24 ต.ค. 2019 เวลา 03:10 • ธุรกิจ
จีนอาจไม่สามารถ พยุงเศรษฐกิจโลกได้ ในวิกฤติครั้งต่อไป
ถ้าถามว่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกี่ครั้ง?
คำตอบคือ 2 ครั้ง
1
ปี 2001
วิกฤติฟองสบู่ดอตคอมที่เกิดจากการเก็งกำไรอย่างหนักของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq
สุดท้าย ดัชนีลดลงกว่า 78% จากจุดสูงสุด หลายบริษัทล้มละลาย อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาเพิ่มถึง 6.3% เศรษฐกิจถดถอยเป็นระยะเวลา 8 เดือน
ปี 2008
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ คนกว่า 9 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาต้องตกงาน
อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาเพิ่มถึง 10.0% เศรษฐกิจถดถอยเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
6
แน่นอนว่า เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีปัญหา เศรษฐกิจโลกก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
1
และในช่วงเวลาที่มีปัญหา จีน คือส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ดีหลังวิกฤติ
1
ปี 2001 เป็นช่วงที่จีนเริ่มเข้าสู่การเป็นสมาชิกของ WTO จึงมีการปฏิรูประบบภาษีและภาคการเงิน ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ รัฐบาลสนับสนุนการสร้างงานกว่า 200 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับแรงงานจากภาคเกษตรที่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
ปี 2001 มูลค่า GDP ของจีนเท่ากับ 41 ล้านล้านบาท
ปี 2005 มูลค่า GDP ของจีนเท่ากับ 70 ล้านล้านบาท
1
ปี 2008 เมื่อเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ รัฐบาลจีนใช้ทั้งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยการลดอัตราดอกเบี้ยลง และนโยบายการคลัง โดยใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศกว่า 17.7 ล้านล้านบาท
1
รวมทั้งผ่อนคลายการให้สินเชื่อ ส่งผลให้มูลค่าสินเชื่อทั้งระบบธนาคารของจีนเพิ่มสูงถึง 41 ล้านล้านบาท
ปี 2008 มูลค่า GDP ของจีนเท่ากับ 140 ล้านล้านบาท
ปี 2012 มูลค่า GDP ของจีนเท่ากับ 261 ล้านล้านบาท
1
จะเห็นว่าทั้ง 2 ช่วงที่โลกประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจนั้น GDP ของจีนเติบโตเกือบเท่าตัว
และจีนถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะหลังปี 2008 ที่สหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ขณะที่ฝั่งยุโรปก็เจอกับวิกฤติหนี้สินในยุโรป
3
แต่เรื่องราวที่ดำเนินต่อไปอย่างสวยงามของเศรษฐกิจจีน ได้ซ่อนปัญหาบางอย่างไว้..
1
การใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ของจีนค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ขณะที่ฝั่งธนาคารพาณิชย์นั้น สินเชื่อที่ธนาคารนำมาปล่อยกู้แทนที่จะนำไปลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นจริง แต่กลับถูกนำไปเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์เสียเป็นส่วนใหญ่
4
Cr. Modu Magazine
เมื่อรวมกับการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวมในช่วงที่ผ่านมาของธนาคารหลายแห่งของจีน หนี้เสียจึงเพิ่มสูงขึ้น จนปัจจุบัน หนี้เสียในระบบของธนาคารจีนสูงเกือบ 10 ล้านล้านบาท ซึ่งมากที่สุดในรอบ 10 ปี
2
ที่น่าสนใจคือ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งของจีนนั้นถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน หมายความว่า ถ้าเกิดปัญหาในระบบธนาคารของจีนนั้น รัฐบาลมีภาระที่ต้องเข้ามาแก้ไขด้วย
1
Cr. CoinDesk
ปัจจุบัน หนี้สินของภาครัฐและภาคเอกชนของจีน มีมูลค่ารวมกันกว่า 1,220 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16% ของหนี้สินทั้งโลกที่ประมาณ 7,518 ล้านล้านบาท
ขณะที่หนี้สินดังกล่าวมีสัดส่วนถึง 300% ของ GDP จีน
เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2008 ที่เท่ากับ 162%
3
ภาระหนี้สินที่มหาศาล ขณะที่เศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ดูแล้วเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับจีนในตอนนี้พอสมควร
ดังนั้น ใครที่หวังจะให้จีนมาช่วยกอบกู้ปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน อาจต้องกลับมาคิดใหม่
เพราะตอนนี้ จีนก็มีปัญหาของตัวเองที่ต้องสะสางมากมายเหลือเกิน
2
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปี 2001
จีน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 32,100 บาท ต่อปี
ไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 57,700 บาท ต่อปี
2
ปี 2018
จีน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 298,100 บาท ต่อปี
ไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 221,857 บาท ต่อปี
2
เมื่อก่อนจีนรายได้เฉลี่ยต่อหัวน้อยกว่าไทย แต่ตอนนี้ แซงไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
1
ทั้งไทยและจีน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง
โดยประเทศที่มีรายได้สูง มีตัวชี้วัดคือ รายได้เฉลี่ยต่อหัวต้องสูงกว่า 367,000 บาท ต่อปี
1
จากการคาดการณ์ จีนจะใช้เวลา 4 ปี ในการก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้สูง แต่สำหรับประเทศไทยต้องใช้เวลาอีก 15 ปี..
3
โฆษณา