22 ต.ค. 2019 เวลา 13:25 • การศึกษา
"ฉ้อโกงประชาชนกับน้ำพุมหัศจรรย์ ?"
การฉ้อโกง คือการที่ผู้กระทำหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้ชัดแจ้ง ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆ จากผู้อื่น
pixabay
การฉ้อโกงที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เสียหายเป็นรายบุคคลกับผู้กระทำความผิด เช่น นาย ก. หลอกนาย ข. ว่าตนเป็นหมอสามารถรักษาโรคได้ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพื่อหลอกให้นาย ข. ส่งมอบเงินค่ารักษาให้แก่ตน
แบบนี้ถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงทั่วไปและสามารถยอมความได้
แต่สำหรับการฉ้อโกงที่ผู้กระทำมีเจตนาหลอกลวงบุคคลจำนวนมากให้หลงเชื่อหรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่าฉ้อโกงประชาชนนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป
เนื่องจาก การฉ้อโกงประชาชนนั้นทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและมีจำนวนผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจึงมีโทษที่หนักกว่าความผิดฐานฉ้อโกงทั่วไปและไม่สามารถยอมความได้
แล้วการหลอกลวงให้คนจำนวนมากหลงเชื่อนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เราลองไปดูตัวอย่างนี้กันเลยครับ
คดีนี้ จำเลยได้หลอกลวงผู้คนว่าน้ำพุที่ผุดขึ้นมานั้น เจ้าแม่สำโรงเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น และเป็นน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้
pixabay
ประชาชนที่เข้ามาดูก็หลงเชื่อ นำน้ำไปใช้ดื่มกินและทาเพื่อรักษาโรคแต่ก็ไม่หายเพราะแท้จริงแล้วเป็นน้ำในคลองธรรมดา ๆ นี่เอง
โดยคนที่เข้ามาดูได้ให้เงินแก่จำเลยรวมเป็นเงินประมาณ 10,000 บาท เพราะหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงซึ่งสามารถใช้รักษาโรคได้
ซึ่งความจริงแล้วเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ใช้เท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้เกิดน้ำพุผุดขึ้นมา ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเจ้าแม่สำโรงเลย
pixabay
จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยโดยอ้างกับผู้คนว่าน้ำพุนั้นเกิดจากเจ้าแม่สำโรงบันดาลขึ้นและสามารถใช้รักษาโรคได้
การหลอกลวงของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำโดยทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการหลอกลวงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 557/2502)
งานนี้ไม่รู้ว่าเจ้าแม่สำโรงจะแสดงปาฏิหาริย์ช่วยจำเลยให้รอดคุกได้หรือเปล่า...อิอิ
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา