Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส
สัพเพเหระไปกับวิศวกร
•
ติดตาม
25 ต.ค. 2019 เวลา 09:26 • การศึกษา
Reduced Beam Section (RBS) Detail
คิดว่าหลายคนดูแต่รูปบนอย่างเดียว ก็คงจะงง ว่าจะทำไปทำไม ไปตัดปีกคาน ทำให้มันอ่อนลง รับแรงได้น้อยลง
แต่นั่นคือวัตถุประสงค์หลักของรูปแบบจุดต่อแบบนี้
จุดต่อแบบนี้ออกแบบมาเพื่อให้โครงสร้างมีความเหนียว (Ductile) ไม่วิบัติทันทีทันใด ซึ่งเป็นข้อกำหนดหลักของโครงสร้างที่ต้องรับแรงแผ่นดินไหว
หลักการของการทำให้โครงสร้างเหนียวสำหรับเมมเบอร์ ก็คือ โครงสร้างต้องคราก (Yield) และ จุดคราก (Yield) และจุดแตกหัก (Fracture) ต้องห่างกันพอสมควร คือต้องให้มัน Deform ได้มากๆ โดยไม่ Fracture หรือ ขาดออกจากกัน
การที่จะทำให้มัน Deform ได้ ไม่ใช่แต่เมมเบอร์ ส่วนที่สำคัญคือจุดต่อ จุดต่อต้องมีกำลังพอจะรั้งเมมเบอร์ไว้จนถึงการเคลื่อนตัวที่ต้องการจนมีความเหนียวเพียงพอ
ปัญหาช่วงประมาณ 20 ปีก่อน ที่เค้าพบหลังจากแผ่นดินไหว Northridge ปี 1994 และ Kobe ปี 1995 คือโครงสร้างเหล็กมันวิบัติที่จุดต่อจำนวนค่อนข้างมาก ทำให้เมมเบอร์ไม่สามารถจะพัฒนากำลังจนไปถึงโมเมนต์พลาสติกได้ คือ จุดต่อ พัง แล้วเมมเบอร์ ก็รับแรงไม่ได้ ทำให้โครงสร้างวิบัติ
ทำให้เป็นที่มาของการรื้อโค๊ดเกี่ยวกับรายละเอียดของจุดต่อโครงสร้างเหล็กทั้งหมด และออกข้อแนะนำจุดต่อรูปแบบใหม่ออกมา โดย Reduced Beam Section (RBS) Detail เป็นรูปแบบหนึ่งของจุดต่อแนะนำในการทำให้โครงสร้างมีความเหนียว
หลักการก็คือทำให้ เมมเบอร์ มันเล็กลงที่ระยะหนึ่งจากจุดต่อ ทำให้กำลังที่จุดนั้นมันต่ำที่สุด เมื่อมันรับแรงมันจึงเกิดการครากหรือโมเมนต์พลาสติกที่จุดนั้นก่อน หรือ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการขยับจุดวิบัติให้ห่างออกมาจากจุดต่อนั่นล่ะ ดังจะเห็นเป็นโซนสีดำ ในรูป
โดยหลักการ ก็คือ บังคับให้มันวิบัติที่จุดที่เตรียมไว้ หรือ เมมเบอร์ต้องทำตัวเป็นเสมือน ฟิวส์ เมื่อรับแรงถึงจุดหนึ่ง จุดที่เป็น ฟิวส์ ต้องขาดก่อน โดยไม่ไปทำลายระบบโครงสร้างหลัก
อย่างไรก็ดี นี่เป็นแค่รูปแบบเดียวที่แนะนำ
พึงระลึกไว้เสมอว่า โครงสร้างที่รับแรงแผ่นดินไหว นั้น จะออกแบบให้รับแต่แรงตามโค๊ดไม่ได้ เพราะนั่นไม่ใช่แรงแผ่นดินไหวจริง (แรงโดนหาร R ลงมาแล้ว) มันคือแรงสูงสุดที่ยอมให้โครงสร้างรับ ดังนั้นแรงที่ว่า ต้องไปคู่กับ Ductility ของโครงสร้าง หรือ ต้องทำให้โครงสร้างมีความเหนียว ซึ่งมีอยู่ในข้อกำหนดในโค๊ดว่า จะให้รายละเอียดอย่างไรที่จะทำให้โครงสร้างมีความเหนียว
สำหรับโครงสร้างเหล็ก ถ้าใน AISC ก็ต้องไปดูที่ AISC 341, AISC 358 ถ้าเป็น มยผ น่าจะต้องเป็น มยผ 1304
ปล.
มีคนถามมาว่าโครงสร้างเหล็กที่รับแรงแผ่นดินไหวสามารถเชื่อมด้วย Full Penetration ได้หรือไม่
ตอบตรงนี้ก่อนเลยว่า โครงสร้างเหล็กที่รับแรงแผ่นดินไหว สามารถเชื่อมโดยการทำ Full Penetration ได้ครับ แต่ต้องเชื่อมโดยที่มีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งจะมาอธิบายต่อไป
1 บันทึก
8
1
1
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย