29 ต.ค. 2019 เวลา 13:24 • ไลฟ์สไตล์
Night Fever-Designing club culture 1960
”Where the arts beat”
พร้อมจะหยิบหูฟังมาใส่ยังคะ อิอิ 💕😀
บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักอีกมุมของการเที่ยว Nightclub ผ่านตัวอักษรกันค่ะ
🎧🥁🎷🎸🎻👩🏼‍🚀🤙🏼🤸🏼‍♀️💃🏻🕺🏽✨
มายมีโอกาสมานิทรรศการ “Night Fever” ซึ่งเป็น Contemporary Exhibition ที่เมืองPrato
เมืองนี้จะอยู่ใกล้ๆติดกับเมืองฟลอเรนซ์
มายกับน้องๆคนไทยนั่งรถไฟออกไปไม่นาน
พวกเราตั้งใจไปกันเลยค่ะ
เพราะมายได้ยินมาจากครูซึ่งแกเคยเป็นดีเจมาก่อน
แกบอกว่างานนี้จัดดี..
สมายไม่รอช้า..จัดตามไปรัวๆ
ก่อนจะไปมายไม่ได้ทำการบ้านดูรูปอะไรอะไรมาก่อนในแง่สถานที่คือหาแค่ทางที่จะไปยังไงและที่เหลือคือจัดการกันตอนนั้น และพอไปถึง...
มายยืนกรี้สกรี้สตรงป้ายรถเมล์
เพราะประทับใจกับการออกแบบตึกอาร์คิเทคมาก Contemporaryyyyyy ... โหยหามากกก 5555😭😅
ซึ่งเมืองฟลอเรนซ์ไม่ได้ผิดอะไรนะคะ
แค่บางทีก็ชอบโมเดิร์นด้วย งุงิ
วันนั้นพอได้ไปเห็นอะไรล้ำๆ
ก็ทำให้หัวใจมายเต้นตึกๆ พองโตขึ้นมาทันที 💕💕💕
ล้ำ(หน้า) ไปมากกก หัวใจเต้นตึกๆ 💞
Where the heart beats..
คือสาวๆยืนกระทืบเท้ากรี้สๆกันแบบ #สาวน้อยกระทืบโรง
ใช่เลย นี้คือสิ่งที่รอคอย 5555 🤣🤣
ข้างนอกก็ว่าตื่นเต้นแล้ว..
ไม่รอช้า ตามกันมาเลยค่ะ อิอิ
ยืนกระทืบเท้ากันอีกแบบ กรี้สๆ ใช่เลยยย
ตามสไตล์ขอถ่ายดอกไม้โหน่ยยย 🤣
สาวๆแทบจะวิ่งแข่งแปดร้อยเมตรคูณสี่เพื่อหลบแดด 555 ไม่ใช่แบบนั้นนนน รีบวิ่งเข้าไปใกล้ๆตัวงานเพราะตื่นเต้นกันมากกก อิอิ
น้องๆล้ำหน้าป้ามายไปมาก 5555
มองขึ้นไป หัวใจยังเต้นตึกๆ 💗💗
หนีไปถ่ายรูปนิดหน่อย พร้อมแล้วค่ะที่จะลุยงานนี้!
ไม่รอช้าค่ะ จัดรัวๆ 💃🏻
โชคดีอย่างนึงค่ะที่เมืองนอกถ้าเป็นนักเรียนเวลาไปนิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์คือเราจะได้ลดราคาค่าตั๋วหรือบางที่ฟรีก็มี 💃🏻🤸🏼‍♀️🕺🏽✨
ส่งเสริมการศึกษาและเปิดโลกทัศน์เยาวชนมาก
ทำให้มีกำลังใจไปแทบจะทุกที่ 🤩
นิทรรศการนี้จัดขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมเที่ยวกลางคืน (Club Culture) และ การออกแบบ (Design) ว่ามีเส้นคาบเกี่ยวกันอยู่อย่างแยกออกจากกันไม่ได้
นิทรรศการนี้คนจัดตั้งใจอยากจะนำเสนอสิ่งที่เค้าสังเกตและศึกษาในเรื่องของ “เส้นคาบเกี่ยว” ระหว่างโลกของศิลป์ที่ก่อตัวมาเป็นวัฒนธรรมไนท์คลับนั้น และอยากจะชี้ให้เห็นว่าสองสิ่งนี้มันมีอิทธิพลต่อกันขนาดไหนในยุค 1960’s
ยืนตาค้างไปสิบวิ ชอบมากกก
นี้คือทางเข้านะคะ มายแบบ..หัวใจเต้นเร้ว ตึก ตึก ตึก 💞💗
คือแค่นี้ก็บิ้วอารมณ์คนมาชมได้แล้ว..
ไหนจาก quote อีก..
คำนี้สำหรับมายมันคือให้คนที่เข้ามาชมงานเริ่มถูกรักนะคะ 5555 ยิ่งกว่าพี่ตูนบอดี้แสลมที่อยากเป็นคนที่ถูกรัก 🤣🤭
คือสำหรับมาย “LOVE SAFE THE DAY” มันแบบ
Humanity wording มากเลยอ่ะค่ะ
ทุกคนต้องการความรัก..
และความรักจะช่วยเราในทุกๆวัน ...
ฉะนั้นเราต้องรู้จักที่จะรัก ที่จะให้(ก่อน) ...
พอจะสร้างความอบอุ่นในหัวใจตั้งแต่ทางเข้าแล้วนั้น..
ทางนิทรรศการก็เริ่มบิ้วพวกเราด้วยทางเข้างานละคะ..
ถ้ามีการ์ดคนตรวจบัตรนี้ใช่เลยยย
คือเห็นทางเข้าแล้วแบบ โอ้ยยยย
คืดถึงสมัยไปเที่ยวร้านนั่งเล่นแล้วหัวใจเต้นรัวมากๆ
เพราะอายุไม่ถึงและแอบเอาบัตรพี่สาวมาใช้.. 🤭🤣
ตอนนั้นกลัวโดนจับได้มาก!!!
แต่เราก็สามารถผ่านมันมาได้ด้วยดีค่ะ 5555 🤣
Here is the art beats..
เราจะเริ่มเห็นละนะคะ ว่าตั้งแต่ทางเข้าไนท์คลับ..
งานดีไซน์,แสง, วัสดุและการใช้พื้นที่ก็มาด้วยกันตามยุคที่เรากำลังจะย้อนไปด้วยกัน 💗💞✨
พอจะเริ่มเห็นเส้นคาบเกี่ยวที่ว่านี้แล้วมั้ยคะ
สำหรับมายมันไม่สามารถแยกออกจากันได้เลยนะคะ
ทางนิทรรศการบอกไว้ว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นในไนท์คลับนั้น กว่าจะหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่นี้...
นี้คือส่วนผสมที่ลงตัวและกลมกล่อมที่สุด..
Interior และ Furniture Design,
Graphic and Art,
Light and Music,
Fashion and Performance
ซึ่งทั้งหมดนี้มันคาบเกี่ยวกันจนกลายเป็นสิ่งที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาเป็นศิลปะด้วยการที่ใช้ศิลป์ทุกรูปแบบมาบรรจบกันที่เรียกว่า Gesamtkunstwerk (Total Work of Art)
ไนท์คลับในยุค 1960s นั้นสิ่งที่ต่างจากบาร์ ที่แน่ๆชัดๆคือ
มีพื้นที่ให้คนเต้น และมีดนตรีสดหรือดีเจที่จะนำเพลงมาเปิด
สำคัญสุดคือในยุคนั้น การ mix tape ของดีเจที่มาเปิดจะเป็นอะไรที่ไฮไลท์ของการมาฟังเพลงและท่องราตรีมากๆ
Interlinked 1: Interior and Furniture Design
คลับที่เก๋ จะดังได้ร้านต้องสวย
ออกแบบธรรมดาโลกไม่จำนาจา 🤣
มีเงินเท่าไหร่ ลงมันให้หมดกับการตกแต่งร้าน!!
มายเซอร์ไพรส์มากเลยค่ะกับเรื่องนี้ว่ายุค60s
การตกแต่งร้านมันเป็นเรื่องที่เบอร์ใหญ่มากกกกกกก
ล้ำมากอ่า หัวใจเต้นรัวๆๆ 🎧💞
Where my heart beats...
A colorful expose of multi level merchandising..
คือชาติที่แล้วมายอาจจะเป็นนักออกแบบพื้นที่ไนท์คลับก็ได้นะคะ 5555 คือตอนอ่านFloor plan แล้วหัวใจเต้นเร็วมาก..
ทดแทนกับชาตินี้ที่ทำงานออกแบบสายแฟแทน 🤣🤙🏼💃🏻
Interlinked 2: Graphic and Art
ไนท์คลับก็คืออีกหนึ่งธุรกิจ งานโฆษณาก็ต้องมา
ส่วนตัวงานกราฟฟิคนี้คือแบบ ถูกใจมาก
Where my heart beats.. it the arts beat
ศิลปินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพ่อ Andy Warhol
Keith Hering , Basquait สายสตรีท สายติส ไม่ว่าสายไหนศิลปินก็มามีส่วนร่วมในงานไนท์คลับ
#ตามเทศกาลงานจ้าง 🤣
แต่แน่นอน มันทำให้เราเห็นอิทธิพลของความคาบเกี่ยวของศิลปะ ศิลปินที่ต่อไนท์คลับคัลเจอร์
Interlinked 3: Light and Music
Can you feel it?
คือสังเกตมั้ยคะ งานคอนเสิร์ต งานปาร์ตี้ งานเที่ยวกลางคืน แสงช่วยทำให้เราเมาได้นะคะ 5555
แบบการจัดไฟยิ่งดี อารมณ์ความมันส์ยิ่งมา..
ยิ่งจังหวะของแสงลงตัวกับจังหวะเพลงแล้วนี้คือแบบ..
อื้อหื้อออออ เคลิ้มเฟร่อ 💞
มายกับน้องหยุดเสตชั่นนี้นานมากกกกก 5555
คือเค้าให้เราฟังเพลงฟรีอ่าาาา 🤩🎧💞💗
แล้วคนจัดต้องคิดมาดีแล้วแน่นอนว่าเพลงดี
แล้วทำไมเราจะไม่รับสิ่งที่เค้านำเสนอมา ??
และแบบแต่ละเพลงที่เปิดคือพี้ค คือดี..
มายแปะ Playlist ไว้ให้นะคะ เค้ามี4ยุค
1. Pre-Disco
2. Disco
3. House
4. Techno
ขออภัยไม่ได้ถ่ายเทคโนเพราะมายไม่ได้คิดจะฟัง
และตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะเขียนเรื่องราวนี้ด้วย
รูปที่ถ่ายมาฝากกันคือถ่ายเก็บคลังความรู้ส่วนตัว
Interlinked 4: Fashion and Performance
ไนท์คลับคือ “การเมือง”
มันเป็นอีกหนึ่งCommunityที่เกิดขึ้นมา..
และมันกลายเป็นพื้นที่ที่เอาไว้วัดสถานะทางสังคม..
การแสดงตัวตนในสายอาขีพและจุดขี้วัดความเป็นที่สนใจ (#เชคเรตติ้งหน่อยยยย)
พื้นที่สาธารณะนี้เป็นอีกหนึ่งศาลเตี้ย
โอโห้ เอาซะเครียด.. 🤣
คืออีกหนึ่งที่ที่มีการแบ่งแยก การแสดงฐานะทางชนขั้นและการเป็นที่ยอมรับในโลกสาธารณะ
หลบหน่อย นางเอกจะเดิน #เล่นใหญ่มากกก
ไนท์คลับมีความแบ่งแยก (Exclusive)
และสร้าง “สิทธิอภินิหาร” 5555
คือไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าคลับได้
การเข้าคิว การจองโต๊ะ การใช้เส้นจองโต๊ะใหญ่
อยากจองโต๊ะหน้า..อายุที่สามารถเข้าได้..อาชีพ..
รวมถึงสถานะและสภาวะเพศต่างๆ
ทุกอย่างมีบริบทแสดงสถานะทางอำนาจในสังคมที่เกิดขึ้นใน
ไนท์คลับเสื้อผ้า..การแต่งตัว..
การเที่ยวคลับบางที่มีกฎการแต่งตัวที่ชัดเจน คือ
ห้ามใส่รองเท้าแตะ ห้ามใส่ขาสั้น เสื้อยืดไม่ได้ อะไรแบบนี้
ดังนั้นการแต่งตัวก็บ่งบอกถึงสถานะ
อำนาจในการเข้าไนท์คลับไม่ได้มีแค่เงินเท่านั้น
การเชิญก็เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานว่าใครควรจะได้มางาน
บัตรเชิญ #แขกไม่รับเชิญ เห็นมั้ย555
ว่ามีสิทธิอภินิหารจริงๆ #ไม่เชิญไม่ต้องมา
คือแบ่งแยกไปอี๊กกกกก
บัตรเชิญเข้างานไนท์คลับ น่าร้ากกก
คนดังมากมายในหลายวงการก็มารวมตัวกันที่ไนท์คลับ
จะเห็นในรูปเลยนะคะว่าไนท์คลับเป็นที่ปลดปล่อยอิสระมากกก แต่งตัวธรรมดาโลกไม่จำ 5555
ทางนิทรรศการบอกว่า ไนท์คลับบางที่จะอนุญาตให้คนธรรมดา อารมณ์โนบอดี้ ได้เข้ามาในคลับบ้าง เพื่อสร้างความหลากหลายและให้คนเหล่านี้มีฝันและได้พูดคุยกับคนที่ชื่นชอบเหล่าเซเลปศิลปิน
และสุดท้ายเพื่อให้คนพวกนี้รู้สึกถึงไนท์คลับเป็นสะพาน เป็นตัวเชื่อมให้คนพวกนี้รู้สึกมีความหมาย มันก็คือcommunityไนท์คลับนี้ละคะ
จัดเต็มอ่า ชอบมากกก 🤙🏼💞
สำหรับมายการเที่ยวคลับไม่ใช่แค่ไปฟังเพลงเท่านั้น
ไม่งั้นเราก็นั่งฟังเพลงอยู่บ้านคนเดียวก็ได้มั้ง
แต่มันคือการแบ่งปันความสนุก เต้นกระจาย
ปลดปล่อยอารมณ์ ร้องเพลงกระโดดกอดคอเพื่อน..
มันคือการ Sharing และ Let things go..
“Let the beats heal you..”
แต่แน่นอนสิ่งที่มายคิด มายรู้สึก ในอีกหลายๆมุมมันไม่ได้เป็นแค่นั้น..
นิทรรศการนี้ทำให้มายถึงกับอึ้งกับคำว่า “Club Culture”
มันมีเรื่องราวที่มาที่ไปว่าทำไมวัฒนธรรมนี้
งานศิลป์และศาสตร์ของการออกแบบ
องค์ประกอบรวมของ “ความคาบเกี่ยว” ที่สามารถสร้างอารมณ์ร่วมและมิติใหม่ให้คนที่ไม่รู้จักกันมารู้จักกันผ่านเสียงศิลป์ดนตรี
ขอจบบทความด้วยเพลงนี้ มาเป็นดีเจเพียงคืนเดียว
กลัวใจจะแย่งงานจากพี่บี อิอิ 🤣
เป็นเพลงที่อาจารย์ดีเจส่งมาให้ฟังแล้วมายถึงกับกรี้ส
(ตลอดเวลา 555) ชอบมาก จังหวะขึ้นมาสามวิ คือ
ใจไปละ 555
กลอง บี้ท มา ฟิน 🎧💞🥁🎸
ที่ชอบด้วยคือเนื้อไม่เยอะ ทำนองมันบอกอารมณ์ความหมายของมันอยู่แล้ว ฟังแล้วสบายมากๆ
ขอขอบคุณพี่บีที่เป็นแรงบันดาลใจว่ามายสามารถพูดเรื่องดนตรีได้ในนี้ ไม่จำเป็นต้องเรื่องราวด้วยตัวอักษรทั้งหมด
เลยหยิบเรื่องนิทรรศการนี้มาเล่าค่ะ
ให้เพลงพาไปไปกับดีเจ SMS STATION ในค่ำคืนนี้ค่ะ อิอิ
“Where the arts beat”
Smile-SMS

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา