดุลในร่างกาย เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ
ความดันโลหิต ของเหลวในร่างกาย และ
อุณภมิ เป็นต้น
สมองของเราสามารถเก็บความทรงจำโดยแยกเป็นองค์ประกอบต่างๆ เช่น สถานที่
เวลา ผู้คน สิ่งของ แล้วสร้างการเชื่อมโยงแต่ละสิ่งเข้าด้วยกัน
ก่อนที่ความทรงจำจะเกิดขึ้นมาได้ เราจำเป็นต้องได้รับข้อมูลต่างๆเข้ามาก่อน
ความทรงจำเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
คนเราจะเกิดความทรงจำขึ้นมาได้ ต้องมีการรับเอาข้อมูลต่าง จากประสาทสัมผัสก่อน
เพื่อให้เซลล์ประสาทในสมองรับความรู้สึกต่างๆ ทั้งการมองเห็น ได้ยินเสียง รับรู้กลิ่น
ความรู้สึกจากการสัมผัสทางผิวหนัง และการรับรู้รสชาติ หรือการ รับรู้สัมผัสทั้ง 5
ความรู้สึกที่ได้รับรู้ จะถูกส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง
เมื่อมีข้อมูลผ่านเข้ามาก็จะไปที่ธาลามัส (อยู่ในสมองส่วนกลาง) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโอเปอร์เรเตอร์ในสมอง
จะคอยส่งข้อมูลไปยังสมองส่วนต่างๆ เช่น ถ้ามองเห็นภาพ ก็จะส่งไปยังสมองส่วนที่รับภาพ เมื่อกระบวนการส่งข้อมูลถูกต้องครบถ้วน
สมองที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับความจำคือ
5
" ฮิปโปแคมปัส " และ " อะมิกดาลา"
จะรับช่วงต่อว่าจะจัดการกับข้อมูลอย่างไร เช่น ถ้าข้อมูลที่เป็นความจริง ฮิปโปแคมปัสจะเก็บไว้
จนกว่าจะถูกลำเลียงเข้าไปอยู่ในความทรงจำระยะยาวบริเวณสมองส่วนหน้า และจัดเข้าไปอย่างเป็นระเบียบเพื่อจะนำไปใช้ได้ในอนาคต
แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เป็นหน้าที่ของอะมิกดาลา
1
ฮิปโปแคมปัส อยู่ลึกเข้าไปในสมองส่วนขมับ ทำหน้าที่จัดกระบวนข้อมูลที่ปรากฏจริงรอบ ๆ ตัวเรา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้นเข้าไปเก็บไว้ในระบบความทรงจำระยะยาว ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ตลอดชีวิต
สมองส่วน ฮิปโปแคมปัส
อะมิกดาลา อยู่บริเวณสมองส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ โดยเฉพาะความรู้สึกพื้นฐาน เช่น ความกลัว ความก้าวร้าว ทำหน้าที่จัดระบบด้ายความรู้สึก ช่วงวัยรุ่นจะใช้สมองส่วนนี้มาก จึงทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่แสดงออกอย่างรุนแรง มีการแสดงอารมณ์ออกมามากกว่าวัยผู้ใหญ่
สมองส่วน อะมิกดาล่า
ความจำที่ดีนั้น ต้องเริ่มจากมีกระบวนการเรียนรู้เบื้องต้นที่ดีก่อน
และการเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อให้เซลล์ประสาทในสมองรับความรู้สึกต่างๆ
ทั้งการมองเห็นภาพ ได้ยินเสียง รับรู้กลิ่น ได้รับความรู้สึกทางผิวหนัง ความรู้สึกที่ได้รับจะถูกส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง เมื่อสมองทำการกรอง จัดลำดับความสำคัญแล้วก็จะถูกบันทึกไปยังส่วนความจำ
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดหลายชิ้น พบว่าความทรงจำของแต่ละคนนั้น
สามารถจะปรับปรุงหรือกระตุ้นให้ดีขึ้นได้ โดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น
การฟังดนตรี การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การเรียนภาษาใหม่ ๆ การฝึกสมาธิ ก็มีส่วนช่วยได้ไม่น้อย
ฉะนั้นเราจะต้องฝึกการใช้สมองทุก ๆ วันเพื่อจะให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเสมอ ๆ
ตัวผมเองก็ฝึกสมองโดยการเขียนและอ่านบทความจากพี่น้องชาว blockdit เป็น
ประจำทุกวันนี่แหละครับ 😊✌🏻
〰️ แหล่งข้อมูลและบทความอ้างอิง 〰️
🔻ฝากกดไลค์และติดตามเพจด้วยครับ🔻
👤 A MAN ....... By_สมถุย
โฆษณา